เริ่มจากภาพ Lady Macbeth Seizing the Daggers Henry Fuseli มาจากละครเรื่องแมคเมธ ตอนที่พระเอกของเรื่องหลังการกระทำฆาตกรรมกษัตริย์ อยู่ในสภาพตระหนกตัวซีดเผือดขาวโพลนท่ามกลางความมืด ยืนเกร็งพร้อมกับมือที่กำลังกำมีดเปื้อนเลือด โดยด้านขวามือคือภรรยาที่เป็นผู้ยุยงให้กระทำการดังกล่าวซึ่งมีลักษะร่างกายขาวใสราวกับผี แสดงการตกใจอย่างสุดขีดในบรรยากาศชวนสยอง
ภาพ Head of a Man ของ John Simpson เป็นนักแสดงผิวดำชื่อ Ira Aldridge (1807-1867) ซึ่งได้มาแสดงเป็นพระเอกละครในเรื่อง Othello ของเชคสเปียร์ ภาพนี้สำคัญตรงนี้เขาเป็นคนที่หล่อมาก และภาพก็แสดงความหล่อออกมาจากดวงตาที่มองบนอย่างแข็งแกร่ง คอเสื้อที่แบะออก และโทนสีพื้นน้ำตาลรองรับผิวดำแกร่งแบบลูกผู้ชาย
By John Everett Millais - -wGU6cT4JixtPA at Google Arts & Culture Tate Images (http://www.tate-images.com/results.asp?image=N01506&wwwflag=3&imagepos=2)
งานอีกชิ้นหนึ่งที่ผมโปรดปราน คือภาพความตายของโทมัสแชตเตอร์ตัน (The Death of Chatterton) ซึ่งเป็นกวีที่วางยาพิษตัวเองด้วยความสิ้นหวังเมื่ออายุสิบเจ็ดปี ภาพหนุ่มน้อยทรงสเน่ห์ที่ทอดกายระทวยบนเตียงราวกับจะตกลงมา แสดงอารมณ์แบบหนังเศร้าตอนจบจนคนดูต้องร้องไห้สงสาร (คู่กันกับภาพโอฟิลเลียเลย) กางเกงสีม่วงสดใสและเส้นผมสีแดง ยิ่งทำให้พ่อหนุ่มดูหล่อมี charactor อย่างพระเอก การตายของเขาจึงเป็นเรื่องโรแมนติคชวนให้เสียดาย ซึ่งในที่สุดแล้วเขาก็ได้เป็นพระเอกจริงๆเพราะหลังการตายได้มีคนนำเรื่องมาทำเป็นละครโด่งดัง
ภาพจาก wikicommons
อีกภาพที่แสนจะอบอุ่นละมุนละไมของเด็กสองคนในสวนในชุดยาวสีขาวท่ามกลางดอกกุหลาบ คาร์เนชั่น และดอกลิลลี่สีขาวสะพรั่งในสนามหญ้า กำลังหยิบถือโคมไฟกระดาษขาวกลมที่มีแสงสีส้มอยู่ภายใน ชื่อว่าภาพ John Singer Sargent , Carnation, Lily, Lily, Rose ภาพบรรยากาศของแสงยามเย็นบนเสื้อผ้าและดอกไม้ขาวเมื่อประกอบกับเด็กน้อยสองคนที่กำลังหยิบโคมไฟก็ยิ่งดูอ่อนโยนมากขึ้น จุดประกายด้วยแสงส้มในโคมก็ยิ่งดูอุ่นใจ
งานของ ฟรานซิส เบคอน
งานของศิลปินอีกคนที่เราชื่นชอบได้แก่ ฟรานซิสเบคอน ที่โปรดปรานมากก็เพราะงานของเขานั้นเครียดร้าวระทมสยอง โดยเฉพาะภาพ Figures at the Base of a Crucifixion - Three Creeks, Missouri เป็นรูปสัตว์ประหลาดคอยาวที่ดูพิกลพิการร่างกายบิดเบี้ยว อ้าปากที่มีฟันเรียงซี่ด้วยความเจ็บปวดทรมานสะใจจริงๆ งานของเบคอนชิ้นนี้ทำขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งสอง พ.ศ. 2488 จึงสะท้อนถึงความโหดร้ายของโลกในช่วงนั้น