Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
5 พ.ย. 2021 เวลา 16:39 • สุขภาพ
ภาวะเยื่อบุจมูกอักเสบจากยา Rhinitis medicamentosa (RM)
🤧อาการคัดจมูก ภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งภาวะเหล่านี้เป็นความผิดปกติที่เยื่อบุจมูกมักจะทำให้มีน้ำมูก หายใจไม่สะดวก โดยหากเป็นมากอาจส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวันบางคนหากอาการหนัก นอกจากการกินยาแล้ว อาจจำเป็นต้องใช้ยาหยอดจมูก หรือยาพ่นจมูกเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว ยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นจมูก หรือหยอดจมูกจะทำให้หลอดเลือดในเยื่อบุจมูกหดตัว เยื่อบุจมูกยุบบวมลง จึงใช้บรรเทาอาการคัดจมูกได้
😵การอักเสบทำให้หลอดเลือดในโพรงจมูกขยายตัว เกิดการบวมของเยื่อบุในโพรงจมูก ดังนั้น ยาหดหลอดเลือดจึงช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุ แล้วบรรเทาอาการคัดจมูกทำให้หายใจสะดวกขึ้น ข้อดีของการใช้ยาพ่น หรือยาหยอดจมูก คือ ยาจะออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าการกินยา โดยจะออกฤทธิ์ภายใน 5-10 นาทีหลังพ่นหรือหยอดยา ถึงแม้จะออกฤทธิ์ได้เร็วแต่เมื่อยาหมดฤทธิ์เยื่อบุจมูกอาจกลับมาบวมใหม่ได้
🤡นอกจากนี้การใช้ยาพ่นจมูกอย่างต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ เสี่ยงต่อการเกิดอาการคัดจมูกได้ใหม่หรืออาจแย่กว่าเดิม อาจทำให้เกิดภาวะเยื่อบุจมูกอักเสบจากยา ที่เรียกว่า Rhinitis medicamentosa (RM) จึงไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันนานเกิน 3–5 วัน
ดังนั้นการใช้ยานี้ควรใช้เมื่อจำเป็น ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินกว่า5-10วัน
🌺ตัวอย่างตัวยาหดหลอดเลือดที่ใช้เป็นยาพ่น หรือยาหยอดจมูก ได้แก่
นาฟ่าโซลีน (ชื่อการค้า นาซอล.ฟรอซซี่)
อ็อกซี่เมตาโซลีน (ชื่อการค้า อิลิอาดิน.อ็อกซี่เมท ฟินดรอซ เพอนาซีน ฟีโนส โอเมลิน)
ไซโลเมตาโซลีน (ชื่อการค้า โอตริวิน แอคตาเวีย ซัยเมลิน)
เป็นต้น
💢
https://oryor.com/อย/infographic/detail/73/1943
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/512/ยาพ่นจมูก…สำหรับโรคจมูกอักเสบ/
🖼️ภาพประกอบ
https://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/sos-25-mar-2015
🤧Oxymetazoline และ Xylometazoline เป็นยาหดหลอดเลือด มีข้อบ่งชี้ในการลดการหลั่งของสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในโพรงจมูก ทำให้อาการบวม แน่นจมูกลดลง ในกรณีผ่าตัดโพรงจมูกหรือต้องการทำให้อาการจมูกอุดตันหายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะใช้เพียงครั้งเดียวหรือใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น
👹แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่า ยา 2 ตัวนี้มีการใช้ที่ไม่เหมาะสม เช่น
จ่ายยาให้แก่ผู้ที่มีอาการจมูกอุดตันเพียงเล็กน้อย
จ่ายโดยไม่ได้เตือนให้ใช้ยาในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น เนื่องจากการใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (เร็วสุด 3 วัน หรือใช้ติดต่อกันนานกว่า 4-6 สัปดาห์) จะทำให้เกิดภาวะเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากการใช้ยา (rhinitis medicamentosa) ทำให้เกิดน้ำมูกไหลในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง
👻นอกจากนี้ยาพ่นแก้คัดจมูกเหล่านี้ มีเบนซาลโคเนียมคลอไรด์เป็นสารกันเสีย (ซึ่งไม่ได้ระบุในฉลากยา) อาจมีส่วนทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวมได้เช่นกัน
🐸การรักษาเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากการใช้ยา ทำได้โดยการลดปริมาณยาที่ใช้ลงจนค่อยๆหยุดการพ่นยา ร่วมกับการใช้ยาพ่นจมูกสเตียรอยด์ หรือกินยาเพรดนิโซโลนในระยะสั้นๆ ร่วมกับการกินยาแก้แพ้ ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หรือฉีดสเตียรอยด์เข้าจมูกเพื่อลดการอักเสบ
ในการรักษาสมัยใหม่จะใช้การส่องแสงยูวีเข้าไปในจมูก (Rhinolight® Endonasal UV Phototherapy)
💢
http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=3020
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=100
https://imj.ie/severe-rhinitis-medicamentosa-successfully-treated-with-rhinolight-endonasal-uv-phototherapy/
.
.
🎯อ่านเพิ่มเติม
Rhinitis Medicamentosa
Last Update: September 9, 2021.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538318/
.
Rhinitis medicamentosa: a nationwide survey of Canadian otolaryngologists
Published: 09 December 2019
https://journalotohns.biomedcentral.com/articles/10.1186/s40463-019-0392-1
.
Rhinitis Medicamentosa Treatment & Management
Updated: Jan 02, 2018
https://emedicine.medscape.com/article/995056-treatment
.
วิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก.
ผู้เขียนบทความ, รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน.
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์.
http://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=86
🤧ยาพ่นจมูก (Nasal spray) สำหรับรักษาอาการภูมิแพ้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยาละลายหรือแขวนลอยอยู่ในกระสายยาบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มาพร้อมกับเครื่องพ่นยา (Sprayer) เป็นหัวฉีดสำหรับพ่นเข้าโพรงจมูก พร้อมที่กด เพื่อบริหารยาให้อยู่ในรูปละอองฝอยที่มีขนาดยาแน่นอนต่อครั้งที่พ่นยา
👾ยาพ่นจมูก สามารถแบ่งการรักษาตามกลุ่มยา ดังนี้
ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น บูดีโซนายด์ (Budesonide) ฟลูติคาโซน (Fluticasone) โมเมทาโซน (Mometasone) ใช้รักษาอาการคันจมูกจามน้ำมูกไหลคัดแน่นจมูกเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดตลอดปีริดสีดวงจมูกและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของริดสีดวงจมูกภายหลังการผ่าตัด
ไม่ควรใช้ยาพ่นชนิดนี้ติดต่อกันเกิน 7วัน เพราะอาจทำให้เกิดเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากยาและบวมมากขึ้น อาการคัดจมูกแย่ลง และควรระวังการใช้ยานี้ใน ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงต้อหินมุมปิดโรคหัวใจโรคจิตต่อมลูกหมากโตต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือไซนัสอักเสบร่วมด้วย
ยาพ่นจมูกที่ออกฤทธิ์หดหลอดเลือดของเยื่อบุโพรงจมูกเช่น นาฟาโซลีน (Naphazoline) ออกซีเมตาโซลีน (Oxymetazoline) ไซโลเมตาโซลีน (Xylometazoline) ใช้บรรเทาอาการคัดจมูก ลดน้ำมูกในโรคหวัด โพรงจมูกอักเสบ และหยุดเลือดกำเดาที่ออกทางจมูกจะปรับขนาดยาชนิดนี้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งจะลดขนาดยาและความถี่ในการใช้ยานี้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อควบคุมอาการเท่านั้น
🤧วิธีการใช้ยาพ่นจมูก
ถ้ามีน้ำมูกมาก ควรสั่งน้ำมูกออกก่อน หรือ ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และล้างมือให้สะอาด
เปิดฝาขวดอุปกรณ์จับขวดยาโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ที่ไหล่ของขวด
เขย่าขวดยาก่อนใช้ทุกครั้ง
(กรณีใช้ยาขวดใหม่ให้ทดลองกดพ่นยาจนได้ละอองฝอยก่อน)
นั่งตัวตรง หรือก้มศีรษะ(ขึ้นอยู่กับชนิดของยา) ปิดปากให้สนิท
สอดปลายหัวพ่นยาเข้ารูจมูกข้างใดข้างหนึ่งให้
***ปลายหัวพ่นชี้ไปทางหางตาข้างเดียวกับจมูก***
ใช้นิ้วมืออีกข้างปิดรูจมูกที่เหลือ สูดหายใจเข้าช้าๆ พร้อมกับกดที่พ่นยาเข้าจมูกกลั้น
หายใจ 2-3 วินาทีแล้วพ่นยาในรูจมูก
ในกรณีพ่นยาข้างละ 2 ครั้ง ควรพ่นข้างละ 1 ครั้ง ให้ครบทั้งสองข้างก่อน แล้วจึงเริ่มพ่นครั้งถัดไป
เช็ดทำความสะอาดปลายหัวพ่นยาด้วยกระดาษสะอาด ปิดฝาให้เรียบร้อย และล้างมือให้สะอาด
💢
https://med.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/01292020-1610
https://www.facebook.com/1681279138754939/posts/2348905161992330/
วิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก.
ผู้เขียนบทความ, รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน.
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์.
http://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=86
POSTED 2021.11.01
บทความอื่น
🤧Allergic Rhinitis
https://www.blockdit.com/posts/60a65f0787091812ec4a82fd
💢Management of allergic rhinitis symptoms in the pharmacy Pocket guide 2022
https://www.blockdit.com/posts/634ba22fd855447113d084f0
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย