4 พ.ย. 2021 เวลา 13:32 • ธุรกิจ
CEO สายเรือ Maersk ประเมิน ความต้องการขนส่งยังสูงต่อเนื่องถึง ไตรมาส 1 ปีหน้า
ผู้นำเข้าส่งออกของไทยช่วงนี้ กำลังประสบกับปัญหา “ตู้ช๊อต” หรือ “ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน” กันอีกรอบ โดยเฉพาะคนที่ใช้ตู้สั้น (20 ฟุต) หายากมากๆ
ซึ่งแน่นอนว่าปัญหานี้ไม่ใช่เป็นแค่บ้านเรา แต่เป็นปัญหาระดับโลก ผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว และยาวมากว่า 2 ปีแล้ว ก็แก้กันไม่จบสักที
ล่าสุด CEO ของสายเรือเบอร์หนึ่งของโลกอย่าง Maersk ก็ได้ให้ความเห็น ในงานแถลงผลประกอบการณ์ไตรมาส 3 ของบริษัท เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า สถานการณ์ที่ผิดปกติแบบนี้ น่าจะยังดำเนินต่อไปถึงไตรมาส 1 ปีหน้า
ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศเป็นอย่างไร และมองไปข้างหน้าผู้นำเข้าส่งออก ควรปรับตัวอย่างไร
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
=========================
ZUPPORTS ช่วยให้การนำเข้าส่งออกเป็นเรื่องง่าย
สนใจลงทะเบียน ที่ www.zupports.co/register
=========================
1) อย่างที่เราทราบว่า จากการที่ความต้องการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ สูงขึ้นผิดปกติตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว และยังมีการระบาดของโควิด-19 ในหลายๆ ประเทศทำให้เกิด “คอขวด” หรือ Bottlenecks ในหลายๆ จุดของห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็น ตู้ซ๊อต, ความแออัดที่ท่าหรือ, เรือต้องเสียเวลาไปจอรอที่ท่าเรือ, รถหัวลากก็ขาดแคลน (แถมมีประท้วงราคาน้ำมันในไทยด้วย)
1
2) ทางด้านคุณ Soren Skou CEO ของ Maersk ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทาง BBC ว่า ทาง Maersk เองก็ทำทุกวิถีทาง ที่จะช่วยทำให้สถานการณ์คลี่คลายขึ้น โดยมีการเช่าเรือมาให้บริการเพิ่มขึ้น และการหาคลังสินค้ามารองรับให้มากขึ้น แต่ก็มีเรื่องการขาดแคลนแรงงานที่ท่าเรือ และรถหัวลาก ที่เป็นอุปสรรคสำคัญ
3) หากมองที่ไป ดัชนี Purchasing Manager’s Index (PMI) ของโลกได้แตะตัวเลขสูงสุดที่เลข 53 ในเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา เป็นการเติบโตต่อเนื่อง 15 เดือนติดต่อกัน แสดงถึงความต้องการสั่งซื้อสินค้าในระดับที่สูงอยู่ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ดัชนี PMI ของโลกจะปรับตัวขึ้น แต่พบว่าประเทศใหญ่อันดับ 2 ของโลกอย่างจีนเอง กลับมา PMI ที่ลดลง
4) และหากมองไปที่อัตรการเติบโตของการขนส่งทางตู้คอนเทนเนอร์ก็พบว่า ไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเติบโตเพียง 2.5% เท่านั้น เป็นการเติบโตที่ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก ที่โตด้วยตัวเลข 2 หลัก
5) ความแออัดที่ท่าเรือ ก็ทำให้เรือดีเลย์แล้ว ดีเลย์อีก โดยมีตัวเลขจากทาง Sea-Intelligence Maritime วิเคราะห์ว่า ความล่าช้าส่งผลให้ ปริมาณเรือ ถึง 12.5% เสมือนถูกตัดออกจากระบบเลยทีเดียว โดยสายเรือเองก็ต้องพยายามเพิ่มเรือชดเชย (ซึ่งก็เพิ่มได้จำกัด) และพยายามหมุนตู้คอนเทนเนอร์ กลับมาเอเชียให้เร็วขึ้น
6) สถานการณ์ที่เวียดนาม ถึงแม้จะมีการปลดล็อคดาวน์ บางส่วน แต่ก็ยังต้องมีการติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด และมีการเปลี่ยนที่ผลิตสินค้าย้ายจากเวียดนามตอนใต้ไปยังเวียดนามตอนเหนือ
7) ทาง Maersk มีการประเมินสถานการณ์ต็สินค้าเอาไว้ตามตารางด้านล่าง อย่างที่แอดมินเกริ่นช่วงต้นคือที่ไทยสถานการณ์ตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงนี้ก็ตึงมากจ้า
8) มองไปข้างหน้า กำลังซื้อสินค้าและบริการของทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ยังอยู่ในระดับสูง แต่ทาง Maersk มองว่าอาจมีการเคลื่อนย้ายเงินไปจับจ่ายฝั่งบริการ แทนการซื้อสินค้า ซึ่งก็จะทำให้เกิดความสมดุลมากขึ้น
9) แต่ทางด้าน Supply หรือกำลังการขนส่งก็ยังติดขัดอยู่ โดยเฉพาะปัญหาที่ลามไปถึงรถหัวลาก และคลังสินค้าด้วย ซึ่งโดยภาพรวมสถานการณ์ก็น่าจะคลี่คลายช่วงไตรมาสหนึ่ง ของปี 2565 หรือปีหน้านี้
10) นอกจากเรื่องความล่าช้าในการขนส่งแล้ว ต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ยังจะคงกดดันต้นทุนขนส่งของสายเรือ รถบรรทุก และกระทบต้นทุนของผู้นำเข้าส่งออก ให้อยู่ในระดับสูงต่อไป
11) สำหรับช่วงนี้ ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ที่ประสบปัญหาจองเรือไม่ได้ ราคาเฟรทแพง แอดมิน ขอแนะนำ ZUPPORTS แพลตฟอร์มดิจิตอล ที่ได้รวบรวมเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์หรือผู้ให้บริการขนส่ง ในระบบมากกว่า 100 ราย
.
ช่วยผู้นำเข้าส่งออก สามารถ Bid และเปรียบเทียบ ราคาขนส่งทางทะเล ทางอากาศ ทางบก และบริหารงานขนส่ง ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์
.
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ทดลองใช้ระบบฟรี ได้ที่ www.zupports.co/register
หากไม่อยากพลาดเรื่องราว และข้อมูลดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites กันไว้เลย
.
และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์และแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า
=========================
นำเข้า "ความรู้" ส่งออก "ความคิด" ติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
=========================
ที่มา: BBC, spgglobal, Maersk
❤️ ติดตาม “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่
ไลน์ Openchat: http://bit.ly/2WxgB1d
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS
โฆษณา