2 พ.ย. 2021 เวลา 16:05 • สุขภาพ
## สิงคโปร์ยืดระยะเวลาช่วงตั้งหลัก ลดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เร่งเพิ่มเตียง ICU รองรับผู้ป่วยหนัก ท่ามกลางวิกฤติความเหนื่อยล้าของบุคลากรทางการแพทย์ ##
1
ในขณะที่รัฐบาล #สิงคโปร์ ยังยืนยันจะเดินหน้านโยบาย "อยู่กับโควิด" (Living with Covid-19) นั้นสถานการณ์การระบาดและระบบสาธารณสุขของสิงคโปร์กำลังอยู่ในสถานะน่าเป็นห่วง แม้จะมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิดถึง 84% ของประชากรแล้วก็ตาม
รัฐบาลสิงคโปร์ซึ่งประกาศมาตรการจำกัดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมาตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ได้ประกาศยืดระยะเวลา “ช่วงตั้งหลัก” (Stabilisation Phase) และใช้มาตรการดังกล่าวต่อไปอีกถึงวันที่ 21 พฤศจิกายนเป็นอย่างน้อย
ทั้งนี้ ยอดติดเชื้อใหม่ยังคงพุ่งสูงกว่า 3,000 คนต่อวันสำหรับประเทศที่มีประชากร 5.7 ล้านคน แต่สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกำลังกังวลกันเป็นพิเศษคือ ยอดผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้เปราะบาง รวมถึงผู้ที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบด้วย
2
อัตราครองเตียงใน ICU ปัจจุบันอยู่ที่ 68.3% ทางรัฐบาลสิงคโปร์กำลังเร่งเพิ่มจำนวนเตียง ICU เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องดูแลผู้ป่วยหนักอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เพียงผู้ป่วยโควิดเท่านั้น แม้ว่าสิงคโปร์จะไม่มีปัญหาในการจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ แต่จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และภาระงานของพวกเขาเหล่านั้นที่เพิ่มขึ้นจนเกินกำลังต่างหากที่เป็นปัญหามาก
1
นายจานิล ปุทธิวเชียรี (Janil Puthucheary) รัฐมนตรีอาวุโสกำกับดูแลด้านสาธารณสุขของสิงคโปร์ กล่าวต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนว่า มีการประเมินว่าสิงคโปร์อาจมียอดผู้เสียชีวิตจากโควิดถึง 2,000 คนต่อปี
1
สิ่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ขอให้ประชาชนทำในช่วงนี้คือ "ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการยึดมาตรการความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ตรวจหาเชื้อเป็นประจำและรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อรู้สึกไม่สบาย”
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#กดไลค์และติดตามเพจ เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
3
เมื่อดูจากสถิติในรอบ 28 วัน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 94,369 ราย ในจำนวนนี้ 98.7% มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ แต่ 0.8% ต้องใช้ออกซิเจน นอกจากนี้ 0.3% ของผู้ป่วยอยู่ใน ICU และ 0.2% เสียชีวิต
1
ตามข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม สิงคโปร์มียอดติดเชื้อใหม่รายวัน 3,163 ราย ซึ่งรวมถึงผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 4 ราย อัตราการติดเชื้อของประชากร เพิ่มจากสัปดาห์ก่อน 1.12%
สิงคโปร์มียอดติดเชื้อสะสมรวม 200,844 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโควิด 407 ราย อัตราครองเตียง ICU ที่เตรียมไว้รองรับผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ ปัจจุบันอยู่ที่ 60% จากจำนวน 219 เตียง ซึ่งจะต้องเร่งเพิ่มจำนวนเตียงไว้รองรับ ส่วนอัตราครองเตียงในวอร์ดทั่วไปอยู่ที่ 90% และอัตราครองเตียงสำหรับการแยกกักตัวอยู่ที่ 85%
ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม ระบุว่า 84% ของประชากรสิงคโปร์ฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้ว 85% ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม และ 15% ของประชากรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว
ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมตรี ลี เซียน ลุง ได้บอกกับประชาชนว่าจะเดินหน้านโยบายอยู่กับโควิด และประชาชนควรให้เกียรติโรคโควิด-19 แต่ไม่ต้องไปกลัว
ตามประกาศล่าสุด สิงคโปร์จำกัดจำนวนให้คนนั่งรับประทานอาหารด้วยกันได้แค่ 2 คนเท่านั้น และนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ผู้ที่จะไปทำงานที่ออฟฟิศได้จะต้องได้รับวัคซีนครบแล้ว หรือหายจากโควิดมาไม่เกิน 270 วัน นอกจากนี้ยังเพิ่มวัคซีน Sinovac ในกลุ่มวัคซีนที่จะฉีดให้ประชาชน
2
เห็นได้ชัดเจนว่า สิงคโปร์ ตั้งความหวังไว้กับวัคซีนเป็นอย่างมาก โดยย้ำกับประชาชนว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วแต่ติดโควิดจะมีอาการไม่รุนแรง
1
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีอาวุโสได้กล่าวระหว่างการแถลงต่อรัฐสภาว่า เรายังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลกระทบระยะยาวของโควิดต่อสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งการศึกษาของ NCID พบว่า 1 ใน 10 ของผู้ป่วยโควิดที่หายแล้วจะเกิดอาการอื่นๆ ตามมาภายหลัง เช่น ไอหรือหอบเหนื่อย ในช่วง 6 เดือนหลังจากหายจากโควิดในระยะเฉียบพลันแล้ว และการศึกษาในอังกฤษก็พบว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีแนวโน้มจะมีอาการประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เมื่อเทียบในระยะเวลา 1 เดือนนับจากติดเชื้อ
1
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วจำนวนหนึ่งกลับมาติดเชื้อใหม่ แต่กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน รัฐมนตรีอาวุโสของสิงคโปร์แถลงว่า การที่สิงคโปร์ยังมีอัตราผู้เสียชีวิตต่ำอยู่นั้น ในช่วงแรกเป็นเพราะความเข้มงวดของมาตรการต่างๆ การสอบสวนเส้นทางการสัมผัสผู้ติดเชื้อ และการรักษาจำนวนผู้ติดเชื้อในชุมชนให้น้อย นอกจากนี้ การที่มีอัตราผู้เสียชีวิตน้อยยังเป็นเพราะผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
3
ทั้งนี้ รัฐมนตรีอาวุโสได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการช่วยกันปกป้องผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง เพราะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิต ในขณะเดียวกันก็กล่าวถึงภาระที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องแบกรับเอาไว้
1
"มันรู้สึกเหมือนว่า จากการเริ่มต้นวิ่งในระยะ 2.4 กม.กลายเป็นการวิ่งมาราธอน แล้วในขณะที่เราใกล้จะถึงเส้นชัย เราก็ต้องวิ่งมาราธอนต่ออีกรอบ บุคลากรของเราเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ ไม่ว่าจะยอมรับออกมาหรือไม่ก็ตาม" รัฐมนตรีอาวุโส ปุทธิวเชียรี ยกตัวอย่างข้อความที่ได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์
2
ไม่เพียงเท่านั้น จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ลาออกจากงานในปีที่ผ่านมามีมากกว่าปกติถึงสองเท่า รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ต่างชาติด้วย ที่หลายคนลาออกเพราะต้องการกลับไปอยู่กับครอบครัว ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนยอมเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อที่จะมาเสริมทัพดูแลผู้ป่วยวิกฤต แม้จะเป็นคนละสาขากับที่เคยทำงานอยู่ก็ตาม
2
ในขณะที่ชาวสิงคโปร์จำนวนหนึ่งตั้งคำถามต่อการบริหารจัดการสถานการณ์โควิดของรัฐบาล รัฐบาลและคนไทยจะสามารถเรียนรู้อะไรจากสิ่งที่เพื่อนบ้านของเรากำลังเผชิญอยู่ได้บ้าง และไทยเราประเมินความพร้อมที่จะรับมือหากเกิดการแพร่ระบาดมากกว่าเดิมเอาไว้แค่ไหน
ที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการเปิดโรงเรียนและการเปิดประเทศ รัฐบาลของไทยได้เน้นย้ำถึงการเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในขณะที่ค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการอื่นๆ ลง
2
แต่เราต้องไม่ลืมว่า การฉีดวัคซีนไม่ได้รับประกันว่าจะไม่ติดโควิด และการหวังพึ่งวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง อย่างน้อย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention) ได้ออกมาบอกว่ามีการติดตามผลจากการฉีดวัคซีนในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นพิเศษ หลังจากการฉีดวัคซีน mRNA ซึ่งถือว่าเป็นวัคซีนคุณภาพดีนั้น พบผลข้างเคียงในเด็กวัยรุ่นเป็นการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3.5 เท่า
นี่ยังไม่นับว่า เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ว่าจากการฉีดวัคซีนหรือติดเชื้อโควิด ยังอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้คนอย่างไรได้อีกบ้าง
ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด และการเริ่มต้นในการปกป้องที่สำคัญที่สุด คือ #การให้ความรู้และการระลึกอยู่เสมอค่ะ ว่า ‘โควิดแพร่กระจายทางอากาศได้’
1
ในฐานะประชาชน สิ่งที่เราทำได้ และควรทำให้ดีที่สุด คือ “ปกป้องตัวเอง และคนที่รักให้พ้นจากโควิดให้ได้” ด้วยการใส่หน้ากาก ‘N95’ หรือคุณภาพดีกว่าอย่างมิดชิด หากไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหมั่นตรวจค้นหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ‘ATK’ อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และพยายามอยู่ในสถานที่ที่มี ‘การระบายอากาศ’ ที่มีประสิทธิภาพนะคะ
1
แต่เราเข้าใจค่ะ ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันเหล่านี้
1
จะดีกว่าไหม? ถ้าประเทศของเราเลือกที่จะกำจัดโควิด-19 ออกไป ไม่ให้สามารถกลับเข้ามาแพร่ระบาดได้อีก ภาครัฐมีนโยบายอย่างชัดเจนแน่วแน่ว่า จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ยอดผู้ติดเชื้อเหลือ “0” ให้เร็วที่สุด รวมถึงการแจกหน้ากากคุณภาพดีและ ATK ให้ประชาชนได้ใช้ฟรีอย่างเพียงพอ เพื่อให้ทุกคน ทุกชีวิต ปลอดภัยจากภัยคุกคามที่ชื่อว่า “โควิด-19”
ไม่ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น Zero Covid Thailand ขอร่วมเป็นกำลังใจ และแรงสนับสนุนให้ทุกคนยกการ์ดให้สูง และผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ค่ะ
1
ติดตามเราได้ที่
อ้างอิง
Updates on Singapore's COVID-19 Situation
Ministerial Statement by Dr Janil Puthucheary, Senior Minister of State, Ministry of Health, on Update on ICU and Hospital Capacity, 1 November 2021
COVID-19 Situation Report (Data Updated as of 01 Nov 2021)
Myocarditis and Pericarditis After mRNA COVID-19 Vaccination
โฆษณา