3 พ.ย. 2021 เวลา 01:08 • สิ่งแวดล้อม
ทำไม “Net Zero Emission” ถึงทำได้ยากกว่า “Carbon Neutral”
6
จากการประชุม COP26 พร้อมกับผู้นำหลายๆ ประเทศ โดยประเทศไทย ตั้งเป้าว่าจะเป็นประเทศที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในปี 2050 พร้อมกับประเทศส่วนใหญ่ และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)ได้ในปี ค.ศ. 2065
4
Bnomics จะพามาทำความรู้จักทั้งสองแนวคิดกัน แม้ว่าแนวคิดทั้งสองจะคล้ายกัน แต่มุมมองหลักก็คือ Net Zero Carbon ทำได้ยากมากกว่าการเป็น Carbon Neutral
เป้าหมายของ Net Zero Carbon คือ การกำจัดการปล่อยมลพิษหรือก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอน) ให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะใช้กลยุทธ์อื่นๆ เช่น การชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิตสำหรับบริษัท นั่นหมายถึง การลงทุนในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ไม่ปลดปล่อยคาร์บอนออกมา การซื้อไฟฟ้าทดแทน และใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นวิธีที่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริงๆ ตัวอย่างเช่น การใช้รถพลังไฮโดรเจนที่ปลดปล่อยน้ำบริสุทธิ์ออกมาแทนคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม
1
ส่วน Carbon Neutral หรือ ความเป็นกลางของคาร์บอน คือ ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศสุทธิเพิ่มขึ้นจากการดำเนินธุรกิจหรือการบริการของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถทำได้เพียงแค่ชดเชยการปล่อยมลพิษทั้งหมดด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตหรือออฟเซ็ต
เช่น ในหลายอุตสาหกรรม ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชดเชยด้วยการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในบรรยากาศด้วยปริมาณที่เท่ากันออกจากชั้นบรรยากาศอย่างถาวร เช่น การปลูกป่าอย่างยั่งยืนโดยบริษัท AstraZeneca ลงทุนโครงการปลูกป่า 50 ล้านต้น ดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศเทียบเท่ากับปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกมาจากอุตสาหกรรมของตน
7
นอกจากนี้ยังอาจรวมถึง "การดักจับและกักเก็บคาร์บอนในอากาศโดยตรง ซึ่งการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ"
1
แนวทางนี้ไม่ได้จัดการกับการปล่อยมลพิษที่แหล่งกำเนิดและอาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
1
Carbon Credit ตลาดเพื่อโลกสีเขียว
ลดโลกร้อนด้วย Net Zero Carbon
#carbon_credit #carbon_tax #Net_Carbon_Zero #carbon_market
#Bnomics #เศรษฐศาสตร์ #Economics
ผู้เขียน : ปรียา ชัชอานนท์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา