1 พ.ย. 2021 เวลา 14:00 • สุขภาพ
Japanese Association for Infectious Diseases แถลงการณ์แนะนำสำหรับฤดูหนาวนี้
Japanese Association for Infectious Diseases (JAID) ออกแถลงการณ์แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับฤดูหนาวนี้ คาดว่าผู้ป่วยรายใหม่ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) หลังฤดูใบไม้ร่วงจะมีจำนวนมาก เพื่อลดภาระด้านการแพทย์ จึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
อาจเกิดการระบาดใหญ่ในปีนี้
ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว (2020) ทาง JAID ได้ประกาศคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีไข้และติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในช่วงฤดูหนาว ให้เข้ารับการทดสอบตรวจหาเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิด เนื่องจากทาง JAID กังวลว่าโรคไข้หวัดใหญ่และโรค COVID-19 อาจระบาดในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่พบการติดเชื้อทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวในเวลาเดียวกัน โดยในการทดสอบแทบไม่พบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เลย ทั้งนี้สาเหตุอาจเกิดมาจากการป้องกันการติดเชื้อที่ดำเนินเป็นมาตรการรับมือโรค COVID-19 ใช้ได้ผลในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เช่นกัน รวมถึงการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) พร้อมกันอาจทำให้เกิด viral interference ขึ้นมาได้
เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลที่ผ่านมามีน้อยมาก ในฤดูหนาวนี้ (ฤดูกาล 2021-2022) จึงถือว่ายังไม่เกิดขึ้นเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ขึ้นในประเทศ ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ หากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศผ่อนคลายลง ทางสมาคมกังวลว่าอาจเกิดการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสหลังจากนี้
|------------------------------------------|
📌เกาะติดข่าวสาร และข้อมูล เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลด! https://bit.ly/3AdzTeY 📲
The all in 1 application for Healthcare professionals.
📰 Medical News, Journals & research summary
👨🏽‍🎓 CPE/CME/CMTE/CPD
🎥 Medical Talk VDO
📲 Download for free now!
💛ทุกดาวน์โหลดคือกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณค่ะ💛
|------------------------------------------|
จากข้อมูลเหล่านี้ สมาคมให้คำแนะนำสำหรับฤดูหนาวนี้ว่า ประชาชนอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป รวมทั้งคนที่เสี่ยงจะเกิดโรคแทรกซ้อนเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลที่สัมผัสกับผู้ป่วย) ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ทางสมาคมระบุกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงดังต่อไปนี้
 
-อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 ปี
-อายุ 65 ปีขึ้นไป
-เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
-เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (ยกเว้นความดันโลหิตสูงอย่างเดียว)
-เป็นโรคไต ตับ เลือด และ metabolic disorder (เช่น โรคเบาหวาน) เรื้อรัง
-เป็น neuromuscular disease รวมถึง motor paralysis อาการชัก ภาวะกลืนลำบาก
-ภาวะ immunosuppressive state รวมถึงอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ HIV จากยา
-อยู่ในสถานพักฟื้นระยะยาว
-เป็นโรคอ้วนที่เห็นได้ชัด
-ผู้ป่วยที่ได้รับแอสไพรินระยะยาว
-ผู้ป่วยมะเร็ง
ช่วงเวลาฉีดวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ แนะนำให้ฉีดวัคซีนทันทีที่เริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้สูงอายุและผู้มีปัจจัยเสี่ยงฉีดวัคซีนนิวโมคอกคัส (pneumococcal vaccine) เพื่อป้องกัน secondary bacterial pneumonia หลังไข้หวัดใหญ่ สำหรับเด็ก แนะนำให้ฉีดวัคซีนทุกวัย ไม่ใช่แค่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (อายุ 6 เดือนขึ้นแต่ไม่เกิน 5 ปี)
ด้วยจำนวนผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่จำนวนมากที่คาดว่าจะเกิดหลังฤดูใบไม้ร่วงนี้ การป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมจำนวนผู้เข้ารับการตรวจร่างกายในสถานพยาบาล และลดภาระในสถานที่ปฏิบัติงาน
สำหรับผู้ป่วย COVID-19 หรือผู้สัมผัสใกล้ชิดแนะนำว่าให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงนี้:
-ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยที่กำลังพักฟื้นที่บ้านหรือสถานพักฟื้นที่พักชั่วคราว ให้ฉีดวัคซีนหลังสิ้นสุดระยะสังเกตการณ์
-ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ให้ฉีดวัคซีนหลังสิ้นสุดระยะสังเกตการณ์และหลังอาการดีขึ้น (ฟื้นตัวเต็มที่จากอาการเฉียบพลัน)
-ผู้สัมผัสใกล้ชิดให้ฉีดวัคซีนหลังสิ้นสุดระยะสังเกตการณ์
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >> https://bit.ly/3AdzTeY <<📲
โฆษณา