30 ต.ค. 2021 เวลา 05:24 • หนังสือ
📚 รีวิวหนังสือ AI 2041 ที่เขียนโดย Kai -Fu Lee ผู้เขียนหนังสือ AI Superpowers (ตอนที่ 2) 📚
📌 ว่าด้วยเรื่องของ “Computer Vision” เมื่อคอมพิวเตอร์หรือ AI มองเห็นได้เหมือนมนุษย์แล้วจะเกิดอะไรขึ้น?
“Computer Vision” 👁
นอกจาก deep learning ที่เราทำให้ AI เรียนรู้และสามารถวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้แล้ว ก็มีความท้าทายอีกสิ่งหนึ่งก็คือทำอย่างไรให้ AI มีประสาทสัมผัสได้เหมือนมนุษย์เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็นที่เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่ทำให้มนุษย์ทำอะไรได้มากมาย
1
💡 Computer Vision (CV) ก็คือการทำให้ computer นั้นมองเห็นเหมือนกับมนุษย์เรานั่นเองครับ ซึ่งเราไม่ได้ทำให้มันแค่มองเห็นเฉย ๆ แต่ต้องสามารถเข้าใจและสามารถตีความสิ่งที่มันมองเห็นได้เหมือนเราด้วยครับ
ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็คือพวกของการใช้กล้อง การใช้ sensor เพื่อตรวจจับรูปภาพและสิ่งต่าง ๆ ซึ่งการนำไปใช้ที่เราเห็นในปัจจุบันนี้คือการนำไปใช้กับการขับขี่พาหนะพวกระบบ driving assistant ต่าง ๆ ในรถยนต์ ระบบ facial recognition ที่ใช้กันตั้งแต่การปลดล็อคคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือการตรวจการเข้าออกตึก หรือการนำไปใช้ตรวจจับการหยิบสินค้าลงตะกร้าที่ร้าน Amazon Go เป็นต้น
ซึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในเรื่องของการจับภาพ การสามารถตกแต่งภาพได้อย่างละเอียดที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Deepfake” ขึ้นมาครับ 😱
💥 Deepfake ก็คือการตัดต่อภาพหรือวิดีโอที่นำไปสู่ของปลอม หรือ fake news นั่นเองครับ โดย Deepfake ที่ดังมาก ๆ คือคลิปของอดีตประธานาธิบดี Barrack Obama ที่พูดถึงอดีตประธานาธิบดีอีกท่านหนึ่งคือ Donald Trump ในปี 2018 ที่ทำขึ้นมาโดย Jordan Peele และ Buzzfeed เพื่อเตือนให้เห็นถึงความน่ากลัวของเทคโนโลยีนี้
ซึ่งตัว deepfake นี้เกิดการพัฒนาไปอย่างมากจนคนอย่างเราที่ได้ดูนั้นแทบจะแยกไม่ออกแล้วว่าอันไหนจริง อันไหนไม่จริงเนื่องจากว่า deepfake นั้นถูกสร้างขึ้นมาบนเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Generative Adversarial Network (GAN)” ที่ประกอบไปด้วย network สองอันที่สร้างมาให้เกิดการเรียนรู้กันและกัน โดย network ตัวแรกจะเป็นตัวที่ทำภาพเสมือนจริงขึ้นมา และ network ตัวที่สองจะเป็นตัวตรวจจับความสมจริงของภาพ แล้วก็จะส่ง feedback กลับไปบอกตัวแรกว่าภาพนี้เป็นของจริงหรือไม่จริง และ network ตัวแรกก็จะรับ feedback มาแก้ไขและพยายามสร้างภาพใหม่ขึ้นมาเพื่อเอาชนะการตรวจจับของ network ที่สองให้ได้ โดยตัวตรวจจับก็จะมีการเรียนรู้ด้วยตัวเองไปด้วยเหมือนกันในการจะจับผิดภาพให้ได้ ซึ่งการทำงานจะเป็นลักษณะนี้วนไปเรื่อย ๆ เป็นล้าน ๆ ครั้ง จนถึงจุดสมดุลของสอง network นั่นเอง ซึ่งจะทำให้ได้ deepfake ออกมาสมจริงจนดูไม่ออก !!
