Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Open education system
•
ติดตาม
1 พ.ย. 2021 เวลา 04:16 • การศึกษา
คนเราต้องมีการวางแผนในชีวิตถึงอนาคตจะสดใส
"การวางแผนชีวิต เเบบ กระบวนการ PDCA"
PDCA เป็นวงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดย Walter Shewhart ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสําหรับแวดวงอุตสาหกรรมต่อมาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อ
E.W.Deming ปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพเผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสําหรับการปรับปรุงกระบวนการทํางานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้นและช่วยค้นหาปัญหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตโดยพนักงาน
จนเป็นที่รู้จักชื่อว่า“วงจรเดมมิ่ง” ต่อมาพบว่าแนวคิดในการใช้วงจร PDCA
สามารถนํามาใช้ได้กับทุกกิจกรรม
PDCA
เป็นอักษรนําของศัพท์ภาษาอังกฤษ 4 คําคือ
P : Plan= วางแผน
D : Do= ปฏิบัติตามแผน
C : Check= ตรวจสอบ
A : Act= ดําเนินการ
หลักกานทำงาน
โดยปกติแล้วเราสามารถใช้วงจร PDCA ใน 2 ลักษณะด้วยกันคือ
1.เมื่อต้องการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทุกกิจกรรมทั้ง
การเรียนการทํางาน PDCA สามารถช่วยได้ โดยเริ่มจากการตั้งเป้าหมายด้วยการวางแผน (P) หลังจากนั้นจึงลงมือทํา ลงมือปฏิบัติ (D) ต่อ
ด้วยการตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติตามแผน (C) ว่าผลที่ได้นั้นเป็นไปตามที่คิดไว้มากน้อยแค่ไหน และท้ายที่สุด นําผลที่ได้จากการประเมินไปดําเนินการต่อตามความเหมาะสม (A) หากผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ก็ให้จัดทํามาตรฐานวิธีการดําเนินการนั้นเพื่อกิจกรรมในลักษณะเดียวกันต่อไป
2.เมื่อต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเริ่มจากการระบุปัญหาและคิดค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการกําหนดเป็นแผน (P)
และลงมือแก้ปัญหาตามแนวทางนั้นๆ (D) ซึ่งในความเป็นจริงปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆอาจจะได้รับการแก้ไขเยียวยาได้สําเร็จหรือไม่สําเร็จก็ได้ จึงจําเป็นต้องตรวจสอบผลลัพธ์และประเมินวิธีการแก้ปัญหาที่ได้เลือกไว้ (C) และท้ายที่สุดเมื่อได้ผ่านการตรวจสอบและประเมินผลแล้วหาก
วิธีการแก้ปัญหานั้นๆเป็นวิธีที่ถูกต้องให้นําวิธีนั้นใช้กับปัญหาในลักษณะเดียวกันในอนาคตต่อไป แต่หาก
วิธีการแก้ปัญหานั้นไม่สามารถบรรลุ
ผลสําเร็จได้ให้ลองหาทางคิดวิธีการใหม่หรือเริ่มต้นระบุปัญหาใหม่ (A)
จำหลักเเล้วนำไปใช้
PLAN วางแผน
การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญของวงจรเลยทีเดียว เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาเพราะจะช่วยให้ขั้นตอนต่อไปดําเนินได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากเราได้คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าเอาไว้ก่อนแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติขึ้น ก็จะสามารถรับมือได้ไม่ยาก การวางแผนเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงาน
การทํากิจกรรมต่างๆให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-สิ่งที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายแรกก็คือ“แผน” แผนที่ดีนั้นจะต้อง SMARTคือมีลักษณะต่อไปนี้
S = Specific เฉพาะเจาะจง มีความชัดเจน
M = Measurable สามารถวัดได้
A =Attainable สามารถบรรลุผลได้สําเร็จคือฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง
R = Realistic อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
T =Timely มีกรอบเวลากําหนด
DO ปฏิบัติตามแผน
ในขั้นนี้เปรียบได้กับการฝึกคัดลายมือตามเส้นประในสมัยเรียนอนุบาล นั่นคือ เราจะต้องพยายามทําตามแนวทางที่ได้คิดและวางแผนไว้ตั้งแต่ต้น และก่อนที่จะลงมือปฏิบัติตามแผนนั้น เราควรที่จะได้รับการฝึกฝนเพื่อให้มีความรู้หรือทักษะในวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อน เรียกว่าขั้นลงมือทํานี้สําคัญไม่แพ้ขั้นวางแผนเลยทีเดียว
1
ตรวจสอบก่อนที่จะทำ
CHECK ตรวจสอบ
ขั้นนี้เป็นขั้นตอนของการควบคุมวงจร สําหรับคนที่ปกติเวลาทําอะไรแล้วทําเพื่อให้เสร็จๆก็พอนั้น จะไม่สนใจที่จะตามกลับไปดูว่าผลงานที่เสร็จแล้วนั้น ดี หรือ
ไม่ดี อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงการ
ตรวจสอบ ก็คือการเทียบดูผลลัพธ์กับแผนที่ได้ปฏิบัติ หรือเป็นการประเมินทางออกของปัญหาและอุปสรรคที่
เราได้ลองหาทางแก้ไขว่า วิธีที่เลือกนั้นเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
Check sheet
Check sheet หรือใบตรวจสอบช่วยให้เราทราบความถี่ของเหตุการณ์ กิจกรรม หรือพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดีของเราเพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะทําหรือเลือกที่จะไม่ทําอะไร
Act ดําเนินการให้เหมาะสม
ภายหลังจากได้ผ่านกระบวนการตามวงจรมาทั้ง 3 ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนที่นําผลจากขั้นตรวจสอบมาดําเนินการต่อให้เหมาะสม
-กรณีผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้
ให้นําวิธีการหรือกระบวนการปฏิบัตินั้นๆ มาพยายามปรับใช้ให้กลายเป็นนิสัยหรือเป็นมาตรฐานส่วนตัวสําหรับใช้ปฏิบัติกับแผนอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น ไม่ว่าจะวางแผนสําหรับการสอบอีกกี่ครั้ง ในวิชาใดๆ
ก็ตาม เราก็สามารถทําคะแนนได้ดีทุกครั้ง เรียกได้ว่าการสอบไม่ใช่ปัญหาสําหรับชีวิตของเราอีกต่อไป เพราะเราไม่ได้ใช้แต่เพียงวิธีการหรือขั้นตอนในการเตรียมตัวเทคนิคแบบเดิมที่เคยประสบความสําเร็จมาแล้วเรายัง
คิดหาทางปรับปรุงกระบวนการ หรือวิธีการที่ทําให้บรรลุแผนนั้นๆ
ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งในคําว่าดียิ่งขึ้น อาจตีความได้ว่า สามารถบรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่เร็วกว่าเดิม
-กรณีผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นตามแผนที่วางไว้
เมื่อผลกับแผนไม่เป็นไปตามต้องการไม่ว่าจะมากหรือน้อย
ให้เอาข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์และให้พิจารณาว่าควรดําเนินการอย่างไร ต่อไปนี้
•มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้
•ใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
•ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ในกรณีที่ไม่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้จริงๆ
ควรเปลี่ยนเป้าหมายใหม่
ชีวิต
20 บันทึก
13
1
25
20
13
1
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย