5 พ.ย. 2021 เวลา 23:15 • การศึกษา
การรู้จักและเข้าใจตน :บุคลิกภาพ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
-ผู้นำแนวคิดนี้คือ จิตแพทย์ชื่อ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ฟรอยด์ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ริเริ่มศึกษําบุคลิกภําพด้วยวิธีกํารสังเกต บันทึกพฤติกรรมคนไข้โรคจิตโรคประสําทในคลินิก นำข้อมูลจํากคนไข้มาศึกษาสร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ทฤษฎีจิตวิเครําะห์ของฟรอยด์ อธิบํายบุคลิกภาพเพื่อทำให้เข้าใจบุคลิกภําพของบุคคล ดังนี้ ระดับของจิต โครงสร้างบุคลิกภาพ
จงเข้าใจ
ระดับของจิต (The Levels of Consciousness) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1.จิตสำนึก (Conscious mind)เป็นจิตที่รู้ตัวทุกขณะว่ากำลังทำอะไร รับรู้อะไรในขณะนั้น เป็นภาวะที่มีสติเต็มที่เปรียบเสมือนส่วนเป็นส่วนที่โผล่พ้นน้ำของภูเขาน้ำแข็ง มีบริเวณน้อยที่สุด
2.จิตกึ่งสำนึก(Pre-Conscious mind)เป็นส่วนที่เก็บสะสมประสบการณ์บางอย่างไว้ มีลักษณะลางเลือน ถ้ามีสิ่งมากระตุ้นที่เหมาะสม บุคคลสามารถระลึกหรือจดจำได้ (ดึงขึ้นสู่สภาวะจิตสำนึก) เช่น เดินสวนทํางกับคนๆหนึ่ง จำได้ว่าเคยเรียนด้วยกันสมัยประถม แต่นึกชื่อไม่ออก ต้องใช้เวลํานึกบ้างจึงจะคิดออก
3.จิตไร้สำนึก (Unconscious mind)เป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุด มีอําณําบริเวณมํากที่สุดลึกลับที่สุด เป็นส่วนที่บุคคลเก็บกดสิ่งต่างๆ หรือประสบกํารณ์ที่ทำให้เจ็บปวดไว้ในจิตส่วนนี้ ในจิตไร้สำนึก จึงอัดแน่นไปด้วยพลังควํามต้องการต่างๆซึ่งจะผลักดันให้มนุษย์กระทำพฤติกรรมต่างๆ สะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมที่กระทำโดยไม่รู้ตัว เช่น ความฝัน การพูดพลั้งปาก การเผลอกระทำอะไรโดยไม่รู้ตัว
โครงสร้างบุคลิกภาพ (Personality Structure)ฟรอยด์ อธิบายว่า โครงสร้างบุคลิกภาพ ประกอบด้วยพลัง 3 ประการ
1.อิด (Id) เป็นพลังงานที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด รวมถึงสัญชาตญาณ เป็นพลังเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง Idจะไร้ศีลธรรมไม่คำนึงถึงเหตุผลความเป็นจริง
2.อีโก้ (Ego)เป็นพลังงานที่พัฒนามาจากการเรียนรู้โลกตามความเป็นจริงตั้งแต่วัยเด็ก โดยบุคคลเรียนรู้ว่า เราจะทำอะไรตามใจมิได้ ต้องพิจารณาความเหมาะสม ตามหลักแห่งความเป็นจริง ต้องรู้กาลเทศะ รู้จักอดกลั้นต่อความต้องการของตนเอง ตระหนักในความเป็นจริงมากขึ้น
3.ซุเปอร์อีโก้ (Superego)เป็นพลังที่เกิดจากการเรียนรู้เช่นเดียวกับ Ego แต่แตกต่างกันคือ เป็นส่วนที่เกี่ยวกับคุณธรรมความดีงาม ความรู้จักผิดชอบชั่วดี แต่ก็มีด้านลบคือ อาจจะเข้มงวดและเรียกร้องมาก เช่น เด็กที่ได้รับค่านิยมจากพ่อแม่ว่าsexเป็นเรื่องสกปรก พอโตขึ้นไม่กล้าเข้าใกล้เพศตรงข้าม
โครงสร้างบุคลิกภําพทั้ง 3 จะทำงานร่วมกัน โครงสร้างใดมีอิทธิพลมาก บุคคลก็จะมีบุคลิกภาพโน้มเอียงไปทิศทางนั้น ดังนั้น บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ บุคคลที่มี Ego ที่เข้มแข็ง สามารถประนีประนอมหา ทางออกที่เหมาะสม ระหว่างแรงกระตุ้นจาก Id และโน้มน้ําว Superego ให้เข้าสู่หลักแห่งความจริง
3
พัฒนาการทางบุคลิกภาพมี 5 ขั้นคือ
1.ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะปาก (Oral Stage)ตั้งแต่แรกเกิดถึงประมาณ
2.ขวบ เป็นช่วงที่ทํารกมีความสุขและความพึงพอใจกับการใช้ปากทำ
กิจกรรมต่างๆ เช่น การดูด การกัด แต่ถ้าทํารกไม่ได้รับการตอบสนองด้วยการใช้ปากทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ การหย่านมเร็วเกินไป วิธีหย่านมทำรุนแรงเกินไป จะนำไปสู่ภาวะติดข้องในขั้นปาก ส่งผลให้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ยัง
แสวงหาความสุขกับการใช้ปาก เช่น ชอบกินจุบจิบ ชอบนินทํา สูบบุหรี่ ดูดนิ้ว ชอบเคี้ยวหมากฝรั่ง เป็นต้น
2.ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะทวารหนัก (Anal Stage)ช่วง 2 –3 ขวบ เป็นช่วงที่ความสุขและความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก
เด็กจะได้รับความสุขจากการได้ควบคุมกล้ามเนื้อเปิดปิดของทวารหนัก เพื่อใช้
ในการขับถ่ายอุจจาระ การที่พยายามบังคับให้เด็กทำตามกฏเกณฑ์ ขับถ่ายเป็นเวลา จึงเป็นระยะที่มักเกิดความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับเด็กในเรื่องการฝึกหัดกํารขับถ่าย ถ้าเด็กไม่พอใจกับการฝึกหัดจะนำไปสู่ภาวะติดข้องในขั้นทวารหนัก ส่งผลให้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะมีนิสัยจู้จี้ เจ้าระเบียบ รักสะอาด ขี้เหนียว หรือไม่ก็ตรงข้ามไปเลย คือ สกปรก สุรุ่ยสุร่าย
3.ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะเพศ (Phallic Stage)ช่วง 3 –5
ขวบ เป็นช่วงที่ความสุขและความพึงพอใจอยู่ที่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศ เช่นเล่นอวัยวะเพศของตนเอง ตลอดจนสนใจเกี่ยวกับความแตกต่างของอวัยวะเพศชายและเพศหญิงในระยะนี้ฟรอยด์เชื่อว่าเป็นระยะวิกฤต
(Critical period) คือ เด็กจะรักและอยากครอบครองพ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน ทำให้เกิดปม (Complex) ขึ้นมาในใจ โดยเด็กชายจะเกิดปมออดิปุส (Oedipus Complex) และเด็กหญิงจะเกิดปมอิเลคต้า(Electra Complex)
วิธีแก้ปมคือ เด็กจะถอดแบบพฤติกรรม ค่านิยม ฯลฯ จํากพ่อแม่เพศเดียวกับตน ทั้งนี้ก็เพื่อให้พ่อแม่เพศตรงข้ามรักและสนใจตน ซึ่งถ้าเด็กสามารถแก้
ปมดังกล่าวได้ เด็กจะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับเพศ ในทํางตรงกันข้ามถ้าแก้ปมไม่ได้ จะนำไปสู่ภาวะติดข้องในขั้นอวัยวะเพศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิด
การแปรปรวนทางเพศ
4.ขั้นแสวงหาความสุขจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว (Latency Stage)ช่วง 5 –12
ปี หรือเรียกว่าระยะหยุดพัก เป็นระยะที่เด็กเก็บกดความพึงพอใจทางเพศไว้ และไม่มีบริเวณใดในร่างกายเป็นบริเวณแห่งความสุขความพอใจ ฉะนั้นจึงเป็นช่วงที่เด็กหันไปสนใจทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเรียน การกีฬา เป็นต้น
5.ขั้นแสวงหาความสุขจากแรงกระตุ้นทางเพศ (Genital Stage)ช่วง 12 –20
ปี เป็นระยะที่เด็กเข้าสู่วัยรุ่น ช่วงแตกเนื้อหนุ่มสําว ควํามต้องกํารทํางเพศตื่นตัวเต็มที่ เด็กจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลอื่นๆ มีควํามพอใจคบหารักใคร่ผูกพันกับเพื่อนต่างเพศกลไกการป้องกันทางจิต (Defense Mechanism)กลไกกํารป้องกันทํางจิตที่สำคัญมีดังนี้
1.การเก็บกด (Repression) เป็นการกดประสบการณ์และความไม่พอใจต่างๆ โดยเราจะผลักประสบการณ์ดังกล่าวไปเก็บไว้ลึกที่สุดในระดับจิตไร้สำนึก ฟรอยด์อธิบายว่า การเก็บกดเป็นกลไกทางจิตที่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วแก้ยากมาก เช่น ผู้ใหญ่ที่ยังมีความกลัวแบบเด็กๆ เช่น กลัวผี กลัวสัตว์ต่างๆ เพราะเขาได้กด
ความเครียดที่เกิดจากความกลัวนั้น ไว้ในจิตไร้สำนึกเป็นเวลานาน
2.การถดถอย (Regression) เป็นการแสดงพฤติกรรมที่อยู่ในระดับต่ำกว่าวุฒิภาวะที่เป็นอยู่ เมื่อต้องพบสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความคับข้องใจ เช่น ไปเดินซื้อของมองเห็นตุ๊กตาแล้วอยากได้มากแต่ไม่มีใครยอมซื้อให้ จึงลงไปนั่งชักดิ้นชักงอถดถอยแสดงออกเหมือนเด็ก
3.การทำพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction Formation)
เป็นกํารมีท่าทีหรือพฤติกรรมแสดงออกที่ตรงกันข้ามกับความรู้สึกเพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริงของตน ท่าทีที่แสดงออกมามักเกินความจริง เช่น เกลียดหัวหน้างานแต่แสดงท่าทีว่ารัก
1
4.การเปลี่ยนทิศทํางหรือเป้าหมาย (Displacement) หรือการหาแพะรับบาป เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลไม่พอใจบางสิ่งบางอย่าง อยากตอบโต้แต่ถ้าทำไปเช่นนั้น จะเกิดผลเสียต่อตนเองและสังคมไม่ยอมรับ จึงเปลี่ยนทิศทํางหรือเป้าหมายที่จะกระทำเสียใหม่ เช่นถูกพ่อดุโกรธพ่อมากแต่ทำอะไรพ่อไม่ได้ จึงไปเตะสุนัขแทนเพื่อระบายอารมณ์
5.การหาเหตุผลมาอ้าง (Rationalization) เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆของตน เพื่อทำให้ตนรู้สึกเชื่อมั่น
6.การชดเชย (Compensation) โดยการหาความสามารถนอื่นด้านชดเชยความบกพร่องหรือจุดอ่อนของตนเอง เช่น เรียนไม่เก่งจึงไปเอําดีทางการเล่นกีฬา
7.การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection) เช่น นักเรียนสอบตกก็โทษว่าอาจารย์สอนไม่ดี ทั้งๆที่ตัวเองไม่ตั้งใจเรียน
8.การฝันกลางวัน หรือเพ้อฝัน (Day dream or Fantacy) เป็นการสร้างวิมานในอากาศ ซึ่งมักเป็นเรื่องที่ในชีวิตจริงเป็นไปไม่ได้ เช่น ความเป็นจริงเป็นคนอ้วนมาก ก็ฝันเอาว่าตัวเองหุ่นดี
9.การปฏิเสธความจริง (Denial) เป็นการไม่ยอมรับความจริงเพราะมันปวดร้าว โดยปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่สามารถทนต่อความรู้สึกดังกล่าวได้จึงต้องปฏิเสธว่าไม่จริง ซึ่งเกิดขึ้นทันทีโดยอัตโนมัติ ส่วนใหญ่มักพบกับเรื่องรุนแรง การสูญเสียของรัก
1
ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ล จุง (Carl Jung)
จุงได้จำแนกประเภทบุคลิกภาพของคน โดยพิจารณาจากการเกี่ยวข้องกับสังคม หรือตามลักษณะการดำเนินชีวิต ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1.บุคลิกภําพแบบเก็บตัว (Introvert)บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวมักจะมีลักษณะไม่ชอบเข้าสังคม ชอบทำงานเงียบๆคนเดียวไม่ชอบทงานเป็นหมู่คณะ เก็บความรู้สึกเก่ง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวยาก ไม่ชอบความตื่นเต้น เจ้าระเบียบ ชอบทำอะไรตามระเบียบกฏเกณฑ์แบบแผนของสังคมเชื่อมั่นตนเองสูงมาก ทำอะไรมักขึ้นกับกํารตัดสินใจของตนเองเป็นใหญ่
2.บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extrovert)บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยมักจะมีลักษณะชอบเข้าสังคม
มีความสุขที่ได้เข้าสังคม มีเพื่อนฝูงมาก ชอบการทำงานเป็นทีม กล้าแสดงออก ปรับตัวได้ง่าย ชอบการ
เปลี่ยนแปลง มองโลกในแง่ดี ชอบกิจกรรมท้าทาย
เป็นคนเปิดเผยความรู้สึกต่อมาภายหลัง จุงได้เพิ่มบุคลิกภาพขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งประเภท คือ บุคลิกภาพแบบกลางๆ (Ambivert) ซึ่งมีลักษณะไม่เก็บตัวหรือเปิดเผยจนเกินไป
โฆษณา