2 พ.ย. 2021 เวลา 04:38 • การเมือง
ซูดานกำลังยุ่ง (1)
โดย
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
เดิมสาธารณรัฐซูดานมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ภายหลังทางตอนใต้แยกไปตั้งประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐซูดานใต้เมื่อ 9 กรกฎาคม 2554 โดนแยกพื้นที่ไป 6.4 แสนตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าไทย)
https://www.dailysabah.com/world/africa/sudan-rebel-groups-agree-on-peace-deal
คนซูดานชอบพูดถึงประชาธิปไตย พูดกันบ่อยเรื่องประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกทหารแก่งแย่งอำนาจกันมาโดยตลอด
ซูดานเคยมีปัญหาเรื่องศาสนา คนทางตอนใต้นับถือศาสนาคริสต์ตามอังกฤษ แต่ก่อนที่จะแยกประเทศ ทางตอนใต้ถูกปกครองโดยรัฐบาลกลางที่อยู่กรุงคาร์ทูม ซึ่งนักการเมืองเป็นพวกอาหรับ-แอฟริกันที่นับถือศาสนาอิสลามและนำกฎหมายอิสลามมาเป็นกฎหมายของประเทศ ก็จึงทะเลาะเบาะแว้งกันมาโดยตลอด
รัฐและเอกชนของซูดานพูดกันแต่ถึงเรื่องการอยู่ด้วยกันอย่างสันติ แต่นั่นเป็นเรื่องในตัวหนังสือกับคำพูด ความเป็นจริงแล้วสันติไม่ได้ มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา
สมัยก่อนเราจึงได้ยินแต่เรื่องความขัดแย้งของคนซูดานระหว่างส่วนกลาง (คนนับถือศาสนาอิสลาม) กับทางตอนใต้ (คนนับถือศาสนาคริสต์) มีข่าวออกมามากจนน่าเบื่อ
บางพื้นที่ของซูดาน แม้แต่คนนับถือศาสนาอิสลามด้วยกันก็ยังทะเลาะกันแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันตก
1
ผู้อ่านท่านคงจะเคยได้ยินจังหวัดดาร์ฟูร์ ตอนที่พวกอาหรับเข้ามาก็บอกว่า ถ้าคนพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาเดียวกันแล้วก็จะได้รับความเสมอภาค
แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่เสมอภาค พวกอาหรับ-แอฟริกันได้สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ที่ดิน แหล่งน้ำ และทรัพยากรต่างๆ ในภาคตะวันตกของซูดาน แต่พวกพื้นเมืองกลับโดนเอารัดเอาเปรียบ
2
ซูดานมีน้ำมันเยอะ แต่คนท้องถิ่นไม่ค่อยได้อะไรจากทรัพยากรในแผ่นดินของตนเอง จึงสร้างกลุ่มกบฏต่อต้าน พวกทหารที่อยากจะทำรัฐประหารก็จะไปคุยกับกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์
2
อย่างตอนที่นายโอมาร์ อัล-บาชีร์ จะทำรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2532 ก็ไปขอให้นายซาเด็ค อัล-มาห์ดิ ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ดาร์ฟูร์ช่วย บอกว่าถ้าทำรัฐประหารสำเร็จแล้ว ก็มาแบ่งเค้ก แบ่งกระทรวงกันปกครอง แต่สุดท้ายก็แตกกัน
1
เอาเป็นว่าแค่ภาคตะวันตกของซูดาน ดาร์ฟูร์จังหวัดเดียวมีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลถึง 13 กลุ่ม ล่อกันเละ ทั้งซัดกันเอง ซัดกับรัฐบาลกลาง พวกนี้เอาน้ำมันไปขายให้จีน แล้วก็เอาเงินมาซื้ออาวุธจีน
แม้แต่นักธุรกิจจีนที่ว่าเก่งๆ ก็แค่ค้าขายแต่ไม่ค่อยกล้าลงพื้นที่ เพราะในพื้นที่หลายแห่งมีกองกำลังติดอาวุธของพวกอาหรับ พวกนี้เก่งทั้งขี่ม้า ขี่อูฐ ปล้นสะดมภ์ไปหมด ไปถึงหมู่บ้านไหนก็ฆ่าผู้ชายทิ้ง และข่มขืนผู้หญิง
กลุ่มพวกนี้นี่ละครับ ที่รัฐบาลกลางของนายโอมาร์ อัล-บาชีร์ อดีตประธานาธิบดีไปขอความช่วยเหลือให้มาปราบกบฏ และทำให้นายโอมาร์ อัล-บาชีร์ โดนหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2552
1
ข้อ 5 ของธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลมีอำนาจดำเนินคดีจำกัดเพียงอาชญากรรมร้ายแรงที่สุด 4 ประเภท
แต่ผู้อ่านท่านเชื่อไหมครับ ประธานาธิบดีอัล-บาชีร์ โดนมากถึง 3 ข้อหา คือ Crime of Genocide (อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์) Crime against Humanity (อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ) และ War Crime (อาชญากรรมสงคราม)
ลักษณะของอาชญากรรมสงครามคือ มีการกระทำที่เป็นการละเมิดอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 โดยการฆ่าอย่างจงใจ การทรมาน การทดลองยา การจงใจทำให้เกิดทุกข์อย่างมาก การทำลาย การยึดทรัพย์สิน ซึ่งไม่มีความจำเป็นทางการทหาร การเนรเทศ ฯลฯ
สหประชาชาติประเมินว่ามีคนตายมากกว่า 3 แสนคนในสงครามดาร์ฟูร์เมื่อ พ.ศ. 2546 หลังจากนั้น สังคมซูดานแตกแยกมาตลอด พวกหนึ่งต้องการให้ส่ง อัล-บาชีร์ ไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์
ระยะหลังมีผู้นำประเทศและผู้นำกองทัพถูกส่งตัวไปบ่อย บางคนตายในระหว่างคุมขัง อย่างเช่น นายสลอบอดัน มีโลเซวิช อดีตประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งตายเมื่อ 11 มีนาคม 2549
อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการให้ส่งอัล-บาชีร์ไปศาล
ซูดานกำลังเป็นประเด็นที่กำลังสนใจกันในระดับโลก พรุ่งนี้มาว่ากันต่อครับ.
โฆษณา