1 พ.ย. 2021 เวลา 18:13 • สุขภาพ
## ไม่อึ้งไม่ได้แล้ว! เมื่ออาหารที่คุณเลือก..ส่งผลกับโควิด ##
9
แม้ว่าพิษจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้เทศกาลกินเจ ซึ่งจัดเป็น #วาระแห่งชาติ ของใครหลายคน เงียบเหงาไปบ้าง แต่ก็มีผู้คนไม่น้อยเช่นกันที่ยังคง ถือศีล กินเจ กันอย่างหนาแน่น เพราะถือว่า “เทศกาลกินเจ” เป็นโอกาสอันดีงามที่จะทำให้เราได้บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญกุศล ทำใจให้สงบ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เห็นคุณค่าของการได้ช่วยชีวิต และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม
11
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 ทาง Zero COVID Thailand เคยนำเสนอเกี่ยวกับการกิน #แพล้นท์เบสด์ (Plant-based diet) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อต้านการติดเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงเชื้อไวรัสโควิดได้ด้วย ในบทความ เรื่อง งานวิจัยชี้! กินพืชเป็นหลัก ผลักโควิดออกไปได้ (สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/zerocovidthailand/posts/152520100355120)
 
วันนี้เราจะมาย้ำอีกครั้งว่าทำไมการกินเจ กินมังฯ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วย “ผลัก” โควิดออกไปให้ไกลจากคุณ เพราะบทความนี้จะช่วยต่อยอดพาคุณไปหาคำตอบที่ใช่อีกครั้ง ว่า อาหารที่เรา “เลือก” กิน จะส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างไร และการใส่ใจกับเรื่องอาหารการกินจะช่วยปกป้องคุณจากการโจมตีของโควิดได้อย่างไร
7
เราขอเริ่มด้วยการพูดถึง “โรคอ้วน และโรคเบาหวาน” ซึ่งเป็น 2 โรคสุดฮิตในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยุคใหม่ ถ้าคุณพร้อมแล้ว ไปดูกันค่ะ!!
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#ที่ปุ่มรูปมือใต้ภาพด้านขวา เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
3
📌 อ้วนผอมจอม (เบา)หวาน มหันตภัยร้ายใกล้ตัว
เรารู้กันดีว่า ‘กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง’ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะถูก “โควิดตัวร้าย” โจมตีมากที่สุดใช่ไหมคะ? วันนี้เราก็จะขอพุ่งเป้าไปที่กลุ่มเปราะบางที่ป่วยง่าย หรือมีความเสี่ยงจากการเป็นโรค NCDs เช่นกันค่ะ
3
“NCDs” ย่อมาจาก คำว่า “Non-Communicable Diseases” หมายถึง กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่ความน่ากลัวของมันอยู่ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ เพราะอะไรน่ะเหรอคะ ก็เพราะโรค หรือภาวะดังกล่าว เกิดจากพฤติกรรมการกิน การอยู่ การใช้ชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายของเรา “ไม่ปกติ” อีกต่อไป และเมื่อมี “โรค” เกิดขึ้น และเริ่ม “ดำเนินการ” แล้ว อาการ “เรื้อรัง” ของโรคก็จะตามมาในที่สุด
6
โดยโรคที่จัดว่าเป็น NCDs ได้แก่ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่างๆ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง โรคตับแข็ง และโรคสมองเสื่อม
แม้ว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีอยู่หลายโรค แต่วันนี้เราจะขอโฟกัสไปที่โรคอ้วนลงพุง และเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ตอนนี้เป็นโรคที่ฮอตฮิตสุดๆ สำหรับผู้คนยุคนี้ โดยขอเรียกด้วยชื่อสุดน่ารัก จำง่ายๆ ว่า “อ้วนผอมจอม(เบา)หวาน” ก็แล้วกันนะคะ
2
📌 จุดเริ่มต้นของ “อ้วนผอมจอม(เบา)หวาน”
“อ้วนผอมจอม(เบา)หวาน” หรือ โรคอ้วน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แม้ว่าจะเป็นโรคคนละโรคกัน แต่ทั้งสองกลับมีจุดร่วมที่เหมือนกันอย่างเหลือเชื่อ นั่นก็คือ การทำงานที่ ‘ผิดปกติ’ ของ ฮอร์โมนที่ชื่อว่า #อินซูลิน (Insulin) ค่ะ
2
โดยฮอร์โมนตัวนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างพลังงานและสร้างเซลล์ต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อมีน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งอินซูลินออกมา แล้วอินซูลินคนเก่งจะทำการเข้าจับกับน้ำตาล เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
1
แต่ในผู้ที่เป็นโรคอ้วน ร่างกายอาจเกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน” (Insulin resistance) ซึ่งเป็นสภาวะที่ร่างกาย แม้จะสามารถผลิตอินซูลินได้ในระดับที่เพียงพอ เป็นปกติ แต่เซลล์ในร่างกายกลับตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง ทำให้ตับอ่อน ซึ่งเป็นแหล่งในการผลิตอินซูลิน จะต้องยกระดับในการผลิตอินซูลินมากขึ้น อะไรที่ ‘มากเกินไป’ สักวันหนึ่งมันก็จะต้องหยุด หรือพังลงไป จนทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อีกต่อไป
3
ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ของการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ก็อาจจะเหมือนภาวะเงินเฟ้อ ลองให้อินซูลิน = ค่าของเงิน และ การตอบสนองของเซลล์ในร่างกาย = ราคาของสินค้า เราจะต้องใช้เงินมากขึ้น เพื่อซื้อสินค้าที่จำนวนเท่าเดิม นี่แหละค่ะ คือ ภาวะที่เรียกว่า “ดื้อต่ออินซูลิน” และภาวะนี้ยังส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอีกด้วย
1
“น้ำตาลในเลือดสูง” ...ใช่ค่ะ เรากำลังจะบอกคุณว่า “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน” มีความเกี่ยวข้องกับ “โรคเบาหวานชนิดที่ 2” แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จะเป็นโรคเบาหวานนะคะ เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่จะนำมาสู่โรคเบาหวานได้ เช่น ยีนที่มาจากพันธุกรรม
ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากอะไร โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเป็นโรคที่ร่างกายมี อินซูลิน “ไม่เพียงพอ” แล้วทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โรคเบาหวานนี้ ถ้าเปรียบเทียบได้ง่ายๆ โดยเปรียบร่างกายเป็นระบบปั๊มน้ำ และน้ำในระบบก็คือเลือดของเรา
2
โดยปกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปกติ แต่เมื่อมีเหตุที่ทำให้น้ำในระบบเกิดความเข้มข้นขึ้น (การเติมน้ำตาลลงไปในน้ำ) น้ำในระบบก็จะมีความหนืดขึ้น ปั๊ม (หัวใจ) ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น ท่อน้ำ (หลอดเลือด) ก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานก็จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ เพิ่มขึ้นได้ค่ะ
5
📌 “อ้วนผอมจอม (เบา)หวาน” ประตูทางลัดของโควิด
1
จากงานวิจัยเรื่อง Obesity, Diabetes and COVID-19: An Infectious Disease Spreading From the East Collides With the Consequences of an Unhealthy Western Lifestyle พบว่า “โรคอ้วน” “เบาหวานชนิดที่ 2” และ “โควิด-19” มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งส่งผลต่อระดับความรุนแรงของอาการป่วย และการเสียชีวิตได้ค่ะ
1
โดยโรคอ้วน และเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ อ้วนผอมจอม(เบา)หวานนี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเมื่อเชื้อโควิด-19 เข้ามาจะทำให้กระบวนการอักเสบในร่างกายมีความไวมากกว่าปกติ (Hyperinflammation) อีกทั้งยังทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง เป็นผลให้กระบวนการจัดการกับกระบวนการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีประสิทธิภาพด้อยกว่าที่ควรจะเป็น
2
นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว อ้วนผอมจอม(เบา)หวาน ยังทำให้เชื้อโควิด-19 สามารถจับ และเข้าสู่เซลล์เป้าหมายง่ายขึ้น เพราะที่ผิวเซลล์ปอดของผู้ป่วยจะมีการแสดงออกของเซลล์เป้าหมายที่ชื่อว่า Angiotensin converting enzyme 2 (ACE2 receptor) และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการแยก spike (S)-protein ของเชื้อโควิดออกเป็น S1 และ S2 ซึ่งจำเป็นอย่างมากในการจับกับ ACE2 receptor มากขึ้น ส่งผลทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น อีกทั้งการที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อไวรัสลดลงอีกด้วย
พูดง่ายๆ ก็คือ “อ้วนผอมจอม(เบา)หวาน” จะทำให้คุณ ‘ติดเชื้อ’ โควิด-19 ได้ง่ายขึ้น และยังทำให้กระบวนการอักเสบต่ออวัยวะต่างๆ ไวมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งสวนทางกับประสิทธิภาพในการ ‘กำจัด’ เชื้อไวรัสที่ลดลง เมื่อติดเชื้อง่ายกว่าเดิม อักเสบไวกว่าเดิม การกำจัดก็ทำได้น้อยลง การที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการที่รุนแรงมากกว่าปกติ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น ก็เป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่เป็นเหตุเป็นผลกันค่ะ
3
📌 ถึงเวลาหันมาสนใจการดูแลสุขภาพกันสักที
มาถึงตอนนี้ คุณคงรู้แล้วว่า อ้วนผอมจอม(เบา)หวาน ทำให้ร่างกาย ‘พัง’ และ ‘เสี่ยง’ ต่อ โควิด-19 มากแค่ไหน และแม้จะรอดจากโควิดได้ การเป็น ‘โรคอ้วน’ หรือ ‘เบาหวาน’ ถือเป็น ‘จุดเริ่มต้น’ ในการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป เพราะฉะนั้นถึงเวลากันแล้วรึยังคะ ที่เราต้องหยุดยั้งไม่ให้สุขภาพที่ดีของเราต้องเสียไป เพราะ “ต่อให้มีเงินมากแค่ไหน ก็หาซื้อใหม่ไม่ได้”
1
โรคอ้วนและเบาหวาน อาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกินที่มากเกินไป โดยเป็นอาหารที่เน้นความสะดวก หวาน มัน เค็ม และมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยเกินไป วันนี้เรามีทางเลือกใหม่ที่เราจะขอนำเสนอให้คุณฟัง โดยเราคิดว่า ‘ทางเลือก’ นี้ช่วยคุณให้ห่างไกลจากอ้วนผอมจอม(เบา)หวาน ได้อย่างแน่นอนค่ะ
📌 เปลี่ยนร่าง ด้วย ‘คีโต’ ‘โลว์คาร์บ’ และ ‘แพล้นท์เบสด์’
จากการทบทวนการศึกษา เรื่อง Reversing type 2 diabetes starts with ignoring the guidelines Dr. Sarah Hallberg ได้ให้ความคิดเห็นที่น่าสนใจที่ว่า คนเราไม่จำเป็นต้องกินคาร์โบไฮเดรต เพราะสิ่งที่เราต้องการจริงๆ คือ กลูโคส แตกต่างจากโปรตีนและไขมันซึ่งเราต้องกินเพราะร่างกายคนเราจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนจำเป็นจากโปรตีน และกรดไขมันจำเป็นจากไขมัน
1
นี่ไม่ได้หมายความว่า ‘ห้ามกิน’ คาร์โบไฮเดรตเป็นอันขาดนะคะ Dr.Sarah เพียงแค่บอกว่า เราไม่จำเป็นต้องได้รับคาร์โบไฮเดรตเท่านั้นเอง เพราะเมื่อใดที่ร่างกายรู้สึกว่ากำลังจะขาดแคลนกลูโคส ร่างกายเราสามารถสร้างกลูโคส เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์ขึ้นมาได้ โดยเราจะเรียกกระบวนการสร้างกลูโคสนี้ว่า “Gluconeogenesis” ค่ะ
“การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน ตามแนวเวชปฏิบัติของ The American Diabetes Association (ADA) ซึ่งมีการกำหนดให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อมื้ออยู่ที่ 40-65 กรัม หากผู้ป่วยกินอาหาร 3 มื้อ นั่นก็แปลว่า ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยกินได้ในแต่ละวัน คือ 120-195 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่มากเกินไป นั่นก็เพราะคาร์โบไฮเดรตเมื่อเข้าไปในร่างกายจะถูกย่อยเป็นกลูโคส ซึ่งก็คือ ‘น้ำตาล’ ที่อยู่ในกระแสเลือด”
“เมื่อเลือดมีน้ำตาลอยู่มาก ก็จะไปกระตุ้นฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ซึ่งเป็นไปได้ยากเหลือเกินในผู้ป่วยที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน นอกจากนั้นการกินคาร์โบไฮเดรตปริมาณมาก จะนำไปสู่วงจรการเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่จบสิ้น นั่นก็คือ กินคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดตรถูกย่อยเป็นกลูโคส น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น กินยาเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาล แล้วก็กลับมากินคาร์โบไฮเดรตต่อ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อไหร่วงจรนี้ถึงจะหยุดลง”
4
เมื่อคุณรู้อย่างนี้แล้ว การหันมารับประทานปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้น้อยที่สุด หรือที่เรียกว่า “โลว์คาร์บ” ดูน่าสนใจขึ้นมาเลยใช่ไหมคะ? เพราะนอกจากเราจะไม่ต้องเติมน้ำตาลให้ร่างกายของเราแล้ว การกินแบบโลว์คาร์บอย่างเหมาะสม ยังจะช่วยให้ร่างกายสร้างสาร ketone ประเภท Beta Hydroxyl Buterate (BHB) ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสมอง ช่วยในการขจัดไขมัน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยป้องกันความชราของหลอดเลือด และท่อน้ำเหลืองซึ่งเป็นสาเหตุหลักๆ ของความชราได้อีกด้วย
2
สุดยอดไปเลยใช่ไหมคะ
เมื่อเราสร้างวินัยในการกิน บวกกับการออกกำลังกาย หมั่นขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวตัวเองมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาแน่ๆ คือ “น้ำหนักตัวที่ลดลง” เมื่อน้ำหนักตัวลด ไขมันที่สะสมถูกนำออกมาใช้ การทำงานของร่างกายก็อาจสามารถหวนคืนกลับมาได้อีกครั้ง ยาที่ต้องเหนื่อยใจทุกครั้งที่เห็นอาจลดลงจากที่ต้องกินเป็นกำๆ ก็อาจเหลือเพียงมื้อละหนึ่งเม็ดก็เป็นได้ เมื่อวันนั้นมาถึง สุขภาพที่ดีก็ไม่ไกลเกินจะเอื้อมมือเข้าไปหาอีกต่อไปค่ะ
7
อย่างไรก็ตาม ต้องขอเตือนกันไว้ก่อนนะคะ ว่า การกินโลว์คาร์บก็มีข้อควรระวัง เพราะหากคุณกินโลว์คาร์บร่วมกับยาในกลุ่มที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน การลดอาหาร แต่ลืมลดยาไปด้วย ก็อาจทำให้คุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ด้วยเช่นกันค่ะ ดังนั้น เราขอแนะนำว่า คุณควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มการกินแบบโลว์คาร์บนะคะ
1
📌 สุขภาพดีเริ่มได้ที่ตัวเรา
1
ก่อนที่เจ้าอ้วนผอมจอม(เบา)หวาน จะมาเคาะประตู กดกริ่งเรียกหาคุณ เราสามารถล้อมรั้วป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ค่ะ ด้วยการ “เลือก” ประเภทของอาหารที่เราจะนำเข้าสู่ร่างกายค่ะ เราได้รับทราบข้อดีของอาหาร “แพล้นท์เบสด์” กันไปแล้ว ดังนั้น “อาหารเจ” ก็จัดเป็นอีกหนึ่งประเภทที่เราอยากแนะนำค่ะ
1
การที่เรากินพืชผักมากขึ้น จะช่วยปกป้องเราให้ ‘ออกห่าง’ จากโควิดมากขึ้น เพราะในพืชผักนั้น มีสารอาหารอยู่มากมาย โดยเฉพาะสารไฟโตเคมิคอล ที่เป็นสารทางชีวภาพจากพืช เช่น โพลีฟีนอล แคโรทีนอยด์ มีไฟเบอร์หรือใยอาหารสูง มีวิตามินเอ ซี และอี โฟเลต รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก โพแทสเซียม และแมกนีเซียม และยังมีวิตามินเอ ซี ดี และ อี ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ค่ะ เช่น ไข้หวัดและปอดอักเสบ
หรือถ้าหากคุณมีอาการป่วยก็จะช่วยทำให้อาการของคุณนั้นหายเร็วขึ้น สารอาหารดังกล่าวจะมีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ดี มีบทบาทสำคัญในการลดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบเป็นสาเหตุทำให้เซลล์ต่างๆ ติดเชื้อได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยในการผลิตแอนติบอดี้ การเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว และลดการเกิด Oxidative Stress ที่เป็นภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ภายในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตได้ค่ะ
1
แต่เดี๋ยวก่อน เราขอกระซิบเพิ่มอีกนิดว่า แม้จะกิน “อาหารเจ” ก็ต้องกินอย่างพอดีนะคะ เพราะในอาหารเจก็มักมีแป้งเป็นองค์ประกอบหลักอยู่เสมอ ดังนั้นหากกิน “มากเกินไป” ระวังเจ้าอ้วนผอมจอม(เบา)หวาน จะมาถามหาเอานะคะ
นอกจากการใส่ใจกับสุขภาพ ‘ภายใน’ แล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพจาก ‘ภายนอก’ กันด้วยนะคะ การปกป้องตัวเองที่ง่ายแสนง่าย และรับประกันได้ว่า คุณจะปลอดภัยจากโควิดตัวร้ายอย่างแน่นอน นั่นก็คือ การใส่หน้ากาก #N95 หรือคุณภาพดีกว่าอย่างมิดชิด หากไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหมั่นตรวจค้นหาเชื้อด้วยชุดตรวจ #ATK อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และพยายามอยู่ในสถานที่ที่มีการระบายอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงนี้ลมหนาวเริ่มพัดผ่านมาแล้ว ทุกคนอย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
1
ที่ใดมีชีวิต ที่นั่นมีความหวังเสมอ เช่นกันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน และยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด แต่เราทุกคนจะจับมือกันให้แน่น เพื่อฝ่าฟันภัยพิบัติที่เลวร้ายนี้ไปด้วยกันนะคะ
1
ติดตามเราได้ที่
อ้างอิง:
Global pandemics interconnected — obesity, impaired metabolic health and COVID-19
Collides With the Consequences of an Unhealthy Western Lifestyle
Obesity and COVID-19 in Adult Patients With Diabetes
Diabetes, obesity, and insulin resistance in COVID-19: molecular interrelationship and therapeutic implications
Out of Control
America’s losing battle against diabetes
‘Reversing type 2 diabetes starts with ignoring the guidelines’: education from Dr Sarah Hallberg’s TEDx talk
โฆษณา