9 พ.ย. 2021 เวลา 02:01 • สิ่งแวดล้อม
ผู้นำกว่า 100 ประเทศให้คำมั่นว่าจะ “ยุติการตัดไม้ทำลายป่า” ตามที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการตัดไม้ทำลายป่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ก่อให้เกิดวิกฤตเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สหราชอาณาจักร เจ้าภาพจัดประชุม COP6 ได้ยกย่องความมุ่งมั่นดังกล่าวว่าเป็น “ความสำเร็จใหญ่ครั้งแรก” ของการประชุมสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในกลาสโกว์ แต่สำหรับนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมยังรู้สึกกังขาในรายละเอียด เนื่องจากเคยมีการให้คำมั่นเช่นนี้มาแล้ว แต่กลับไม่มีใครทำได้สำเร็จ
รัฐบาลสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ได้รับคำมั่นสัญญาจากผู้นำของประเทศที่มีพื้นที่ป่ามากกว่า 85% ของโลกว่าจะหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและฟื้นฟูภายในปี 2030 เช่น ช่น บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
แผนงานนี้ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนกองทุนภาครัฐและเอกชนกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งบราซิล จีน โคลอมเบีย คองโก อินโดนีเซีย รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา
ป่าไม้ถือเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและเป็นหัวใจสำคัญของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกหลักในชั้นบรรยากาศ
แต่มูลค่าของไม้กลับกลายเป็นโภคภัณฑ์สินค้า รวมถึงความต้องการที่ดินสำหรับทำเกษตรกรรมและสำหรับเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น ได้ก่อให้การโค่นป่าขนานใหญ่และมักกระทำอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
กลุ่มรณรงค์ Human Right Watch เตือนว่าในอดีตคำมั่นสัญญาทำนองนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว แต่มันไม่ได้ผล
Luciana Tellez Chavez นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มกล่าวว่า การเสริมสร้างสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองจะช่วยป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและควรเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง
Alison Hoare นักวิจัยอาวุโสของ Chatham House ผู้นำด้านความคิดทางการเมือง กล่าวว่าบรรดาผู้นำโลกให้คำมั่นสัญญาในปี 2014 ว่าจะยุติการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030 “แต่หลังจากนั้นการตัดไม้ทำลายป่ากลับเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ”
“คำปฏิญาณใหม่นี้ตระหนักถึงขอบเขตของการดำเนินการที่จำเป็นในการปกป้องป่าของเรา รวมถึงการเงิน การสนับสนุนการดำรงชีวิตในชนบท และนโยบายการค้าที่เข้มแข็ง” เธอกล่าว “เพื่อให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีกระบวนการที่ครอบคลุมและกรอบกฎหมายที่เท่าเทียมกัน และรัฐบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม ธุรกิจ และชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อตกลง ติดตาม และดำเนินการ”
ผู้นำโลกประมาณ 130 คนอยู่ในกลาสโกว์เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอด COP26 ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพกล่าวว่า “เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะรักษาภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม” ซึ่งเป็นเป้าหมายที่โลกตั้งไว้ในปารีสเมื่อหกปีที่แล้ว
อนึ่ง ข้อตกลงในคำมั่นสัญญาว่าจะยุติการตัดไม้นี้ มีผู้นำประเทศร่วมลงนามทั้งหมด 105 ประเทศ แต่กลับไม่พบรายชื่อประเทศไทยร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง กัมพูชา เมียนมา และลาว
โฆษณา