Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เศรษฐศาสตร์มือใหม่
•
ติดตาม
1 พ.ย. 2021 เวลา 08:23 • สุขภาพ
มาตรการแรงงานไทย!?ในยุคโควิด
1. ปัญหาการว่างงาน ผลพวงเศรษฐกิจยุคโควิด19
นับตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัสมรณะโควิด19 ที่สร้างความเสียหายและการเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตมนุษย์มาอย่างน้อย2ปี ประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดคิดและไม่ได้เตรียมรับมือมาก่อน วิกฤตการณ์ระบาดของไวรัสร้ายแรงอย่างโควิด19หรือเชื้อไวรัสโคโรน่ารวมทั้งการวิวัฒนาการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศเป็นวงกว้าง ทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเกิดการชะงักงันของเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การผลิต รวมทั้งภาคบริการอย่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างโรงแรม ร้านอาหาร กิจการห้างร้านต่างๆได้รับผลกระทบอย่างสาหัสรวมทั้งภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ
สาเหตุมาจากผู้คนเกิดความกังวลใจและต้องการป้องกันตนเองจากโรคระบาด ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยน กิจกรรมในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป อย่างจำเป็นต้องทำงานที่บ้านหรือจำเป็นต้องมีการกักตัวเพิ่มขึ้นมา ผู้คนจับจ่ายใช้สอยน้องลงมีผลทำให้ธุรกิจจำนวนมากต้องปิดกิจการไป และหากบางกิจการที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนเกือบประคับประคองไว้ไม่ไหว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ธุรกิจของตนอยู่รอด
ซึ่งทางที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดคือการลดต้นทุนโดยอาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร หรือการโยกย้ายตำแหน่ง หรือการลดเวลาการทำงานรวมถึงการลดค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งท้ายที่สุดหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลิกจ้างแรงงานซึ่งเป็นทางสุดท้ายที่จะสามารถลดต้นทุนและยื้อเวลาในดำเนินธุรกิจต่อไปได้
เมื่อแรงงานที่เคยถูกว่าจ้างต้องกลายเป็นคนตกงาน ต้องสูญเสียรายได้ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากกับแรงงานโดยเฉพาะคนหาเช้ากินค่ำหรือแม้แต่มนุษย์เงินเดือนทั่วไปที่อาจต้องประสบกับการถูกเลิกจ้างมากขึ้น แม้ธุรกิจจะยังต้องการคนทำงานแต่ต้องยอมรับกว่าการปรับลดพนังงานก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้นปัญหาการว่างงานของแรงงานจึงเป็นปัญหาหลักที่รัฐบาลจะต้องเร่งจัดการในช่วงที่ประเทศกำลังประสบกับวิกฤตเช่นนี้ ดังนั้นการจะรับมือกับปัญหาแรงงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ นโยบายต่างๆรวมทั้งมาตรการจะเยียวยาต้องสมเหตุสมผลแต่เยียวยาได้อย่างทั่วถึง
แล้วสถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบันตอนนี้เป็นอย่างไร?
ในช่วง1-2ปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโควิด19ส่งผลกระทบต่อทุกด้านโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ นอกจากผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบแล้ว “แรงงาน” ก็ได้รับผลกระทบโดยตรง ดูจากข้อมูลสถิติปรียบเทียบการจ้างงาน ในไตรมาสที่2/2563ที่โควิด19รอบแรกระบาดอย่างหนักอัตราการจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ97.94 เมื่อเทียบกับการระบาดของรอบล่าสุดในไตรมาสที่1/2564 อัตราการจ้างงานลดลงเหลือร้อยละ96.98 และลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีอัตราการว่างงานที่ร้อยละ97.96 จะเห็นว่าการระบาดของโควิดรอบสองส่งผลให้การจ้างงานลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนๆและถือเป็นช่วงที่การจ้างงานต่ำที่สุดในช่วง1-2ปีที่ผ่านมา
ซึ่งแน่นอนว่าตรงข้ามกับการว่างงานที่มีอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดรอบแรกในไตรมาสที่1/2563ที่มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ1.95 เทียบกับการระบาดรอบล่าสุดในไตรมาสที่2/2564เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ1.96 หากดูจากสถิติดูเหมือนการระบาดรอบที่สองจะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการระบาดรอบแรก แต่หากพิจารณากับไตรมาสอื่นๆจะพบว่าการระบาดรอบล่าสุดนี้ส่งผลให้เกิดการว่างงานสูงสุด
ขณะเดียวกันตัวเลขในระบบประกันสังคมมาตรา33 ในเดือนพ.ค.2564 มีจำนวน11.07ล้านคน เทียบกับช่วงเดียวกันในปี2562ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด มีแรงงานในระบบประกันสังคมตามมาตรา33อยู่ที่11.54ล้าน สะท้อนให้เห็นว่าแรงงานในระบบลดลงตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์โควิด แรงงานต้องว่างงานและกลับสู่ภูมิลำเนามากขึ้นถือเป็นการว่างงานที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
การที่มีการจ้างงานลดลงหรือการว่างงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการฟื้นตัวของประเทศการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยตรง โดยคาดการณ์ว่าในปี2563-2565 รายได้จากการจ้างงานจะหายไปกว่า2.6ล้านล้านบาท
สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชน โดยเฉพาะในภาคบริการและผู้ประกอบการอิสระที่อาจเกิดแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่ยากจะแก้ไขได้ หากไม่ได้รับการแก้ไข ผู้ประกอบการอิสระหรือผู้ประกอบการรายใหม่อาจมีความกังวลและรับความเสี่ยงได้น้อยลง ยิ่งส่งเสริมให้ตลาดแรงงานมีแนวโน้วฟื้นตัวช้ายิ่งขึ้น
2.ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเมื่อเกิดการว่างงานจำนวนมาก
หลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 การล็อกดาวน์ส่งผลให้มีแรงงานจำนวนมากว่างงาน อัตราการว่างงานในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นทวีคูณจากร้อยละ 1 ในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2563 ขยับขึ้นมาเป็นร้อยละ 1.86 ในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2564
จากข้อมูลเบื้องต้นจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าแรงงานกลุ่มที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุด คือ กลุ่มแรงงานอายุน้อยที่มีทักษะ เนื่องจากภาคเอกชนมีการชะลอการจ้างงาน ซึ่งสำหรับแรงงานกลุ่มนี้การที่ไม่สามารถหางานทำได้ ก็จะทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาสะสมทักษะ และพลาดโอกาสที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน
ผลกระทบสำหรับคนวัยทำงานก็จะมีรายได้ที่ลดลงสวนทางกับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นกว้างยิ่งขึ้นไปอีก อีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากคือแรงงานในกลุ่มธุรกิจที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินและแรงงานในกลุ่มธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ โดยเฉพาะแรงงานสูงอายุและมีทักษะน้อย ก็อาจถูกเลิกจ้างถาวรแม้ปัญหาโควิดจะหายไปแล้วก็ตาม
3.รัฐบาลรับมือกับปัญหาแรงงานอย่างไร?
หลังจากพิษเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานจำนวนมาก ทางรัฐบาลได้เตรียมการรับมือและแก้ไขปัญหาแรงงานในช่วงโควิดไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาวเพื่อช่วยเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบ โดยมาตรการระยะสั้นในช่วงล็อคดาวน์ อย่างการเพิ่มค่าจ้างให้แรงงานตามระยะเวลาและตามจังหวัดที่กำหนด เพิ่มสิทธิ์ให้ผู้ประกันตนตามม.39 และม.40 ให้ได้รับเงินช่วยเหลือ5,000บาทต่อคน และผู้อยู่นอกม.33ให้ขึ้นทะเบียนม.40เพื่อรับเงินช่วยเหลือ รวมทั้งขยายการช่วยเหลือผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะโดยเฉพาะหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านOTOP ร้านค้าทั่วไป และขนส่งสาธารณะนอกจากมารตการเยียวยาระยะสั้นที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีมาตรการระยะยาวที่จะแก้ไขและคลี่คลายปัญหาแรงงานไทยในอนาคต
3.1 มาตรการการสร้างกลไกเอื้อให้ตลาดแรงงานมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันการณ์
สอดคล้องกับแรงงานคืนถิ่นและแรงงานที่ต้องย้ายออกจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต้องปิดตัวชั่วคราว เป็นการจับคู่งานให้กลุ่มแรงงานที่ว่างงานกว่า 7 แสนคนทั้งผู้ที่ว่างงานชั่วคราวและงานประจำจากภาครัฐและเอกชน ควบคู่ไปกับการจับคู่แรงงานให้เข้าถึงการปรับทักษะพื้นฐาน ในส่วนของการจ้างงานชั่วคราวจากภาครัฐและเอกชนสำหรับผู้ที่มีทักษะเฉพาะ เช่น นักศึกษาจบใหม่ 2.6 แสนคน เป็นกลุ่มที่มีความรู้แต่ขาดประสบการณ์ ทั้งผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. ที่มีทักษะการทำงานในภาคการผลิตและทักษะงานช่าง ซึ่งหากขาดโอกาสในการปฏิบัติงานในระยะแรกของเส้นทางอาชีพจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในระยะยาว จึงควรมีมาตรการจ้างงานชั่วคราวภาครัฐ เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานได้พัฒนาทักษะจากการร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ กลไกจับคู่แรงงานให้เข้าถึงการยกระดับหรือการปรับทักษะก็มีความสำคัญ ภาครัฐควรอุดหนุนให้แรงงานเข้าถึงช่องทางที่สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของตนเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองสำหรับการประกอบอาชีพในฝันได้
3.2 ออกแบบมาตรการช่วยเหลือให้ตรงกับความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบแต่ละกลุ่ม
ในสถานการณ์ที่ธุรกิจกลับมาเปิดบริการได้บางส่วนแต่ต้องเฝ้าระวังตามมาตรการด้านสาธารณสุข จึงควรยืดระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแรงงานและสถานประกอบการ แต่ปรับจากการช่วยเหลือแบบเยียวยาในลักษณะครอบคลุมมาเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการจ้างแรงงานใหม่ที่เดิมจำกัดเฉพาะนักศึกษาจบใหม่เป็นแรงงานทั่วไป เพื่อสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการจ้างงานเพิ่ม โดยเฉพาะในกลุ่มกิจการขนาดเล็ก ควบคู่ไปกับมาตรการรักษาการจ้างงานเพื่อให้สถานประกอบการไม่ปรับลดคนงานลง โดยการดำเนินมาตรการในลักษณะนี้เป็นการช่วยเหลือที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเป็นการให้ความช่วยเหลือแบบตรงจุดสถานประกอบการสามารถปฏิบัติตามได้
3.3 ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลขนาดใหญ่ให้เต็มที่
โดยเฉพาะในส่วนของข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินมาตรการที่ผ่านมาทั้งข้อมูลผู้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ และข้อมูลการใช้งานแอปพลิเคชันด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ซึ่งเอื้อให้ภาครัฐสามารถติดตามสถานการณ์การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที ทำให้สามารถผสานนโยบายด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ได้อย่างไร้รอยต่อ และสอดคล้องกับแนวทางที่จะดำเนินมาตรการทั้งสองระดับ คือ มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลและมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร
สถานการณ์แรงงานในปัจจุบันถือว่ายังน่าเป็นห่วงและผลกระทบจากปัญหาแรงงานจะส่งผลกระทบต่อแรงงานในอนาคต
ในตอนหน้าเราจะมาวิเคราะห์มาตรการการรับมือปัญหาแรงงานของไทย รวมทั้งการศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการโควิด19 ของประเทศเพื่อนบ้านและข้อเสนอแนะในการดำเนินมาตรการและนโยบายของรัฐบาล
อ้างอิง
กระทรวงแรงงาน. (2564). สถานการณ์ด้านแรงงาน ไตรมาส 1 ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564 จาก
https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2021/07/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA1-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-64.pdf?fbclid=IwAR2MyMYbON02WJnMHjOgerYwB9nGc3lNtx6KQSVjyAQTcceedxhfqynjFOY
กระทรวงแรงงาน. (2564). สถานการณ์ด้านแรงงาน ไตรมาส 2 ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564 จาก
https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2021/09/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA-2-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564.pdf?fbclid=IwAR25D8-mAqossJJG6rHR9sZ2VRITOuGvCkTqKuvAy4rzAQCu0NMwHK8GuWg
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เช็ค! 4 มาตรการช่วยผู้ประกอบการ ลูกจ้าง สู้โควิด-19. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564 จาก
https://www.bangkokbiznews.com/social/964703?fbclid=IwAR0jl3ntJEA_bPS_vlt6R3YU8IZvz4lYPjxow92Gb8Rrzbb2Hs4OmF9sCw8
ดร.มณฑลี กปิลกาญจน์, และพรชนก เทพขาม. (2564). มาตรการแรงงานที่เหมาะสม ยืดหยุ่น และพร้อมรับการอยู่ร่วมกับโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564 จาก
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Sep2021.aspx?fbclid=IwAR31H9x8gCt4HzxY_fHwwTp9vd6Rh5HAaEczQXNyL95MVwgSNLpm_d-51so
เศรษฐกิจ
ข่าวเศรษฐกิจ
ขาดแคลนแรงงาน
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย