Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คหสต.
•
ติดตาม
7 พ.ย. 2021 เวลา 10:35 • การศึกษา
ผมชอบที่จะตั้งคำถามที่ผมรู้คำตอบอยู่แล้วลงไปในช่อง Question ของบล็อคดิต เพราะผมอยากรู้ว่าถ้อยคำที่ผมได้อ่านมาจากหนังสือนั้นเป็นจริงแค่ไหน?
'บ้าน คือทรัพย์สินหรือหนี้สิน สำหรับคุณ?' หลังจากได้ฟังยอดแห่งหนังสือความรู้ด้านการเงินและแนวทางไปสู่อิสรภาพทางการเงินได้ อย่าง 'Rish dad Poor dad' หรือ 'พ่อรวยสอนลูก' เขียนโดยคุณโรเบิร์ต คิโยซากิ มันก็ทำให้ความคิดที่ผมมีต่อ 'บ้าน' นั้นเปลี่ยนไปตลอดกาล
'คนจนคิดว่าพวกเขาครอบครองหนี้สินโดยคิดว่ามันคือทรัพย์สิน' 'บ้านไม่ใช่ทรัพย์สิน' โอยผมงงไปหมดแล้ว ในหนังสือบอกว่า เมื่อคนหนุ่มสาวมีคู่และแต่งงาน พวกเขาก็จะย้ายจากอพาร์ตเมนต์ส่วนตัวไปซื้อบ้านอยู่ด้วยกันเพื่อสร้างครอบครัวที่อบอุ่น และในทัศนคติของเขา 'บ้าน' ก็คือทรัพย์สิน
ไม่นานเมื่อเขาทำงานและขอกู้ธนาคารเพื่อซื้อบ้าน ธนาคารก็บอกพวกเขาอีกว่า คุณไม่ต้องกังวลเพราะบ้านคือทรัพย์สิน แต่ความจริงบ้านเป็นหนี้สินต่างหาก เพราะคู่สามีภรรยาต้องจ่ายเงินให้มันทุกเดือน
งั้นธนาคารก็โหกสิ ไม่หรอกครับ พวกเขาแค่บอกคุณว่าบ้านคือ 'ทรัพย์สิน' แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นทรัพย์สินของธนาคาร
หลังจากที่ฟังผมยังคงทำหน้าเหมือนไก่ตาแตก ผมเลยลองตั้งคำถามนี้ลงในช่อง Question และมีหลายคนที่รู้ข้อเท็จจริงนี้อยู่แล้วและนั่นทำให้ผมยิ่งรู้สึกว่าเป็นไอ้งั่งที่เหมือนไม่รู้เรื่องนี้อยู่คนเดียว
แต่ไม่นานก็มีคำตอบอีกมากมายเด้งขึ้นมาและตอนนั้นผมก็อุทานว่า 'ข้ามีพวกแล้ว' แต่น่าเสียดายที่พวกเขายังเชื่ออย่างนั้น (หวังว่าพวกเขาจะได้อ่านบทความนี้นะ)
สำหรับผม ผมเห็นด้วยอย่างมากกับสิ่งที่พ่อรวยบอก "ทรัพย์สินคือสิ่งที่ทำให้เงินไหลเข้ากระเป๋า ส่วนหนี้สินคือสิ่งที่ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋า" และผมก็เริ่มจำแนกทุกอย่างที่ผมมีออกเป็น 2 ส่วน อะไรคือหนี้สินและอะไรคือทรัพย์สิน
ผมเล็งบ้านเป็นอันดับแรก เอาล่ะอย่างน้อยพ่อผมก็ไม่ได้กู้ธนาคารเพื่อสร้างบ้านหลังนี้แต่ ถ้าพูดถึงสิ่งที่ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋านั้น บ้านที่ไม่ได้เป็นของธนาคารก็ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋าพ่อผมทุกเดือนเช่นกัน ดังนั้นผมเลยจะขอแยกว่าบ้านเป็นหนี้สินที่จำเป็นแล้วกัน
โทรศัพท์ล่ะ เป็นทรัพย์สินหรือหนี้สิน ผมใช้เวลาคิดอยู่สักพัก ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงเป็นหนี้สินที่จำเป็นล่ะมั้งเพราะธุรกิจบางอย่างหรือแม้แต่ข่าวสารเราต้องใช้โทรศัพท์ในการสื่อสารอยู่ แต่ถ้าคุณเปลี่ยนเครื่องใหม่ทุกครั้งที่มีรุ่นใหม่ออกมา นั่นคงเป็นหนี้สินอย่างแท้จริง
และอีกหลายอย่างที่คลุมเครือที่จะเป็นทรัพย์สินและหนี้สิน ความคิดของผมแตกแขนงออกไปจากหนังสือ และก็ไม่ผิดเลยที่จะเป็นแบบนั้นเพราะมันทำให้ผมคิดมากขึ้นก่อนจะตัดสินใจซื้ออะไรเข้ามาในชีวิต
ของบางอย่างมีคุณสมบัติพิเศษที่ซ่อนอยู่ เช่นโทรศัพท์ไอโฟนที่เป็นที่นิยมสามารถถ่ายรูปถ่ายวิดีโอได้ชัดแจ๋ว และมีฟังชั่นอื่นๆมากมายที่เอื้อต่อการทำรายได้ ทั้งๆที่ตัวมันกึ่งเป็นหนี้สินอยู่กรายๆ
มันก็คงคล้ายๆกับการใช้หนี้(ธนาคาร)สร้างเงิน ผมว่าการจะตัดสินว่าอะไรคือหนี้สินหรืออะไรคือทรัพย์สินนั้น ขึ้นอยู่กับทัศนคติที่คุณมีต่อสิ่งนั้นๆด้วย ถ้าคุณมองแบบนี้ได้ ต่อก็จะมีแต่ว่า สิ่งนั้นๆจะทำกำไรหรือขาดทุนให้คุณในระยะเวลาความเสื่อมของสิ่งนั้น(ถ้ามันมีค่าเสื่อม)
ขอยกตัวอย่างเช่น วันนี้คุณกู้ธนาคารซื้อรถ (แย่ล่ะมันคือหนี้สิน แถมยังมีค่าเสื่อมอีก) แต่คุณต้องการทำกำไรจากมันโดยคุณเอารถไปขับรับจ้าง (รถทำให้เงินไหลเข้ากระเป๋า) แล้วคุณต้องขับรถกี่รอบต่อวัน เป็นเวลากี่ปี ถึงจะได้กำไรหลังจากผ่อนหนี้ธนาคารเรียบร้อย และมันก็กลายเป็นเรื่องของความคุ้มและไม่คุ้ม ที่คุณต้องตัดสินใจเลือก
คหสต.ของผมถ้าต้องซื้อโทรศัพท์ราคาเกือบครึ่งแสนแต่ใช้มันเหมือนโนเกีย ผมว่าซื้อแค่แอนดรอยราคาหลักพันก็ไม่ต่างครับ เพราะถ้าเทียบกันแล้วมันจะกลายเป็นหนี้สินที่ฟุ่ยเฟือยเปล่าๆ และมันก็ไม่มีทางทำให้คุณรวยได้ถ้ายังสะสมแต่หนี้สิน โดยที่ช่องทรัพย์สินนั้นยังคงว่างเปล่า
มีประโยคหนึ่งที่ผมต้องเขียนติดข้างฝาบ้านเก่าๆของผม จากหนังสือพ่อรวยสอนลูก ว่า
"คนจนมักซื้อความสบายก่อนเพราะเขาคิดว่ามันจะทำให้เขาดูรวย พวกเขาก็ดูรวยจริงๆนั่นแหละแต่ความจริงเขาต้องแลกสิ่งของพวกนั้นด้วยหยาดเหงื่อจากการทำงาน จงจำไว้ว่าคนรวยนั้นซื้อทรัพย์สินก่อนและค่อยซื้อความหรูหราทีหลังและพวกเขาก็ไม่ต้องเหนื่อยขนาดนั้นเพราะทรัพย์สินเป็นคนจ่ายค่าความหรูหราให้"
ถ้าผมมีความคิดที่ไม่ถูกต้องก็สามารถแนะนำผมได้นะครับ แต่อย่างน้อยผมก็น่าจะพอคิดถูกทางเรื่องการคิดก่อนซื้อหรือการตัดสินใจเป็นหนี้ให้กับสิ่งที่คุ้มค่าล่ะนะครับ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย