5 พ.ย. 2021 เวลา 21:57 • การศึกษา
ก่อนไปเรียนจ่อที่เยอรมัน ก็มีเรื่องให้ตัดสินใจเริ่มตั้งแต่การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยแต่ละประเภทแต่ละแห่ง ที่แตกต่างกัน เราควรเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแบบไหน เป็นคำถามที่ชวนสงสัยตั้งแต่แรก 😇😇แต่หลังจากสอบผ่าน STK ออกมา เลือกเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว อาจมีคำถามปวดหัวตามมาอีกมากมาย
สำหรับเด็กไทยต้องไม่คุ้นชินแน่ๆ ตอนอยู่STKเรียนกันป็นห้องเรียนแท้ๆ มีอาจารย์ประคบประหงม บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ต่างจากไทยมากเท่าไหร่ แต่พอหลุดจากSTK มาเข้ามหาวิทยาลัย อาจเกิดอาการที่เรียกว่า Culture Shock
ด้วยโลกการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ติดจ่อปรับทุกข์กับเพื่อนที่ไทยได้ง่ายๆแบบในปัจจุบัน มีคำแนะนำสำหรับพ่อแม่นะคะ พยายามให้เขาตัดขาดจากเพื่อนที่ไทยให้มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของวิธีใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยและเรื่องของการเรียน ทำไมล่ะ??มันเป็นยังไง??ถึงต้องขนาดตัดขาดกันเลย โพสต์นี้จะเล่าให้ฟัง เอามาจากที่ลูกเราให้ฟัง มาเล่าต่อค่ะ...
นอกเหนือจากประเภทของมหาวิทยาลัยที่ชวนปวดหัวแล้ว หลังจากฝ่าฟันจนเข้ามาได้เรียบร้อย ยังต้องเจอกับการช่วยเหลือตัวเองอีกในทุกรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียนเรียน ท่านใดที่เคยลงเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง คงเข้าใจได้ง่ายกว่า คือในแต่ละเทอมไม่มีรายวิชาที่ตายตัวกำหนดมาให้ จะมีบอกModule ไว้ว่าในแต่ละปีมีวิชาอะไรคร่าวๆ ในแต่ละเทอมจะลงเรียนอะไร จะลงกี่วิชา ไม่มีใครมากำหนด แล้วแต่ความสามารถเลย
ต้องมาจัดการบริหารเอาเอง สมมติว่ารวมทั้งหลักสูตร 240 หน่วยกิต แยกฝึกงานและวิชาพรีเซ้นต์ต่างๆ และการทำ thesis ออก เหลือหน่วยกิตเท่าไหร่เอามาจัดการคำนวนตามจำนวนเทอมที่เหลือ จะลงอะไรก่อนหลัง ถ้าไม่กำหนดว่าต้องผ่านจากเล่ม 1ค่อยมาเรียนเล่ม 2 เราสามารถจับมาลงทะเบียนเรียนได้เองเลย รวมทั้งการเลือกวิชาที่ไม่บังคับหรือที่เรียกว่าวิชาเลือกเสรี ก็เสรีจริงๆ
ตรงนี้ที่ต่างกับในไทย ที่นักศึกษาทุกคนในชั้นปีเดียวกัน ลงเรียนเหมือนกัน ยกชั้นขึ้นไปพร้อมๆกัน คือเข้ามาในปี 1ทุกคนก็รู้ว่าเพื่อนๆจบมอ6มาเหมือนๆเรา freshy มาด้วยกัน พอขึ้นปี 2ก็ขึ้นไปพร้อมๆกัน จบเป็นรุ่นๆกันไป
นี่แค่เล่าเรื่องการลงทะเบียน ส่วนการสอบ สอบครั้งเดียวปลายเทอม ไม่มีการเก็บคะแนนย่อยแล้วย่อยอีกแบบในไทย แต่ก่อนสอบจะให้ตัดสินใจว่า วิชาไหนดูท่าไม่รอด จะให้โอกาสถอนวิชานั้นออกก่อน ทำไมจึงให้ถอนออกได้ เพราะถ้าสอบไม่ผ่าน จะปรากฎอยู่ใน transcript ว่าสอบไม่ผ่าน แบบTranscript ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือมีรายวิชาปรากฎในเทอมนั้น แต่ผลสอบเป็น - คือไม่ผ่าน
แต่ของเยอรมัน แตกต่างกันตรงนี้ให้โอกาสตัดสินใจว่าจะสอบหรือไม่สอบ ไม่สอบก็ถอนออก จะสอบก็ยืนยันอีกที จะได้ไม่ปรากฎวิชานั้นในTranscriptในเทอมนั้น จึงมีเวลากำหนดให้ถอนออก และให้ยืนยันอีกรอบ อิสระเสรีมากทีเดียว แต่เด็กไทยหลายคนไม่ชอบ อาจมาจากเคยชินกับการที่มีคนมาป้อนทุกอย่างให้
มีตัวอย่างแนะนำจากรุ่นพี่ จากเพจ petchpals มีเล่าเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียนแบบสรุปง่ายๆ มาลงให้เพิ่มเติมนะคะ
การเรียนปริญญาตรีที่เยอรมัน โดยปกติแล้วเราต้องเก็บหน่วยกิตทั้งหมด 180 หน่วยกิต หมายความว่าถ้าเราอยากเรียนให้จบในหกเทอม เราควรจะเก็บหน่วยกิตให้ได้เทอมละประมาณ 30 หน่วยกิตเป็นอย่างน้อยใน 180 หน่วยกิตนี้ จะมีส่วนที่เป็นธีสิสรวมอยู่ด้วย ซึ่งน้ำหนักหน่วยกิตของธีสิสก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละคณะ สำหรับคณะของเราธีสิสจะมีน้ำหนัก 12 หน่วยกิต หมายความว่าเทอมสุดท้ายของเรา 18 หน่วยกิตจะเป็นในส่วนของเลคเชอร์หรือ Workshop หรือสัมมนาหรืออะไรก็แล้วแต่ที่มหาลัยจะมีไว้ให้สำหรับเก็บหน่วยกิต และส่วนของ 12 หน่วยกิตที่เหลือจะเป็นของธีสิสที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาทำนานหกเดือน ควบคู่ไปกับการเก็บหน่วยกิตอื่นๆอีก 18 หน่วยกิตด้วย (อันนี้พูดในกรณีที่สมมติว่าเราวางแผนลงเรียนได้แบบสามารถเก็บหน่วยกิตได้เทอมละ 30 หน่วยกิตเป๊ะๆ)
ปกติแล้วสำหรับปริญญาตรี แต่ละคณะเค้าจะมีตารางเรียนฉบับแนะนำ (Studienplan) มาให้ (จะเรียนตามนี้ก็ได้หรือจะจัดตารางแบบอื่นตามใจเราเองก็ได้) ซึ่งจะจัดวิชาบังคับ (Pfichtfächer) ต่างๆของคณะนั้นๆเรียงไปตามเทอมตามลำดับเนื้อหาที่เราควรรู้ก่อน-หลัง ตารางเรียนนี้เค้าจะจัดแบ่งวิชาตามเทอมให้มีหน่วยกิตเฉลี่ยเทอมละประมาณ 30 หน่วยกิต ถ้าอ้างอิงตามตารางเรียนฉบับแนะนำนี้ ปกติแล้ววิชาบังคับก็จะไปหมดเอาตอนช่วงเทอมสี่ ที่เหลือจะเป็นอิสระให้เราสามารถเลือกวิชาเลือก (Wahlfächer) และวิชาสำหรับ specialization (Wahlpflichtfächer/Vertiefungsfächer) ได้ตามที่เราต้องการ
ถ้าเราอยากเรียนให้จบในหกเทอม ก็พยายามเก็บวิชาบังคับเหล่านี้ให้ได้ครบตามตารางเรียนฉบับแนะนำนั้นในส่วนของหน่วยกิตอื่นๆที่เหลือจากหน่วยกิตของวิชาบังคับนั้นจะเป็นส่วนที่เราสามารถวางแผนเองได้ สิ่งที่เราต้องทำคือศึกษารายละเอียดแผนการเรียนของคณะของเราให้ละเอียดว่าเราสามารถเลือกวิชา specialization อะไรได้บ้าง และแต่ละวิชามีกี่หน่วยกิต เปิดสอนตอนเทอมฤดูร้อนหรือเทอมฤดูหนาวหรือว่าทั้งสองเทอม ต้องเรียนวิชาอะไรมาก่อนรึเปล่าถึงเรียนวิชานี้ได้ แล้วก็ศึกษาจากแผนการเรียนของคณะเราหรือไม่ก็จากคำแนะนำจากเพื่อนๆหรือรุ่นพี่ว่ามีวิชาเลือกอะไรที่น่าสนใจ หรือว่าที่ไม่ยากบ้าง (ในกรณีที่อยากให้เกรดวิชาเลือกออกมาดีๆจะได้มาช่วยดึงเกรดเฉลี่ยรวมขึ้นไป)
วิชาเลือกบางวิชาอาจจะจัดสอบตอนกลางเทอม อันนี้จะดีตรงที่ไม่ไปแย่งเวลาอ่านหนังสือสอบกับวิชาอื่นตอนท้ายเทอม หลังจากที่พอจะนึกออกแล้วว่าเราอยากจะเรียนวิชาอะไรบ้างก็ลองจัดสรรวิชาเหล่านั้นลงไปในตารางเรียนของเราตามเทอมที่สามารถลงได้ดู พอได้ตารางเรียนที่ถูกใจที่สามารถเก็บหน่วยกิตครบทั้ง 180 หน่วยกิตได้ภายในหกเทอมแล้ว ก็แค่พยายามเก็บหน่วยกิตของวิชาในแต่ละเทอมให้ได้ตามที่เราวางแผนไว้ (หมายความว่าพยายามอย่าสอบตกนั่นเอง) หรือไม่ก็ให้ได้มากกว่า แบบเอาวิชาเลือกของเทอมหลังๆมาสอบตั้งแต่เทอมแรกๆเลยอะไรอย่างงี้ ถ้าทำตามนี้ได้ หนทางสู่การเรียนจบภายในหกเทอมก็ไม่ไกลเกินเอื้อม
ตารางเรียนที่เราวางแผนไว้ล่วงหน้านี้ พอเวลาผ่านไปเราสามารถปรับเปลี่ยนเองได้ตลอดอยู่แล้วเพราะมันก็เป็นแผนของเราเอง และพอเรียนๆไปความสนใจของเราในเรื่องของทิศทางที่เราอยากจะ spezialize ก็อาจจะเปลี่ยนก็ได้ ข้อดีของการทำตารางเรียนทั้งหกเทอมตั้งแต่เนิ่นๆหลักๆก็คงเป็นทำให้เราไม่ชะล่าใจ ไม่คิดว่ายังเหลือหน่วยกิตให้เก็บน้อยกว่าในความเป็นจริง อะไรอย่างนี้มากกว่า แล้วก็ทำให้เราตั้งเป้าวิชาที่เราควรเตรียมตัวเรียนหรือสอบในแต่ละๆเทอมได้
แต่อย่างที่บอกไว้ว่าคนที่นี่เค้าไม่ค่อยซีเรียสเรื่องว่าจะเรียนจบภายในหกเทอมรึเปล่ากัน คือถ้าทำได้ก็ถือว่าเก่งและบริหารจัดการชีวิตและรับผิดชอบตัวเองได้ดีแหละ แต่ว่าอย่างที่บอกว่ามันก็มีคนที่ใช้เวลาเรียนมากกว่าหกเทอมเพราะว่าระหว่างเรียนทำกิจกรรม ทำโปรเจคต์ ทำงาน ฝึกงานอื่นๆไปด้วย หรือไปแลกเปลี่ยนมาด้วย หรือไม่ก็อยากค่อยๆเรียนให้รู้ลึกรู้จริง หรือไม่ก็ไม่อยากเรียนอัดๆจนเครียด อะไรอย่างนี้ด้วยเหมือนกัน สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามก็คือเราสามารถเป็นนักเรียนมหาลัย ใช้สิทธิพิเศษต่างๆสำหรับนักเรียนมหาลัย หรือทำกิจกรรมต่างๆของนักเรียนมหาลัย หรือใช้ชีวิตแบบนักเรียนมหาลัยให้สุดขีดได้แค่ครั้งเดียวในชีวิต หลังจากนี้เราจะต้องไปทำงานจริงๆจัง ไม่มีปิดเทอม มีภาระหน้าที่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวไปตลอดทั้งชีวิตแล้ว
แล้วถ้าเราไม่ชอบรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ ควรทำอย่างไรดี
คำตอบคือ เลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่มีขนาดเล็ก จำนวนนักศึกษาต่อปี ต่อเทมมีจำนวนน้อย จะทำให้เป็นกลุ่มเล็กๆดูไม่เคว้งคว้าง คงแก้ได้ด้วยวิธีนีวิธีเดียวค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ ชีวิตไม่ง่ายเนอะ🤣🤣 แต่เชื่อเถอะแค่เรื่องรียน มันต้องง่ายกว่าการที่พ่อแม่ลำบากหาเงินมาให้เราเรียนนะคะเด็กๆ
โพสต์หน้าจะมาเล่าอะไรต่อ ต้องติดตาม อย่าลืมไปตามหาเปรียบเทียบtranscript รามคำแหงกับมหาวิทยาลัยปิดที่อื่นๆนะจ๊ะ
โฆษณา