1 พ.ย. 2021 เวลา 08:42 • ข่าว
กระแส Green Bond ในอาเซียน...ตอบโจทย์การลงทุนโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“ปัญหาโลกร้อนและมลภาวะ” ทำให้เกิดการตื่นตัวถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทำให้การลงทุนและระดมทุนในโครงการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านตราสารหนี้สีเขียว หรือ green bond เติบโตขึ้นอย่างมากทั่วโลก
แล้วประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ก้าวทันกระแสการเติบโตของตลาด green bond หรือไม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการสนับสนุนอย่างไรบ้าง
เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นวัคซีนสำคัญที่เสมือนเกราะกำบังและช่วยลดทอนผลกระทบจากแรงกระแทกต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดในอนาคตได้
“ESG Bond” คือตราสารหนี้ชนิดหนึ่งที่แทบจะเหมือนกับตราสารหนี้ปกติทั่วไป แต่ต่างกันเพียงวัตถุประสงค์ของการระดมทุน ภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และการมีธรรมาภิบาลที่ดี (Environmental,
Social and Governance) ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทสำคัญ ได้แก่
1) ตราสารหนี้เพ่ือสิ่งแวดล้อม (Green bond)
2) ตราสารหนี้เพื่อสังคม (Social bond)
3) ตราสารหนี้เพ่ือความยั่งยืน (Sustainability bond)
ประโยชน์ของการลงทุนในตราสารหนี้สีเขียว
คือช่วยให้นักลงทุนมีวิธีที่จะได้รับการยกเว้นภาษี พร้อมกับความพึงพอใจส่วนตัวที่รู้ว่ารายได้จากการลงทุนของพวกเขาถูกนำไปใช้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้ออกตราสารหนี้สีเขียวยังได้รับประโยชน์ในการดึงดูดนักลงทุนกลุ่มใหม่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ลงทุนอายุน้อย และผู้ออกตราสารสามารถทำกำไรจากระยะเวลาที่ยาวนานเทียบกับฐานของนักลงทุนที่มีอายุมากกว่า
แล้วใครสามารถออกตราสารหนี้สีเขียวได้บ้าง ?
- รัฐบาล
- องค์กรธุรกิจ
- สถาบันทางการเงินหรือรัฐบาล (ใช้เป็นเครื่องมือทางการเงิน)
Green Bonds มีความแตกต่างกับตราสารหนี้ทั่วไปหรือไม่ ?
นอกจากกรีนบอนด์จะแตกต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปในแง่จุดประสงค์ของการระดมทุนที่เน้นเฉพาะโครงการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ตลาดการซื้อขายกรีนบอนด์ที่เล็กกว่าตลาดตราสารหนี้ทั่วไป และขั้นตอนการออกกรีนบอนด์ที่จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม รวมไปถึงมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ส่งผลให้กรีนบอนด์มีความแตกต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปในด้านอื่นๆ อีกด้วย ดังนี้
1)ความต้องการที่สูงเมื่อเทียบกับอุปทานในตลาดรอง
2)ต้นทุนการระดมทุนที่ต่ำกว่า
3)ค่าใช้จ่ายในการออกที่สูงขึ้น
4)มีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ออกกรีนบอนด์
- อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีมูลค่าการออก Green Bond สูงที่สุดในอาเซียน โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการนำร่องของรัฐบาลอินโดนีเซียในการออกตราสารหนี้อิสลามสีเขียว (Green Sukuk)
- ฟิลิปปินส์ ถือเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการออก green bond ภายใต้มาตรฐาน ASEAN green bond standard ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการออกจากภาคการเงิน
- สิงคโปร์ การออก green bond ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มธนาคาร เช่น ICBC, DBS, HSBC ซึ่งจะนำเงินที่ได้ไปปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจสีเขียวในรูปของ green loan
- มาเลเซีย เริ่มมีการออก Green sukuk มาตั้งแต่ปี 2017 โดยรุ่นแรกเป็นการออกเพื่อใช้ก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นก็มีการออก Green sukuk
- ประเทศไทย ก็ถือว่าไม่น้อยหน้าประเทศอื่นในอาเซียน เพราะมีการออก green bond หลายรุ่นในปี 2019 อาทิ บมจ.บีทีเอส (BTS) ออก green bond มูลค่ารวม 1.3 หมื่นล้านบาท สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้า บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ออก green bond มูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้ในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมรวมถึง บมจ.บีกริมพาวเวอร์ฯ มูลค่า3พันล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
อ้างอิง
ThaiBMA. (2017). ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond). เข้าถึงได้จาก https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/GreenBond.aspx
Curious Apple. (2019). ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bonds) คืออะไร? ต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปอย่างไร?. เข้าถึงได้จาก https://www.finnomena.com/curiousapple/green-bonds/
ThaiBMA. (2020). Green bond ในอาเซียน. เข้าถึงได้จาก https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2020/18022020.aspx
ปัณณ์ พัฒนศิริ. (2020). Green Bond การลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ. เข้าถึงได้จาก https://www.bam.co.th/article/224/
ณัฐพร ศรีทอง. (2021). ส่องทิศทาง ESG Bond: อนาคตการระดมทุนและการลงทุนที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน. เข้าถึงได้จากhttps://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_654Research_Note_10_02_64.pdf
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2021). เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ: กระแส Green Bond ในอาเซียน...ตอบโจทย์การลงทุนโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/exim/3262334
โฆษณา