1
⚠️ จากความน่ากลัวของเทคโนโลยี deepfake นี่เองทำให้ตัว Kai-Fu Lee มองว่าในปี 2041 นั้นเราทุกคนน่าจะต้องมีตัว anti-deepfake software กันทุกคน เหมือนที่ก่อนหน้านี้เราต้องมี anti-virus software กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาครัฐ รวมถึงสำนักข่าวต่าง ๆ ที่เรื่องข่าวจริง หรือไม่จริงนี่สำคัญมาก ๆ และกระทบต่อความน่าเชื่อถือครับ
1
ถามว่าแล้วจะมีอะไรที่จะมาป้องกัน deepfake ได้ 100% รึเปล่า? 🤔
💡 ผู้เขียนบอกไว้ว่าก็พอมีทางอยู่โดยการทำให้รูปหรือวิดีโอที่ถูกถ่ายนั้นเข้ารหัสโดยใช้ blockchain เพื่อที่เวลาจะอัพโหลดรูปไปที่ไหนก็จะเห็นได้ว่ารูปนี้เป็นของจริง มีรหัสกำกับอยู่ แต่เค้าบอกว่าการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้คงยังไม่สามารถทำได้ในปี 2041 ซึ่งระหว่างนี้เราคงต้องหวังว่าเทคโนโลยีการตรวจจับ หรือ anti-deepfake จะพัฒนาไปได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
อีกทางที่ช่วยป้องกันก็คือการที่รัฐต้องมีกฎระเบียบและมีการลงโทษผู้ที่ทำ deepfake ขึ้นมา
⚠️ นอกจาก deepfake แล้วก็ยังมีภัยคุกคามอย่างอื่นจากเทคโนโลยีตัวนี้อีก เช่น การพรางข้อมูล (camouflage the input data) เช่น ในตัวอย่างของนิยายในบทนี้ได้พูดถึงตัวเอกที่ใช้หน้ากากที่สามารถหลอกตัวตรวจจับว่าเป็นคนอื่นได้ในการใช้รถไฟฟ้า
⚠️ อีกอย่างหนึ่งก็คือการ “poisoning” เหมือนการวางยา คล้าย ๆ การใส่สิ่งผิดปกติเข้าไปในตัวชุดข้อมูล ทำให้ AI ทำงานผิดพลาดหรือสูญเสียการควบคุมการทำงานไป เค้าบอกให้ลองนึกว่ากองทัพ drone ของประเทศ ๆ หนึ่งที่หากโดน poisoning โดยผู้ก่อการร้ายไปแล้วทำให้ทำงานผิดพลาดกลับมาจู่โจมกองทัพตัวเองอะไรทำนองนี้ ก็น่ากลัวทีเดียวครับ 💥
ทั้งนี้ทั้งนั้นตัว Generative Adversarial Network (GAN) ก็มีประโยชน์กับเรามากนะครับในเรื่องของการตรวจสอบระบุตัวตน โดยการใช้ “biometrics” (เป็นศาสตร์หนึ่งที่เรียนรู้บุคลิกลักษะของแต่ละคนเพื่อจะระบุตัวตน) เช่น การใช้ facial recognition , gait recognition (การจดจำท่าทางการเดิน) หรือการจดจำลายนิ้วมือ ซึ่งในอนาคตจะมีประโยชน์อย่างมากในการสืบสวนหาคนร้าย
1
……………..
👉🏻 แม้ว่าเราจะเห็นถึงภัยร้ายมากมายที่จะมากับเทคโนโลยีแต่อย่างไรก็ตามนั้นประโยชน์มันก็มีมากเช่นกัน การจัดการกับภัยร้ายนั้นก็มีแนวทางอยู่เฉกเช่นเดียวกับที่เราเคยเผชิญกับไวรัสจากคอมพิวเตอร์ช่วงแรก ๆ ซึ่ง Kai-Fu Lee เค้าเชื่อว่ามนุษย์ก็จะสามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ด้วยเทคโนโลยีเช่นเดียวกันนั่นเองครับ
📌 และสำหรับตอนต่อไปผมจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องของ VR (Virtual Reality) / AR (Augmented Reality)/ MR (Mixed Reality) ที่กำลังเป็นประเด็นที่ฮอตมาก ๆ นะครับ จากการที่ facebook นั้นเพิ่งจะประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทแม่เป็น “Meta” เพื่อสะท้อนถึงทิศทางใหม่ของบริษัทที่จะเน้นการลงทุนและพัฒนาใน “Metaverse” เป็นหลัก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ facebook นั้นจะให้ความสำคัญเพื่อเชื่อมต่อคนทุกคนจากทุกมุมโลกไว้ด้วยกันในรูปแบบของ VR/AR...
To be Continued…
#AI2041 #BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook : สิงห์นักอ่าน
โฆษณา