Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชัยณรงค์ เจริญอยู่
•
ติดตาม
5 พ.ย. 2021 เวลา 08:20 • สิ่งแวดล้อม
มันถึงเวลา ... ลดก๊าซเรือนกระจกให้กับโลกของเรา
และสำหรับประเทศไทย ใครขับเคลื่อนเรื่องนี้บ้าง
ภาวะโลกร้อนหรือปัญหาก๊าซเรือนกระจกถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า "ต้องรับผิดชอบร่วมกัน" เกือบสามทศวรรษที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยในปีนี้เป็นสมัยที่ 26 (Conference of the Parties) หรือ COP26 ซึ่งจะมีการจัดประชุมระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 12 พ.ย. ณ เมือง Glasgow สหราชอาณาจักร
เป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางภูมิอากาศ ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)
ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1992 ทุกประเทศได้เข้าร่วมและผูกพันตามสนธิสัญญา เพื่อป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหาหนทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวิถีทางที่มีความเท่าเทียมกัน
สำหรับประเทศไทย องค์กรเอกชนต่างๆ ให้ความสำคัญการลดก๊าซเรือนกระจกกันอย่างจริงจัง โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ กับการขับเคลื่อนแสดงเจตนารมณ์การลดปัญหาโลกร้อน และขอยกตัวอย่างอีกหนึ่งภาคเอกชนคือ "เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)"
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนร่วมกับทุกภาคส่วน ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งเป้าไว้ โดยได้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรสุทธิเป็นศูนย์ในปีค.ศ. 2030
นอกจากนี้เครือซีพียังรายงานความคืบหน้าการดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านรายงานความยั่งยืน ซึ่งได้จัดทำตามมาตรฐาน GRI และเกณฑ์การจัดทำรายงานเพื่อสื่อสารความคืบหน้าของ UN Global Compact ในระดับสูงสุด
เป้าหมายสิ่งแวดล้อมของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)
สรุปภาพรวมของเป้าหมายสิ่งแวดล้อมของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)
★
ลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2030
★
หมดยุคปล่อยก๊าซเรือนกระจกปี2050
★
ทุกภาคส่วนต้องร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม
★
ยึดหลักดำเนินงาน3ด้านช่วยโลก
★
3แนวทางคู่ค้าร่วมลดก๊าซเรือนกระจก
สำหรับแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)
มาจาก 3 แนวทาง คือ
1. ลดการปล่อยจากทางตรง ทางอ้อม และทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทั้งจากการซื้อสินค้าและบริการ การขนส่ง การจัดเก็บ รวมถึงของเสียจากการดำเนินงาน
2. สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด
3. การดูดซับคาร์บอนด้วยการปลูกต้นไม้และรักษาพื้นที่ป่าเพิ่มดูดซับคาร์บอนด้วยการเพิ่มปริมาณต้นไม้ เพื่อให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกสุทธิกลายเป็นศูนย์ให้ได้
สิ่งที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ยึดมั่นในการกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ มุ่งมั่นนำทัพกลุ่มผู้บริหารซีอีโอของทุกกลุ่มธุรกิจและพนักงานในเครือซีพี ทั้งในประเทศและต่างประเทศไปสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ คือ Net Zero Carbon และ Zero Food Waste ใน 10 ปีข้างหน้า
โดยจะมีโครงสร้างการบริหารจัดการ และกรอบการดำเนินงานแบบองค์รวม มีกลยุทธ์ความยั่งยืน มีตัวชี้วัด การกำกับดูแลนโยบาย กระบวนการ โครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากร รวมถึงมีการจัดทำรายงานเพื่อสื่อสารในทุกปี เป้าหมายระยะยาวของเครือซีพี จึงไม่ได้มุ่งเฉพาะในองค์กรเท่านั้น แต่รวมถึงคู่ค้าของเราที่ต้องร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโลกที่ได้มีการกำหนดไว้ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย