3 พ.ย. 2021 เวลา 14:20 • ศิลปะ & ออกแบบ
ห้างขายยาเบอร์ลิน
วันนี้ได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ด้วยความยังเอิญผ่าน
ที่นี่เปิดมาไม่นาน ย่างเข้าปีที่ 5 มีคาเฟ่ด้วย
ค่าเข้าชม 50 บาทต่อคน แต่คุ้มค่า มีนำชมบรรยาย
การจัดแสดงแบ่งช่วง สร้างบรรยากาศ ห้องแรก
เดิมต้นตระกูลมาจากเมืองจีน ทำค้าขายที่ปราจีนบุรี
ท่านแต่งงานกับสาวไทย มีอุปกรณ์เครื่องใช้
ที่น่าสนใจคือหมอนกระเบื้อง และอุปกรณ์สูบฝิ่น
ต่อมาส่งลูกไปเรียนเมืองจีน ช่วงจีนที่เกิดสงคราม
พบเห็นญาติเสียชีวิต และความเป็นอยู่ยากเข็ญ
ท่านเลยชีวิตอุทิศเรียนการแพทย์ เพื่อช่วยเหลือ
ด้วยความที่ทีมอ.หมอเยอรมันเข้ามาตั้งโรงเรียน
ท่านจึงได้เรียนหลักสูตรแพทย์ตะวันตกในเมืองจีน
แม้อ.หมอหรือใครชวนให้อยู่จีน แต่ท่านกลับไทย
เปิดโรงหมอรักษาคนไข้แบบตัังใจช่วยเหลือ
อาคารนี้จึงได้เริ่มตั้งแต่เช่า
รูปแบบอาคารจะสร้างปลายร.5 คอนกรีตเสริมเหล็ก มีระเบียงยื่นออกจากอาคาร ตกแต่ง ดาดฟ้าแบน
จนซื้อขาดในปลายร.7-8 เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ท่านไม่มีทายาท
ห้องสอง แสดงอุปกรณ์การรักษา ห้องแบบเดิมๆ
กลิ่นแอมโมเนียคละคลุ้ง ตู้หนังสือ โต๊ะ เตียงคนไข้
ทำให้นึกถึงคลีนิกต่างจังหวัดสมัยเด็ก หรือร้านยา
ร้านยาคุณหมอมาทำตอนหลัง เพราะหวังให้ทายาท
อาคารจึงปรับปรุงมีเครื่องจักรผลิต แม้อดีตจะทำมือ
เข็ม กระบอกฉีดยาทำจากแก้ว ต้องต้มฆ่าเชื้อใช้ซ้ำ
จนเปลี่ยนเป็นพลาสติกและใช้แล้วทิ้งยุคหลัง
ในห้องส่วนที่สาม แสดงการผลิตยาแบบเก่า
เครื่องกรองน้ำเซรามิกจากตะวันตก ขวดสีชา
ไล่ลำดับขั้นการผลิตตัวยา เม็ดและน้ำ
สุดท้ายเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรทันสมัย
และระบบโรงงานยุคปัจจุบัน
ชอบกราฟิกเด็กเป่าขลุ่ยที่เปลี่ยนไปแต่ละช่วง
แม้ว่าทุกวันนี้โรงงานผลิตยาจะอยู่เขตล่มเกล้า
แต่อาคารนี้ยังมีการใช้งานด้านบัญชีบริษัทด้านบน
ด้านล่างเป็นส่วนแสดงนิทรรศการ รวมถึงค่าเฟ่
ชอบรอยต่อข้อมูลตึกเก่า ที่นี่เล่าแบ่งช่วงรูปแบบ
จากร.4 สร้างถนนปลูกตึกรูปแบบ shop house
จนปลาย ร.5 คอนกรีตเสริมเหล็ก งานสถาปิกงดงาม
จนถึงร.7-8 เปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัยใหม่
รวมถึงการเห็นวิวัฒนาการย่านเยาวราช การอพยพ
ความเจริญจากต่างชาติทั้งจีน ตะวันตก
แม้กระทั่งการแพทย์สมัยพระนารายณ์ มิชชันนารี
หงุดชะงักสมัยพระเพทราชา จนร.3 ฟื้นมาอีกระลอก
ชาวจีนอพยพช่วงแรกพร้อมมิชชันนารี
และร.5 เป็นระลอกสุดท้ายพร้อมผังเมืองทันสมัย
เดินจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจากวัดมังกรมาไม่ไกล
ถัดไปเป็นแยก เอสเอบี ที่ตึกสวยงาม มีเรื่องเล่า
ต่อไปอีกนิดก็ ตึกคชาเบด ใกล้ย่านโก๋หลังวังบูรพา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา