4 พ.ย. 2021 เวลา 09:49 • ข่าว
ข่าวดีมาก !! ครม.อนุมัติงบประมาณ 3625 ล้านบาท ผลักดันเต็มที่ให้วัคซีนของจุฬาฯสองชนิด สามารถผลิตออกมาใช้ได้จริงโดยเร็ว
4
จากสถานการณ์โควิดระบาดทั่วโลก และวัคซีนเป็นคำตอบสำคัญ ที่จะช่วยควบคุมการระบาด และลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดลงได้
1
ในช่วงที่ผ่านมา วัคซีนชั้นนำที่ใช้ในประเทศไทย ล้วนแต่เป็นการนำเข้าทั้งสิ้น
แต่คู่ขนานไปในเวลาเดียวกัน เราก็จะทราบว่า มีโครงการวิจัยวัคซีนของเราอยู่อย่างน้อย 4 ชนิด ที่มีความหวัง เริ่มทดลองในมนุษย์แล้ว ได้แก่
1
1) วัคซีนของคณะแพทยศาสตร์จุฬา ChulaCov-19 ใช้เทคโนโลยี mRNA เหมือนวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
2
2) วัคซีนของบริษัทใบยาไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เทคโนโลยีโปรตีนเป็นฐาน แบบเดียวกับ Novavax
3
3) วัคซีนขององค์การเภสัชกรรมร่วมกับสถาบันวัคซีน เป็นเทคโนโลยีเชื้อตาย แบบเดียวกับ Sinovac และ Sinopharm
1
4) วัคซีนของบริษัทไบโอเนทเอเชีย เป็นเทคโนโลยี DNA
1
โดยวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในครั้งนี้ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติในสองกรณี ได้แก่
1) อนุมัติงบประมาณ 2316 ล้านบาทในโครงการวิจัยพัฒนา ChulaCov-19 mRNA ของคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ เพื่อที่จะเร่งทำการทดลองในมนุษย์เฟสสาม ซึ่งเป็นเฟสสุดท้าย ให้สามารถขึ้นทะเบียนอย.ได้ และเตรียมการผลิตให้เรียบร้อย
4
จะมีประโยชน์อย่างมาก โดยจะเป็นฐานในการที่จะผลิตวัคซีนโควิดรุ่นที่สองได้ ซึ่งจะรองรับไวรัสกลายพันธุ์ และยังเป็นฐานการผลิตสำหรับสำหรับไวรัสอื่นต่อไปด้วย
1
ทั้งนี้มอบให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้กำกับ ติดตามและประเมินผล
1
2) เห็นชอบในหลักการ สำหรับวงเงิน 1309 ล้านบาท ที่จะให้บริษัทใบยาไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพของคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1
ได้เร่งรายงานผลทดลองเฟสสองเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1
โดยมีเป้าหมาย จะให้ทำการทดลองเฟสสาม จำนวนอาสาสมัคร 10,000 คน และมีเป้าหมายผลิตให้ได้ 60,000,000 โดสต่อปี
2
ทั้งนี้วัคซีน mRNA ของคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯได้รับการอนุมัติวงเงินแล้ว พร้อมดำเนินการได้ทันที
3
ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNA แบบเดียวกับ Pfizer และ Moderna ซึ่งจากรายงานการทดลองเฟสสามของทั้งสองบริษัทดังกล่าว ต้องใช้อาสาสมัครจำนวน 3-40,000 คน
1
โดยที่จะต้องทำการตรวจทุกอย่างในอาสาสมัคร ทั้งในเรื่องประสิทธิผลคือ ภูมิคุ้มกันประเภทต่างๆ รวมทั้งการทำงานของเซลล์ชนิดต่างๆในระบบภูมิคุ้มกันที่มีความสลับซับซ้อน
และยังต้องตรวจอาสาสมัครทุกคน เป็นระยะ ในเรื่องผลข้างเคียงต่ออวัยวะทุกอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ ตลอดจนต้องทำการเอ็กซเรย์ และตรวจเซลล์พิเศษต่างๆซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
1
โดยที่ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะอยู่ประมาณคนละ 80,000 ถึง 200,000 บาท
1
และขั้นต่ำที่จะประหยัดที่สุด เท่าที่จะได้รับรองมาตรฐานสากล คือ ต้องทดลองในอาสาสมัครอย่างน้อย 20,000 คน
1
ดังนั้นวงเงินที่อนุมัติมาให้ 2316 ล้านบาท จึงมีความเหมาะสมที่จะได้มาตรฐานที่สากลจะยอมรับ
2
โดยถือว่าเป็นการใช้งบประมาณประหยัดที่สุด เท่าที่จำเป็น
3
นับเป็นข่าวดีมาก ที่คนไทยจะได้มีความหวังของการที่จะมีวัคซีนอย่างน้อยสองชนิด ที่จะผ่านการทดลองเฟสสาม และสามารถขึ้นทะเบียนอย.เพื่อใช้กับคนไทยได้ในระยะเวลาอันใกล้
และยังเป็นการสร้างความแข็งแรงและความพร้อมของระบบวัคซีนของไทย ที่อาจจะมีไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดอื่นเกิดขึ้นในอนาคต
เราจะสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตวัคซีน โดยใช้เวลาอันสั้น เพื่อรองรับการระบาดที่ไม่มีใครคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นอย่างไร และเมื่อไหร่ในอนาคต
ขอแสดงความชื่นชม ให้กำลังใจ และขอบคุณกับทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้มีการอนุมัติงบประมาณในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอให้กำลังใจกับทีมวิจัยทุกทีมทุกคนครับ
2
Reference
มติคณะรัฐมนตรี 4 พฤศจิกายน 2564
โฆษณา