Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TheWorldofGreen.Econ
•
ติดตาม
1 พ.ย. 2021 เวลา 08:52 • ข่าว
“ของมันต้องมี” ทำความเข้าใจกับภาระทางการเงินที่คน Gen Y ต้องแบกรับ
1
“คนเจนวาย หรือ Generation Y (The Millennial) หมายถึง ผู้ที่เกิดในยุคที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต นักวิชาการส่วนใหญ่ระบุว่าเกิดระหว่าง พ.ศ.2524-2543 เป็นผู้ที่ชอบเทคโนโลยี ชอบความเร็ว ไม่ชอบรอนาน ไม่ชื่นชอบความเป็นทางการ เอกลักษณ์ของคนเจนวายจึงเป็นการใช้ภาษาแบบสร้างสรรค์ ที่ทำให้เกิดภาษาปาก (Slang) มากมาย”
คนเจนวายมีสัดส่วน 28% ของประชากรทั้งประเทศไทย ใกล้เคียงกับคนเจนเอ็กซ์ (Generation X) ที่อายุมากกว่า ซึ่งมีอยู่ประมาณ 27% แต่ด้วยทัศนคติ อุปนิสัย และความฝัน ทำให้การใช้ชีวิตของคนเจนวายมีความแตกต่างจากคนเจนอื่น
• คนเจนเอ็กซ์ : สูตรสำเร็จในอาชีพการงานอาจจะเป็นงานราชการ หรือการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่
• คนเจนวาย : มี self-confident สูง แต่ก็มีความยืดหยุ่นกับบางเรื่องด้วย มีความต้องการประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นและรวดเร็ว ซึ่งการที่จะไปถึงจุดนั้นได้สิ่งที่ต้องมีตามมา คือ การยกระดับตัวเองด้วยสิ่งประกอบสร้างบนร่างกาย และทัศนคติ ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายและการออม ที่ทำให้คนเจนวายมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงในชีวิตสูงกว่าคนเจนอื่น
ความคิดที่ว่า “ของมันต้องมี” เกิดขึ้นได้อย่างไร
• ทัศนคติ : คนเจนวายส่วนใหญ่เติบโตมากับความรู้สึกว่า ไม่ใช่แค่เก่งและขยันถึงจะเติบโตในหน้าที่การงานได้ แต่ต้องอาศัยสิ่งประกอบอื่นๆที่ต้องใช้เงินจ่ายมา ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับสิ่งที่ว่า “ถ้าอยากเข้าสังคมก็ต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่อง” ฉะนั้นจึงไม่ใช่แค่สิ่งประกอบบนร่างกาย แต่รวมถึงทัศนคติด้วย เช่น ถ้าคุณไม่เคยไปเที่ยวต่างประเทศเลยจนอายุ 25 ก็จะเริ่มรู้สึกแล้วว่า ไม่มีประสบการณ์เท่ากับคนรอบข้างเรา
• เทคโนโลยี : การเปลี่ยนแปลงจากระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิทัลทำให้การใช้ชีวิตของคนเจนวายสะดวกสบาย และรวดเร็วมากขึ้น เช่น การมีระบบเรียกรถผ่านแอพพลิเคชั่น การนำทางด้วย Google Maps การใช้ mobile banking ในการฝาก-ถอน-โอน-จ่ายเงิน การซื้อของผ่านแอพพลิเคชั่น
นอกจากจะทำให้วิถีการใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ทุกคนสามารถเห็นความสำเร็จของใครต่อใครได้ง่ายขึ้นด้วย เช่น ความสำเร็จของ YouTuber ที่อายุเพียง 11-12 ปี
ก็สามารถซื้อรถซื้อบ้านด้วยเงินสดได้แล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้อิจฉา แต่จะส่งผลไปถึงเนื้อแท้ของคน ทำให้เกิดความรู้สึกต้องการเป็นเจ้าของอะไรบางอย่างเพื่อแสดงความสำเร็จของตนเอง ซึ่งบางครั้งมันก็กลายเป็นความพยายามที่เกินตัว
• ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน : นอกจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว คนเจนวายยังเติบโตและผ่านช่วงเวลาที่เป็นวิกฤตมาหลายเหตุการณ์ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 เหตุการณ์รัฐประหาร 2549 และรัฐประหาร 2557 ครอบครัวของคนเจนวายบางคนล้มละลายจากเหตุการณ์ที่ว่ามา การที่ต้องผ่านช่วงเวลาเลวร้าย และแบกรับภาระไว้มากมาย ทำให้เมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยทำงาน มีรายได้เป็นของตัวเอง จึงต้องการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปด้วย
‘ของมันต้องมี’ แบบที่หลายคนมองว่า เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น
ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนเจนวาย
• บัตรเครดิต : ฟังก์ชันที่ทำให้ไม่เห็นสภาพทางการเงินที่แท้จริง ทำให้คนเจนวายหลายคนเป็นหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ด้วยการทำงานของบัตรเครดิตในไทยที่มีฟังก์ชันไม่ดีพอเท่าต่างประเทศ เช่น
- การทำงานของบัตรเครดิตในสหรัฐฯ จะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เครดิตสกอริ่ง’ ที่ทำหน้าที่บอกขีดจำกัด/วงเงินที่เราสามารถจ่ายได้ เช่น ถ้ามีบัตรเครดิตในมือ 4 ใบ และไม่มีความสามารถชำระบัตรใบที่ 1 ได้เต็มวงเงินแต่เลือกที่จะจ่ายขั้นต่ำ สลิปจะแสดงคล้ายกับตัววัดน้ำมันโดยแบ่งเฉดสีออกเป็น 3 สี ถ้าขึ้นสีเหลือง แปลว่า ความสามารถในการ hold ค่าใช้จ่ายเราเริ่มไม่ดีแล้ว ซึ่งตรงนี้จะทำให้เราเห็นสภาพทางการเงินของตัวเองชัดเจน
- การทำงานของบัตรเครดิตในไทย แม้ว่าคุณจะจ่ายขั้นต่ำ หรือจ่ายเต็มจำนวน สลิปก็จะออกมาเป็นใบเสร็จรูปแบบเดียวกันหมด
อีกประเด็นที่สำคัญ คือ ธนาคารในไทยไม่ได้ประสานงานกัน หากเรามีบัตรเครดิตต่างธนาคารแล้วยังจ่ายขั้นต่ำของธนาคาร A เรื่อยๆ สถานะของบัตรธนาคาร B ก็ควรจะถูกลดระดับลงไปตามความสามารถในการจ่ายด้วย แต่ในไทยยังไม่มีตรงนั้น นี่จึงเป็นข้อเสียอีกอย่างที่ทำให้ตัวผู้ใช้งานไม่เห็นตัวเลข และขีดจำกัดของตัวเอง
สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ทุกครั้งที่เราสมัครบัตรใบใหม่เพิ่ม เครดิตสกอริ่งต้องลดทันที ถ้าผ่อนชำระไม่ตรงเวลา
หรือแม้แต่ผ่อนขั้นต่ำเครดิตต้องลดลงเสมอ
• ภาพลวงตาทางรายได้ (illusion of income) : เป็นผลพวงมาจากบัตรเครดิตที่ฟังก์ชั่นไม่ดีพอ
การสมัครบัตรเครดิตแต่ละครั้งกับหนึ่งธนาคาร ทางธนาคารจะให้บัตรเครดิตมาประมาณ 3-4 ใบ ซึ่ง 1 ใบจะมีวงเงินมากกว่าเงินเดือนไปแล้วสามเท่า หากนำจำนวนสามเท่านี้ไปคูณกับจำนวนบัตรเครดิตที่มากถึง 3-4 ใบ วงเงินที่มีในบัตรก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นหลายคนยังไม่ได้มีบัตรเครดิตกับธนาคารเพียงแห่งเดียว บางคนมีมากถึง 10 ใบ นำวงเงินมารวมกันแล้วอาจสูงถึงหลักแสนหลักล้านก็เป็นได้ ด้วยความที่วงเงินมากขนาดนี้
หากผู้ถือบัตรใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวังก็อาจจะทำให้เกิด ภาพลวงตาทางรายได้ นั่นคือเราคิดว่า เรามีวงเงินในบัตรเท่านี้ก็ใช้เต็มวงเงิน แต่เงินเดือนที่มีอยู่จริงๆ กลับยังไม่ถึงครึ่งของวงเงินนั้นด้วยซ้ำ แม้บางคนจะเลือกผ่อนจ่ายด้วยเงื่อนไข 0% แต่หากผ่อน 0% พร้อมกันหลายๆ ใบก็อาจจะนำไปสู่ illusion of income ได้เหมือนกัน
• ความรู้เรื่อง financial knowledge : คนเจนวายเป็นกลุ่มคนที่ well-educated และมีความรู้พื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังขาดความรู้เชิงลึกในเรื่องของ financial knowledge หรือความรู้ทางด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ทั้งความรู้ว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีอะไรบ้าง ตราสารหนี้คืออะไร ถ้าจะเริ่มลงทุนต้องเริ่มตรงไหน กลุ่มคนเจนวายมีความรู้เกี่ยวกับการเงินน้อยมาก ทั้งเรื่องการตัดสินในการลงทุน และการออม ซึ่งจริงๆแล้วคนเจนวายสามารถใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่น mobile banking ในการออมเงินได้เลย เมื่อเงินเดือนเข้า ก็ซื้อกองทุนผ่านแอพฯ ได้ง่ายมาก ใช้เวลาประมาณสองนาทีก็เสร็จแล้ว
พฤติกรรมการบริโภคของคนเจนวาย ส่งผลต่อการเงินของประเทศของประเทศในอนาคตอย่างไร
นอกจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวแล้ว การให้ความสำคัญกับการใช้จ่าย “ของมันต้องมี” มากกว่า “การออมเงิน” ของคนเจนวาย ทำให้ติดกับดักหนี้สิน และนำไปสู่ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคนที่มีหนี้สินในช่วงอายุ 24-30 ปี เป็นหนี้สินถึง 1 ใน 5 ของประเทศ ซึ่งวัยที่เป็นหนี้เสียนี้เป็นวัยที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ
เรื่องตัวเลขของระบบเศรษฐกิจ ตัวเลขการจ้างงานดีขึ้น รายได้ของประชาชนดีขึ้น แต่การจับจ่ายใช้สอยไม่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากประชาชนมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการบริโภคภาพรวมของประเทศที่ลดลง หนี้ครัวเรือนไทยในภาพรวมสูงขึ้น โดยปี 2562 มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 340,053 บาทต่อครัวเรือน เป็นอัตราที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ และเพิ่มจากปีก่อน 7.4%
แนวทางการควบคุมการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้
ด้วยสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ เพื่อความมั่นคงของชีวิตในอนาคตคนเจนวายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปตัวเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน ไม่ให้เกินตัว มีการรู้จักควบคุมการใช้จ่ายของตัวเอง (self-control) ตระหนักรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องซื้อ อะไรเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องซื้อ เริ่มศึกษาความรู้เชิงลึกในเรื่องของ financial knowledge หรือความรู้ทางด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การออมด้วยการลงทุนที่มีมากกว่าการฝากประจำกับธนาคาร เพื่อวางแผนการเงินทั้งระยะสั้น และระยะยาว
อ้างอิง
Piraporn Witoorut. (2019). ของมันต้องมีหรือของมันต้องใช้? ชวนเข้าใจภาระทางการเงินที่คน Gen Y ต้องแบกรับ. เข้าถึงได้จาก
https://thematter.co/social/gen-y-money-case/93674
workpointTODAY. (2562). “ของมันต้องมี” ทำคน GEN Y ติดกับดักหนี้พุ่ง ใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้น 112%. เข้าถึงได้จาก
https://workpointtoday.com/tmb-analytics-gen-y/
komchadluek. (2562). ส่องวิถี เจนวาย ของมันต้องมีหนี้จึงท่วม. เข้าถึงได้จาก
https://www.komchadluek.net/scoop/406318
ของมันต้องมี
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย