4 พ.ย. 2021 เวลา 11:00 • หนังสือ
📚 รีวิวหนังสือ AI 2041 โดย Kai -Fu Lee ผู้เขียนหนังสือ AI Superpowers (ตอนที่ 3) 📚
💥 ว่าด้วยเรื่องของ “VR / AR /MR” เมื่อโลกเสมือนกับโลกแห่งความเป็นจริงผสมผสานกันอย่างไร้รอยต่อจนแยกไม่ออกจะเกิดอะไรขึ้น!?
“Virtual Reality / Augmented Reality / Mixed Reality”
เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะงงว่า VR / AR / MR มันคืออะไร และเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร? 🤔
1
จริง ๆ ถ้าให้อธิบายว่ามันคืออะไร ก็ให้เราลองนึกถึงหนังเรื่อง “Ready Player One” ครับ สำหรับคนที่เคยดูคงร้องอ๋อเป็นแน่ ใครที่ยังไม่เคยดูลองไปหาดูนะครับ จะเข้าใจเลยครับ
⏭ Virtual Reality (VR) น่าจะเป็นคำที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยที่สุดเพราะเราเคยได้ยินกันบ่อยแล้ว VR ก็คือการทำภาพเสมือนหรือโลกเสมือนทั้งหมดแล้วให้เราเข้าไปอยู่ในนั้น นึกภาพง่าย ๆ ถ้าเราเล่นเกมแล้วใส่แว่น VR เราก็จะเสมือนเข้าไปอยู่ในเกมนั้นเลย โดยเราจะโดนตัดขาดจากโลกภายนอกไปเลยครับ สิ่งที่เราเห็นก็จะมีแค่ฉากในเกมหรือใน VR เท่านั้นครับ
3
⏭ สำหรับ Augmented Reality (AR) จะต่างกัน คือ เรายังมองเห็นโลกของจริง สภาพแวดล้อมของจริงที่เราใช้ชีวิตอยู่ แต่ AR คือการมีอีก layer หนึ่งมาซ้อนกับสิ่งที่เราเห็นจริง ๆ ไว้ครับ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราใช้กันบ่อย ๆ เลยเวลาถ่ายรูปกับถ่ายวิดีโอแล้วเราใช้พวก filter ต่าง ๆ ที่เดี๋ยวนี้สามารถขยับได้ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของ AR
อีกตัวอย่างที่ใครหลายคนอาจจะรู้จักดีเลยก็คือ เกม Pokemon Go ที่ดังมาก ๆ อยู่ช่วงหนึ่งครับ ที่มีการนำ layer ของตัวสัตว์ที่เราต้องไล่จับมาซ้อนไว้กับสถานที่จริงที่กล้องมือถือเราเห็น หรือถ้าให้ยกอีกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ลองนึกภาพเวลาเราขับรถแล้วเราใส่อุปกรณ์ที่เป็น AR (อาจจะเป็นแว่น) เราอาจจะเห็นความเร็วของรถคันหน้าขึ้นบนหน้าจอของอุปกรณ์ที่เราใส่ได้ หรือ ถ้าเรามองไปที่คนที่เราเจอแล้วข้อมูลต่าง ๆ ของคน ๆ นั้นโชว์ขึ้นมาในหน้าจอที่เราเห็นอะไรทำนองนี้ครับ (เป็นไงครับ แค่ฟังก็ล้ำมาก ๆ แล้ว !!)
⏭ Mixed Reality (MR) สำหรับ MR เหมือนการผสมผสานกันระหว่าง VR กับ AR ก็คือมีการใช้สภาพแวดล้อมจริง คือเรายังเห็นสิ่งที่เราเห็น แต่มีการเพิ่ม virtual objects หรือวัตถุเสมือนเข้ามาให้เราเห็นด้วย เช่น อาจจะเป็นสัตว์แบบ virtual ที่เราเห็นอยู่ในบ้านของเรา และสามารถมี interact กับเราได้ด้วย สิ่งที่เราเห็นได้อีกอย่างอาจจะเป็น hologram ของคนที่เราเคยเห็นในหนังหลาย ๆ เรื่อง ที่เอามาใช้ในฉากเวลามีการติดต่อกับใคร ก็จะเห็นภาพฉาย hologram ของคน ๆ นั้นก็จะปรากฏขึ้นมาให้เราเห็นด้วยครับ
💡 ซึ่งทั้ง VR / AR / MR นี้เราเรียกรวม ๆ กันว่าคือ XR นั่นเองครับ
VR
AR
……………..
ซึ่งถ้าจะถามว่าในปัจจุบันการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ไปถึงไหนแล้ว? ถ้าใครติดตามเรื่องของเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิดก็จะพอทราบว่ามีหลาย ๆ บริษัทครับที่พัฒนาสิ่งของที่เอาไว้ใช้สำหรับเทคโนโลยีพวก “XR glass” พวกนี้ออกมาขายแล้วนะครับ
👉🏻 สำหรับ VR ยกตัวอย่างก็คือ แว่น Oculus ที่ facebook นั้นซื้อเข้ามาด้วยราคา 2 พันล้านเหรียญเมื่อปี 2014 (และแว่น Oculus ตัวนี้แหละครับจะเป็นตัวพัฒนาไปสู่ Metaverse !)
👉🏻 ส่วน AR ก็มี Google glass ที่ทาง Google นั้นพัฒนาขึ้นมา และ Snapchat Spectacles เช่นเดียวกับ MR ที่มีตัวของ Microsoft HoloLens รวมทั้งมีข่าวลือมาว่าทาง Apple เองก็กำลังซุ่มพัฒนาสินค้าในหมวดหมู่นี้อยู่เช่นกัน (ถ้า Apple ทำออกมาจริงนี่จะน่าสนใจมาก ๆ เลยครับว่าเค้าจะเขย่าวงการนี้ได้มั้ย เหมือนอย่างกับทตอนที่ออก iPhone)
ในปัจจุบันนั้นอุปกรณ์เหล่านี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงมากทีเดียว อีกทั้งยังมีข้อจำกัดอีกหลาย ๆ เรื่องในทางเทคนิคที่ยังต้องการการพัฒนาต่อไปอีกมากครับ ซึ่งการใช้งานในปัจจุบันจึงยังมีแค่การนำเอามาใช้เฉพาะทางเท่านั้นหรือใช้ในเชิงธุรกิจ คนทั่วไปยังไม่สามารถซื้อมาใช้ได้อย่างง่ายๆแบบโทรศัพท์มือถือ
แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วงหลังที่เทคโนโลยีของ wifi หรือ 5G ที่เข้ามาทำให้การส่งถ่ายข้อมูลเร็วขึ้นมาก ๆ รวมถึงการมีอุปกรณ์ wireless ต่าง ๆ มากขึ้น สิ่งเหล่านี้เอื้อให้การพัฒนา VR / AR / MR เติบโตอย่างก้าวกระโดด
👊🏻 โดยในอนาคต Kai-Fu Lee เองเค้ามองว่าต้นทุนที่น่าจะถูกลง และตัวอุปกรณ์ที่เบาลง เล็กลงจะสามารถทำให้นำมาขายใช้งานกันได้จริง ๆ ในคนจำนวนมาก หรือ “commercialize” ได้นั่นเอง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้เราเองก็เพิ่งเห็น “Rayban Stories” ที่ทาง facebook นั้นทำร่วมกับแบรนด์แว่นตาอย่าง Rayban ออกมา น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นอีกจุดหนึ่งที่สำคัญเลยครับ 🕶
การพัฒนาอุปกรณ์พวก XR Glass พวกนี้นั้น Kai-Fu Lee มองว่ามันจะพัฒนาไปจนเป็น XR contact lens ที่ผู้ใช้จะสามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้นและน่าจะแพร่หลายในระดับ mass ได้ไม่ยาก ซึ่ง ณ ปัจจุบันก็มีบริษัท start-up ที่เริ่มทำสินค้าพวกนี้แล้วนะครับ
……………..
ความท้าทายถัดไปก็คือเมื่อเรามีอุปกรณ์แล้วเราจะควบคุมมันหรือใส่ข้อมูล (input) ให้มันอย่างไร? 🧐
ปัจจุบันนี้เราใช้อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยมือ หรือ handheld controller (ให้นึกถึงอุปกรณ์ของเครื่องเกม Xbox) หรือดีที่สุดที่มีก็คืออุปกรณ์ที่เราเรียกว่า “Omni Directional Treadmill” หรือ “ODT” อย่างในหนังเรื่อง Ready Player One (คล้าย ๆ ชุดที่เราใส่และยึดตัวเราไว้ แล้วก็มี sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหว การออกแรงของเรา ไว้สำหรับเล่นเกม)
🔵 ซึ่งการนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ก็น่าจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมพวกเกมหรือที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงก่อนครับ เราน่าจะได้เห็นเกมที่สมจริงมากขึ้นเหมือนเราเข้าไปอยู่ในโลกนั้นจริง ๆ เลย หรือเราอาจจะเข้าไปดู virtual concert กับเพื่อน ๆ เราได้โดยตัวเราจริง ๆ นั้นอยู่ที่บ้านครับ
1
🟢 ส่วนในเรื่องของการนำไปใช้ในด้านการศึกษา การฝึกฝนและพัฒนาก็น่าจะตามมา โดยอุปกรณ์ XR พวกนี้จะช่วยได้เยอะในการจำลองสถานที่หรือสถานการณ์การฝึกฝน อย่างเช่น การฝึกด้านการทหาร โดยที่ไม่ต้องไปสถานที่จริง ๆ
🟡 ในด้านการศึกษา XR น่าจะเข้ามามีบทบาทเยอะมาก ๆ เช่น ครูสามารถพาเราย้อนกลับไปดูโลกของเราในสมัยโบราณได้เหมือนเราไปย้อนเวลากลับไปอยู่ที่นั่นจริง ๆ หรือจะเป็นการมาทำงานร่วมกันระหว่างครูจริง ๆ กับครูที่เป็น virtual ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากครู virtual นั้นจะมีฐานข้อมูลด้านความรู้ใหญ่มาก ๆ กว่าสมองมนุษย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันหรือต่อยอดการเรียนรู้ของมนุษย์เราได้มากเลยทีเดียวครับ
🟠 ในด้านของการแพทย์นั้น XR สามารถนำมาใช้ในการจำลองการผ่าตัดหรือช่วยสอนนักศึกษาแพทย์แบบ virtual ได้
🟣 ในส่วนของธุรกิจค้าขายต่าง ๆ XR ก็สามารถนำมาใช้จำลองในการลองสวมใส่เสื้อผ้า หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องไปที่ร้านจริง ๆ หรือแม้กระทั่งธุรกิจของตกแต่งบ้านที่เราสามารถเลือกจำลองดูสิ่งของที่เราสนใจให้มาวางอยู่ในบ้านเราก่อนได้เพื่อดูว่าเราชอบมั้ย
❗️แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาใหญ่ ๆ ของเทคโนโลยี XR ก็คือการมีอยู่อย่างจำกัดของ content นั้นเอง เนื่องจาก content creator ที่ต้องผลิต content ให้เข้ากับเทคโนโลยีนี้นั้นต้องสามารถทำภาพที่เป็นสามมิติได้ และมีความซับซ้อนมากทีเดียว
👉🏻 การที่จะให้คนเข้ามาใช้อุปกรณ์พวก XR เยอะ ๆ นั้นจำเป็นต้องมี content ที่ดี ๆ ก่อน แต่ทว่าหากอุปกรณ์นั้นคนใช้น้อย ไม่ดี คนที่จะเข้ามาสร้าง content หรือพวก app ต่าง ๆ ก็จะน้อยเช่นกัน ดังนั้นปัญหานี้ก็เหมือนปัญหาไก่กะไข่ว่าอะไรต้องเกิดก่อนกัน ซึ่งจริง ๆ ก็คล้ายกับในธุรกิจเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ เช่นกัน
……………..
XR Grand Challenge : Naked Eyes and Brain-Computer Interface 🧠
นอกจากนี้ Kai-Fu Lee ยังมองการพัฒนาต่อไปของ XR ที่จะทำให้คนใช้ง่ายที่สุดและเป็นธรรมชาติที่สุด ก็คือ เราสามารถดูด้วยตาเปล่าได้เลยโดยไม่ต้องใส่แว่นหรืออุปกรณ์ใด ๆ (Naked eyes) แล้วเราสามารถมองเห็นในลักษณะภาพ hologram ได้เลยครับ
แต่ทว่าถ้าจะทำแบบนี้ได้นั้นจะต้องมีการใส่ข้อมูลแบบ Brain-Computer Interface (BCI) ซึ่งเป็นลักษณะการฝังอุปกรณ์บางอย่างให้สามารถเชื่อมต่อกับสมองของคนเราโดยตรง 🧠
หากใครได้ตามข่าวก็จะทราบว่าทาง Elon Musk นั้นเริ่มที่จะเข้ามาลงทุนแล้ว โดยเมื่อปี 2020 เค้าได้เปิดตัว project ใหม่ที่ชื่อว่า “Neuralink” ที่เป็นการเชื่อมสมองของคนเข้ากับคอมพิวเตอร์และ AI โดยมีเป้าหมายหลักในการช่วยรักษาผู้ป่วยด้านสมอง อย่างอัลไซเมอร์และโรคอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมายเลยครับ 🤩
1
……………..
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่เราเห็นในภาพยนตร์นั้นกำลังจะเป็นจริงในอีกไม่นาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเทคโนโลยีจำพวกนี้ก็ยังมีข้อสงสัยทางด้านศีลธรรมและจรรยาบรรณที่ยังต้องมีการพูดคุยและควบคุมครับ
⚠️ ยกตัวอย่างเช่น การที่เราจะใช้ XR แบบ hologram ของเราไปปรากฏตัวที่ไหน มันก็จะเป็นต้องเป็นเวลากับสถานที่ที่เหมาะสมถูกมั้ยครับ หากเราไปปรากฏตัวในที่ที่ไม่เหมาะสมก็จะมีปัญหาได้ ซึ่งถ้าจะให้ AI รู้เราก็ต้องยอมให้ AI นั้น monitor หรือเก็บข้อมูลเราทุกคนตลอดเวลาว่าทำอะไรอยู่ อยู่ที่ไหน ซึ่งมีคำถามว่าถ้าเป็นแบบนี้เราจะรับได้มั้ย? ความเป็นส่วนตัวของเราจะหายไปมั้ย?
⚠️ นอกจากนี้การที่เราใส่อุปกรณ์ XR เหล่านี้ไว้ตลอดเวลา จะทำให้เราถูกบันทึกทุกอย่างที่เรากระทำไว้ รวมถึงคำพูดด้วย หากข้อมูลที่มีความ sensitive นั้นโดนบันทึกไว้แล้วมีคน hack เข้ามาได้หรือหลุดออกไปหาผู้ที่คิดไม่ดี ก็จะเอาข้อมูลนั้น ๆ ไปทำสิ่งที่ไม่ดีได้ อันตรายมาก ๆ ครับ
แน่นอนครับว่าหากเราไปถึงจุด ๆ นั้นและเราจำเป็นต้องมีกฎระเบียบเพื่อควบคุมเรื่องของข้อมูลความเป็นส่วนตัวเอาไว้ด้วย ขนาดแค่ในปัจจุบันนี้เรายังได้ยินประเด็นของข้อมูลความเป็นส่วนตัวที่บริษัท Internet company ต่าง ๆ มีประเด็นอยู่เลยครับ แต่การมาของ XR จะทำให้ปัญหาเรื่องนี้ยกระดับขึ้นไปอีกขั้นเลยครับ
1
นอกจากการควบคุมแล้ว Kai-Fu Lee ก็ยังได้แนะนำว่าในระยะยาวเราจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบและป้องกันประเด็นเหล่านี้ควบคู่ไปด้วยกันครับ เพราะเค้ามองว่าในปี 2041 เทคโนโลยีตัวนี้จะเป็นที่แพร่หลายอย่างแน่นอน เราจึงต้องเตรียมพร้อมและเตรียมตัวให้ดี
📌 ซึ่งจากข่าวล่าสุดที่เราเพิ่งเห็นกันเป็นประเด็นใหญ่ทั่วโลกก็คือการที่ facebook นั้นขยับตัวก่อนใครเลยทีเดียวโดยการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Meta” เพื่อที่จะสะท้อนถึงทิศทางใหม่ของบริษัทที่จะเน้นการพัฒนาใน “Metaverse” ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ facebook นั้นจะให้ความสำคัญเพื่อเชื่อมต่อทุกคนจากทุกมุมโลกไว้ด้วยกันในรูปแบบของ VR/AR ที่ในอนาคตเราน่าจะได้เห็นภาพอย่างที่เราเห็นกันในภาพยนตร์ Ready Player One กันในอีกไม่ช้าครับ...
……………..
และสำหรับตอนต่อไปผมจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องของ Natural Language Processing (NLP) ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากพร้อมทั้งพลิกโฉมและยกระดับระบบการศึกษาในโลกอนาคตของเราครับ...⏩
1
To be Continued…
#AI2041 #BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook : สิงห์นักอ่าน
โฆษณา