Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดาราศาสตร์หลังบ้าน
•
ติดตาม
31 ต.ค. 2021 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วันนี้หยุดไปอวกาศ และ กลับมาดูโลกของเรากันบ้าง
บทความในวันนี้ผมจะมาพูดถึง "แผ่นดินไหว" ภัยพิบัติทางธรรมชาติสุดอันตราย
ที่เกิดขึ้นมาทีไรจะต้องนำความสูญเสียทั้ง ชีวิต และ ทรัพย์สิน มาด้วยตลอด
เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาเข้าสู่เนื้อหากันครับ...
แผ่นดินไหว หรือ Earthquake - เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนของผิวโลก ที่เฉลี่ยเกิดขึ้น 1,000 - 4,000 ครั้ง ต่อวันแต่เป็นแรงสั่นสะเทือนที่เบามาก
ที่มีสาเหตุมาจากการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลก และ เกิดการปะทะกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น จนเกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมา
เป็น "พลังงานศักย์" ที่มาในรูปแบบ "คลื่นไหวสะเทือน" สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่รุงแรง และ ก่อความเสียหายต่ออาคารได้
ภาพที่ 2: รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส (San Andreas Fault) - รอยเลื่อนแห่งนี้เกิดจากการที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือกับแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกเคลื่อนที่สวนกัน / ที่มา: ingeoexpert.com
ลักษณะการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลกจะมีอยู่ 3 แบบ
1.แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกัน (Transform fault)
- โดยแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น มีลักษณะการเคลื่อนแบบเสียดสีกันด้านข้างมีความเร็วเพียงปีละประมาณ 3 – 6 ซม. แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดการสะสมพลังงาน และ ปลดปล่อยออกมาจนทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมาได้
* ตัวอย่างแผ่นเปลือกโลกที่มีลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้คือ รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 3 : ภาพกราฟฟิก แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกัน (Transform fault)
2.แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent boundaries)
- มีลักษณะการเคลื่อนของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น แบบเคลื่อนที่ออกจากกัน โดยแผ่นดินไหวที่เกิดจากลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้มักไม่ค่อยมีความรุนแรงมากนัก
ภาพที่ 4 : ภาพกราฟฟิก แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent boundaries) / ที่มา: www.thoughtco.com
3.แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent boundaries)
- มีลักษณะการเคลื่อนที่แบบปะทะกัน และ แผ่นหนึ่งมุดลงไปเข้าหาอีกแผ่นหนึ่งเรียกว่า “เขตมุดตัว” (Subduction zone) โดยแผ่นดินไหวที่เกิดจากลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้จะมีความรุนแรง กรณีที่เกิดใต้ทะเลจะก่อให้เกิดคลื่น "สึนามิ" (Tsunami)
ภาพที่ 5 : ภาพกราฟฟิก แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent boundaries) / ที่มา: en.wikipedia.org
ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้นทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถ วัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดยใช้การวัดแบบ "มาตราขนาดโมเมนต์" (Moment magnitude scale)
1
แบ่งเป็น 10 ระดับ ได้ดังนี้...
1.) ขนาด 1 ถึง 2
- แทบไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน
2.) ขนาด 3
- รู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน
3.) ขนาด 4 ถึง 5
- แรงสั่นสะเทือนสามารถสร้างความเสียหายแก่หน้าต่าง และ กระจกได้ เริ่มมีความเสียหายเกิดขึ้นเล็กน้อย
4.) ขนาด 6
- อาคารเริ่มเกิดความเสียหาย เกิดรอยแยกบนถนน
5.) ขนาด 7 ถึง 8
- ความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้อาคารถล่มลงมาได้ และ บางบริเวณอาจเกิดแผ่นดินทลายได้ด้วย
6.) ขนาด 9 ถึง 10
- ความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือนที่เป็นระดับสูงสุดนี้ อาจก่อความเสียหายเป็นวงกว้าง และ มีคนล้มตายเป็นจำนวนมากได้
ภาพที่ 6 : ภาพตาราง มาตราขนาดโมเมนต์ (Moment magnitude scale)
โดยแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่เคยมีการบันทึกมาคือ
- เหตุการณ์ "แผ่นดินไหวบัลดิเบียประเทศชิลี" เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1960
โดยแผ่นดินไหวในครั้งนั้นสามารถวัดค่าขนาดโมเมนต์ได้ที่ "9.5"
ภาพที่ 7 : ภาพความเสียหายบางส่วนของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนั้น / ที่มา: en.wikipedia.org
ภายหลังจากแผ่นดินไหวได้มีคลื่น "สึนามิ ความสูง 25 ม."
ปะทะเข้าฝั่งตามมา และ คลื่นยังเคลื่อนตัวข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงมลรัฐฮาวายซึ่งห่างจากจุดศูนย์กลางไกลถึง 1 หมื่น กม. โดยคลื่นยังคงมีความสูงมากถึง 10 ม. และ เคลื่อนตัวต่อไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น
ภาพที่ 8 : ภาพความเสียหายจากสึนามิพัดถล่มบริเวณ เมืองเคาะแรล (Corral) ประเทศชิลี / ที่มา: en.wikipedia.org
ภาพที่ 9 : ภาพความเสียหายจากสึนามิพัดถล่มบริเวณ เมืองคามาอิชิ จ.อิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น / ที่มา: en.wikipedia.org
ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมทำบทความใหม่ๆ ด้วยครับ
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย