9 พ.ย. 2021 เวลา 07:44 • ประวัติศาสตร์
*** ความเสื่อม (?) ของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น ***
1
เวลาพูดถึง “พุทธศาสนา” ภาพที่ทุกคนคิดถึงอย่างแรก อาจเป็น วัดที่สวยงาม และพระสงฆ์ที่สงบสำรวม ...หากผิดจากนี้ก็จะถือว่าผิดใช่หรือเปล่า?
ในบทความนี้ ผมจะเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ซึ่ง เป็นประเทศที่มีทั้งพระเล่นดนตรี พระเปิดร้านเหล้า พระสอนแต่งหน้า …และยังมีอะไรมากกว่านั้นอีกมาก ...เราจะตีความว่าสิ่งนี้หมายถึงความเสื่อมของศาสนาพุทธได้หรือไม่? ก่อนจะตัดสินเช่นนั้น ผมอย่างให้ทุกคนได้ลองอ่านแล้วพิจารณาไปด้วยกัน
***จุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น ***
ศาสนาพุทธเข้ามาในญี่ปุ่นยุคอาซูกะ (ค.ศ. 538 - 710) โดยการรับวัฒนธรรมผ่านจีนและเกาหลี แต่นั้นเป็นต้นมาศาสนาพุทธกับลัทธิขงจื๊อก็เริ่มมีอิทธิพลแทนศาสนาชินโต ซึ่งเป็นลัทธินับถือวิญญาณตามธรรมชาติแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น (เทียบได้กับศาสนาผีของไทย)
ภาพแนบ: วัดโทไดจิที่มีไดบุทสึหรือหลวงพ่อ...
ศาสนาพุทธรุ่งเรืองในญี่ปุ่นเป็นอันมาก โดยเฉพาะในยุคนารา (ค.ศ. 710 - 794) นั้นญี่ปุ่นเกิดทุพภิกขภัย ทั้งไฟป่า ภัยแล้ง ภัยอดอยาก โรคระบาด ฯลฯ จนมีผู้เสียชีวิตมากมาย จักรพรรดิเลยหันหน้าเข้าสู่ทางธรรม สนับสนุนพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
กระนั้นเองชินโตก็ไม่เคยหายไปไหน ผสมกลมกลืนกับศาสนาพุทธจนแยกไม่ออก เช่นเดียวกับไทยที่แม้จะมีพุทธศาสนาเข้ามาหลายร้อยปี ประเทศเราก็ยังนับถือผี มีคนไหว้ศาลพระภูมิ ต้นไม้ และเจ้าป่าเจ้าเขาอยู่เสมอ
*** ความเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิรูปเมจิ ***
หลังญี่ปุ่นต้องเผชิญวิกฤต “กองเรือสีดำ” ที่มีเรือรบจากอเมริกาที่มาบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในปี 1854 ทำให้ชาวญี่ปุ่นตระหนักว่าหากไม่พัฒนาประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมฝรั่งก็จะไม่รอด
สิ่งนี้นำสู่ซีรีย์ของเหตุการณ์ที่พัฒนาจนกลายเป็นการ “ปฏิรูปเมจิ” ที่เริ่มในปี 1868 มีการล้มระบบโชกุน คืนอำนาจให้จักรพรรดิ และมีการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยขึ้นในทุกๆ ด้าน (โชกุนหรือผู้นำทางทหารมีอำนาจเหนือจักรพรรดิมาก่อนหน้านั้นนานหลายร้อยปี จักรพรรดิจะประมาณสัญลักษณ์เฉยๆ)
1
ถึงญี่ปุ่นจะรับเอาความเป็นฝรั่งเข้ามา แต่ก็ยังมีความชาตินิยมสูง ดังนั้นวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นจึงไม่ได้ถูกล้างขนาดหนักเท่าการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน
...แต่มีประเด็นคือ แต่ก่อนตอนโชกุนมีอำนาจ วงการสงฆ์นั้นใกล้ชิดกับโชกุนมาก พอระบบเก่าโดนล้างกระดานแล้ว รัฐเลยต้องหาวิธีลดความสำคัญของศาสนาพุทธลง แล้วผลักดันชินโตเดี่ยวๆ ขึ้นมาเสีย! เพราะอย่างไรจักรพรรดิญี่ปุ่นก็มีความชอบธรรมจากการเป็นผู้สืบสายเลือดเทพเจ้าชินโต!
1
ภาพแนบ: การเผาทำลายของที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ
แต่อย่างที่ผมบอกไปตอนต้น พุทธกับชินโตมันผสมกลมกลืนกันมานับพันปีแล้ว วัดทั่วไปก็มีทั้งเทพชินโต (คามิ) กับพระพุทธเจ้าตั้งบูชาอยู่ด้วยกัน (เหมือนวัดไทยที่มีทั้งพระพุทธรูป นางตะเคียน พระราหู) การจะแยกออกย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย
ถึงรัฐจะสั่งปิดวัด, ทำลายพุทธศิลป, เผาตำรา, บังคับสึกพระ ไม่ก็บังคับให้เปลี่ยนมาเป็นนักบวชชินโตแทน แต่ศาสนาพุทธก็ยังมีคนยังศรัทธาอยู่มาก
จวบจนปี 1872 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงประกาศนโยบายใหม่อนุญาตให้พระแต่งงานได้ กินเนื้อได้ กินเหล้าได้ จะแต่งตัวยังไงก็ได้ ...เชื่อกันว่าเพราะต้องการให้พระสงฆ์มีธรรมวินัยหย่อนยานลง เพื่อเป็นการบ่อนทำลาย และลดสถานะภิกษุจากนักบวชผู้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธมาเป็นเพียงอาชีพๆ หนึ่ง…
แต่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น “เสื่อมลง” เพราะเรื่องนี้จริงหรือ?
ภาพแนบ: เบงเคในประวัติศาสตร์
*** ภิกษุในญี่ปุ่น ***
ต้องเล่าย้อนก่อนว่า ก่อนหน้านี้พระญี่ปุ่นค่อนข้างมีหลากหลายนิกาย ซึ่งแต่ละสายก็มีข้อกำหนดแตกต่างกันไป… (พุทธญี่ปุ่นมักเป็นนิกายมหายาน ข้อกำหนดมีได้หลากหลายกว่าเถรวาท มักเป็นตามอาจารย์สำนักนั้นๆ สอน)
ยกตัวอย่างเช่นในยุคเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1185) ซึ่งเป็นยุคที่มีการศึกจากความขัดแย้งบ่อยครั้งจนลามมาถึงวงการสงฆ์ พระญี่ปุ่นก็มีการฝึกวิชาการต่อสู้เพื่อป้องกันตัว จนกลายเป็นพระนักรบ เรียกว่า โชเฮย์ (僧兵) โดยนิยมใช้หอกโง้งเป็นอาวุธ ...พระนักรบที่ดังๆ ที่หลายคนอาจเคยเห็นในการ์ตูน ก็คือ “เบงเค” ซึ่งยืนปกป้องเจ้านายจนตัวตายอย่างไรล่ะครับ
ภาพแนบ: ชิโกะ
หรือช่วงยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1185 - 1333) ก็มีพระชินรัน ก่อตั้งพุทธนิกายโจโด (浄土真宗) ซึ่งยอมรับการแต่งงาน เพราะคำสอนของท่านคือ แค่เชื่อในพระพุทธเจ้าก็เพียงพอให้บรรลุธรรม
ต่อมาสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1868) หรือช่วงปี พระส่วนหนึ่งนิยมมี “ลูกศิษย์” (ชิโกะ 稚児) ประจำกาย ซึ่งนอกจากจะมาเรียนวิชาแล้ว ยังคอยบริการทุกอย่างรวมถึงเรื่องทางเพศด้วย
ภาพแนบ: พระกับลูกสวาท
กรณีนี้คล้ายกับ “ลูกสวาท” ในไทย ช่วงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่บางกลุ่ม นิยมเลี้ยงเด็กผู้ชายโดยให้แต่งตัวดี แล้วให้เด็กเหล่านี้มีหน้าที่ปรนนิบัติทางเพศ ซึ่งบางครั้งเหล่าเถระถึงกับใช้กำลังช่วงชิงลูกสวาทกันก็มี
(อัพเดทอ่านเพิ่มที่ https://www.blockdit.com/posts/602b3e999b29750bcfea6bd0)
1
พูดง่ายๆ ว่า ถ้าว่าตามบัญญัติดั้งเดิมแล้ววงการสงฆ์ญี่ปุ่นผ่านเหตุ “อาบัติ” มาแล้วหลายรอบ แต่ศาสนาก็ยังคงอยู่ กระทั่งในปี 1873 รัฐเองต้องเป็นฝ่ายยอมรับว่านโยบายกดพุทธชูชินโตไม่ได้ผล อย่างมากที่สุดคือผลักดันให้ชินโตขึ้นมาเป็นศาสนาประจำชาติได้ เป็นที่รับรู้ของสังคม หลังอยู่ใต้เงาพุทธมานาน
...อย่างไรก็ตาม จนปัจจุบันแนวปฏิบัติที่ว่า “พระทำอะไรก็ได้” นี้ยังคงอยู่…
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับการเสื่อมถอยของศาสนาทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พุทธศาสนาในญี่ปุ่นจึงพัฒนาไปอย่างมีเอกลักษณ์ที่สุด
*** พระ 5.0 ***
ตามที่บอกไปว่าวงการสงฆ์ญี่ปุ่นได้ปริวรรตไปมาก พระสงฆ์กลายเป็นเสมือนอาชีพหนึ่ง เช้าก็ทำวัตรพระสวดมนต์ ช่วยประชาชนทำพิธีทางศาสนาต่างๆ พอตกเย็นวัดปิดแล้วจะเปลี่ยนชุดออกไปทำอะไรก็ได้ ที่ทำอาชีพเสริมอื่นๆ ก็มี
วัดเองก็เหมือนบริษัท ใครมาเป็นพระก็มีเงินเดือนให้ แต่ส่วนมากตำแหน่งเจ้าอาวาสยังสืบทอดกันในครอบครัว พระสามารถแต่งงานมีลูกและมักคาดหวังให้ลูกชายคนโตสืบทอดเป็นพระต่อ (ว่าไปก็เหมือนกงสีจีนหน่อยๆ)
เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในโลกปัจจุบัน หลายๆ ที่ก็ต้องคิดวิธีแปลกใหม่เรียกลูกค้ามาใช้บริการ ดังนั้นพระญี่ปุ่นบางส่วนเลยลุกขึ้นมาทำอะไรหลายๆ อย่างที่กระทรวงวัฒนธรรมบางประเทศมาเห็นคงต้องเครียด ตัวอย่างดังต่อไปนี้...
ภาพแนบ: พระคันโฮ
พระเล่นดนตรี - ในปี 2018 ที่วัดอิมาจิ จังหวัดเอฮิเมะ (เป็นจังหวัดในเกาะชิโกกุ) มีเจ้าอาวาสหนุ่มหน้าตาดีนาม “คันโฮ ยาคุชิจิ” ซึ่งเคยเป็นนักดนตรีมาก่อน เล็งเห็นว่า ถึงคำสอนศาสนาเป็นสิ่งที่ดี แต่คนทั่วไปเข้าใจได้ยาก เลยเอาบทสวดมาแต่งเป็นเพลงธรรมะฉบับอคูสติก แล้วเล่นกีตาร์ประกอบเอง
ตอนแรกท่านก็กลัวจะมีดราม่าอยู่เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ออกมาดีเกินคาด ในยูทูป Japanese Zen Music - Kanho Yakushiji มีคนตามท่านเป็นแสน และหลายคลิปมีคนรับชมหลักล้าน นอกจากนี้ท่านเองยังดังไกลถึงต่างประเทศ แม้กระทั่งจีนยังเชิญท่านไปเล่นคอนเสิร์ต...จนถึงปี 2021 ท่านออกอัลบั้มมาแล้ว 9 อัลบั้มด้วยกัน (หาฟังได้ในบริการสตรีมมิ่งนะครับ)
ภาพแนบ: ทางเข้า Vowz Bar
พระเปิดบาร์ - ตามที่เรียนไป พระญี่ปุ่นดื่มแอลกอฮอล์ได้ ดังนั้นแล้วพระบางท่านจึงผุดไอเดียเปิดร้านเหล้าเองเสียเลย แต่แน่นอนว่าเป็นนักบวชทั้งที จะเป็นบาร์ไก่กาอาราเล่ก็ไม่ได้ เลยต้องย่อมมีธีมศาสนาเข้าไปด้วย!
ในย่านชินจูกุ หรือแหล่งธุรกิจอันพลุกพล่านของโตเกียว มีร้านเหล้าเล็กๆ ตั้งอยู่ชื่อ Vowz Bar (อ่านแบบสำเนียงญี่ปุ่นว่า “โวซึ บาร์” เป็นการเล่นคำกับ โบซึ 坊主 ที่แปลว่าพระสงฆ์)
ภาพแนบ: พระบาร์เทนเดอร์
ดูเผินๆ ก็เหมือนร้านเหล้าสไตล์ญี่ปุ่นทั่วๆ ไป แต่เมื่อลองสังเกตให้ดี จะพบว่าของประดับร้านนั้นล้วนเป็นพุทธศิลป เช่น พระพุทธรูปน้อยใหญ่ตรงเคาเคอร์ ผ้ายันต์ที่ข้างฝา ภาพเขียนลายดอกบัวบนกำแพง ฯลฯ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ… บาร์เทนเดอร์เป็นพระสงฆ์ที่สวมจีวรเต็มยศ!
นอกจากการเสิร์ฟเครื่องดื่มยังมีธีมจากเรื่องเล่าทางพุทธศาสนา พร้อมกับแกล้มมังสวิรัติแบบอาหารพระ ในร้านเหล้านี้ยังมีการเทศนา, พาคอเหล้าสวดมนต์ทำวัตร, และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สนทนาธรรมหรือปัญหาชีวิตกับพระสงฆ์อีกด้วย ...ถือเป็นการนำศาสนาไปให้ใกล้ชิดกับกลุ่มคนที่น่าจะห่างไกลศาสนาที่สุด
1
ภาพแนบ: พระนิชิมุระ
พระสอนแต่งหน้า - โคโด นิชิมุระ เป็นช่างแต่งหน้าระดับต้นๆ ของญี่ปุ่น เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนศิลปะชื่อดังในนิวยอร์ก และเป็นเกย์
...อย่างไรก็ตามนิชิมุระเกิดในครอบครัวพระ ซึ่งหมายความว่าเขาก็ต้องบวชเช่นกัน
ตอนแรกชายหนุ่มก็ยังลังเล แต่ก็ตัดสินใจมุ่งสู่ทางธรรมเมื่อพระอาจารย์ท่านหนึ่งได้บอกกับเขาว่า “ทุกคนมีเสรีภาพเท่ากันทั้งนั้นแหละโยม… พุทธศาสนาคือการยอมรับ ...ศาสนามิได้กีดกันคนเพราะเพศสภาพ, สีผิว, สัญชาติ หรือความสมบูรณ์ของร่างกาย”
หลังสำเร็จการศึกษาเป็นพระในปี 2015 พระนิชิมุระได้สนับสนุนพุทธศาสนาควบคู่ไปกับความสวยงาม คือเป็นทั้งพระและช่างแต่งหน้า
ท่านเห็นว่าแม้ทั้งสองศาสตร์จะเหมือนอยู่กันคนละโลก แต่แท้จริงแล้วมีแก่นเดียวกัน คือต้องการทำให้คนเกิดความสบายใจ มีความมั่นใจในตัวเองทั้งภายนอกและภายใน
จนถึงตอนนี้ พระนิชิมุระได้เสวนาประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศและศาสนา โดยหวังว่าสักวันรัฐจะเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ให้มีการป้องกันกลุ่ม LGBTQ จากการโดนเหยียดมากขึ้น โดยท่านถือว่าตนมีภารกิจที่จะเผยแพร่คำสอนเรื่องความเท่าเทียมตามหลักศาสนาพุทธนั่นเอง
...จึงเป็นคำถามแก่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ท่านคิดว่าเหล่าพระญี่ปุ่นที่ยกตัวอย่างมานี้ ทำให้ศาสนาเสื่อมลงหรือเปล่าครับ?...
*** ตัดเข้าช่วงโฆษณา ***
เรียนทุกท่าน ผมมีโครงการจะจัดทัวร์ “โลหิตอิสราเอล” ตอนสิ้นปีนี้ จึงมารวบรวมผู้สนใจก่อน โดยทัวร์นี้มุ่งหมายจะเข้าร่วมการฉลองคริสต์มาสที่เมืองเบธเลเฮมหรือเมืองเกิดพระเยซูเป็นสำคัญ โดยงานคริสต์มาสในเบธเลเฮมนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่คนทั้งโลกรอคอย ชาวคริสต์มักไปสักการะเพราะเชื่อว่าศักดิ์สิทธิมาก คนที่นับถือศาสนาอื่นก็ไปชื่นชมบรรยากาศ
1
ในทัวร์นี้ จะเน้นเที่ยวสถานที่ต่างๆ ในปาเลสไตน์ ซึ่งมีความน่าสนใจและทัวร์อื่นๆ ไม่ค่อยจัดกัน อาทิเช่น:
1
1. เมืองเฮบรอน ซึ่งเคยเป็นสถานที่อยู่ของอับราฮัมเป็นบรรพบุรุษตามตำนานของชาวยิว, ชาวอาหรับ และเป็นที่มาของชื่อศาสนาตระกูลอับราฮัมมิก (ยิว, คริสต์, อิสลาม) มีถ้ำสำคัญซึ่งเป็นหลุมศพของบุคคลสำคัญในศาสนาได้แก่ อับราฮัม อิสอัค และยาโคป เมืองนี้เป็นถิ่นฐานของชาวอาหรับ แต่มีชาวยิวมาพำนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีชาวยิวราว 800 คน ได้รับการคุ้มกันจากทหารอิสราเอลราว 2,000 นาย
2. เมืองนาบลุส ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมของปาเลสไตน์ ต้นกำเนิดสบู่นาบลุส สบู่นี้เป็นสบู่แบบแรกๆ ของโลกผลิตจากน้ำมันมะกอก (อุตสาหกรรมผลิตสบู่นี้มีอายุเก่าแก่โบราณ มีชื่อเสียงเคียงคู่กับสบู่อเลปโปของซีเรีย) นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนที่ชื่อว่า “ชาวสะมาริตัน” ผู้เชื่อว่าตัวเองเป็นชาวยิวที่แท้จริง มีวัตรพิเศษและปัจจุบันมีจำนวนประชากรเพียงราว 820
1
การไปเยือนครั้งนี้จะเน้นการสัมผัสชีวิตและความคิดคนท้องถิ่น เพื่อให้ได้เห็นมุมมองของทั้งฝั่งอาหรับ และฝั่งยิว จะพยายามเยือนชุมชนของกลุ่มชนพิเศษ เช่นชาวปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัย หรือชาวยิวฮาเรดิ (ยิวเคร่งศาสนาที่มีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมมาก อ่านเพิ่มเติมจากบทความ “ยิวที่ต่อต้านอิสราเอล” ของผมในกลุ่ม illumicorgi)
3
จะเป็นทัวร์ที่เน้นเจาะลึกทั้งเรื่องศาสนา และสงคราม โดยนอกจากเก็บสถานที่สำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่นมัสยิดอัลอักศอ, กำแพงร้องไห้, หรือพิพิธภัณฑ์อิสราเอล (ที่เก็บม้วนหนังสือเดดซี) เหมือนที่จะต้องมีในโปรแกรมมาตรฐานแล้ว ก็จะไปเยือนดินแดนเช่นที่ราบสูงโกลัน, พรมแดนฉนวนกาซา, หรือองค์กรไซออนนิสต์ ซึ่งเป็นจุดที่มีส่วนสำคัญต่อความขัดแย้งเป็นอย่างยิ่งมาก่อน
อย่างไรก็ตามเวลาในการจัดค่อนข้างกระชั้น ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลให้อิสราเอลเพิ่งจะกลับมาเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาและบริษัทท่องเที่ยวต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงปรับตัวหลังประสบวิกฤตซบเซามาเป็นเวลานาน ทำให้ต้องใช้เวลาติดต่อและวางแผนมากเป็นพิเศษ ผมเกรงว่าหากรอให้ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วมาแจ้งข่าวจะไม่ทันการ เนื่องจากยังมีขั้นตอนการทำวีซ่าท่องเที่ยว และวัคซีนพาสปอร์ตที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน
จึงอยากรบกวนท่านที่สนใจให้ลงชื่อไว้ก่อนโดยติดต่อมาที่ inbox ของเพจ m.me/pongsorn.phumiwat แจ้งว่า “สนใจทัวร์โลหิตอิสราเอล” ผมจะพาเข้าไลน์สำหรับอัพเดทข่าวสาร โดยทัวร์นี้จะมีระยะเวลาทั้งหมด 11 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 21 (ออกช่วงเย็น) กลับถึงไทยวันที่ 2 ม.ค. ราคาจะอยู่ราว 80,000 - 100,000 บาท โดยราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ผมจะพยายามหาตัวเลือกการทำราคาที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน
นอกจากนี้ขอให้ทุกท่านที่สนใจ มั่นใจว่าได้ฉีดวัคซีนเข็มที่สอง (วัคซีนได้หมดทุกยี่ห้อเว้นแต่สปุตนิก) มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันเดินทาง ให้จัดเตรียมวัคซีนพาสปอร์ตซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้สำหรับการยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยว (http://vacn.ddc.moph.go.th/) ซึ่งเอกสารชิ้นนี้จำเป็นต่อการเดินทางไปต่างประเทศ ต่อให้ทำแล้วไม่ได้ไปด้วยกัน ก็ยังคงใช้ได้ในการไปเที่ยวที่อื่นนั่นเอง
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ อยากกล่าวว่าทัวร์ครั้งนี้ก็เหมือนทัวร์อื่นๆ ที่ผมจัด คือเน้นสร้าง impact เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับตนเอง ซึ่งผมดูแล้วรอบนี้น่าจะมี impact ไม่แพ้รอบที่ไปเคอร์ดิสถานอิรักเลย
ภาพแนบ: เซนโตคุง มาสคอตเมืองนารา เป็นพระพุทธเจ้ามีเขากวาง
*** พุทธคัลเจอร์ ***
วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่นที่เราไม่อาจมองข้าม คือการนำทุกอย่าง (เน้นว่าทุกอย่าง) ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ ไปแปลงหรือนำเสนอผ่านวัฒนธรรมร่วมสมัย (ป๊อปคัลเจอร์) แบบล้ำๆ ที่เรามักเห็นตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกม, อนิเมะ, การ์ตูนเล่ม, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
...และแน่นอนว่าพุทธศาสนาเองก็ไม่อาจรอด...
ภาพแนบ: สองศาสดาถ่ายเซลฟี
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการ์ตูนเรื่อง Saint Young Men (聖☆おにいさん)ของนากามุระ ฮิคารุ ซึ่งเขียนเรื่องราวของพระพุทธเจ้ากับพระเยซูมาใช้ชีวิตแบบชิลล์ๆ โดยแรกสุดออกมาเป็นการ์ตูนเล่ม ก่อนจะฮิตจนนำมาสร้างเป็นอนิเมะและละครซีรีย์ในที่สุดร
Saint Yong Men นำตำนานและคำสอนของศาสนาพุทธและคริสต์มาใช้ดำเนินเรื่องแบบตลกโปกฮา มองทางหนึ่งก็จะดูเหมือนลบหลู่ แต่หากการนำบันทึกของสองศาสนามาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวแบบสอดแทรกอารมณ์ขันนั้น อาจมองว่าทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีความสนใจที่จะศึกษาศาสนาต่อไปได้เหมือนกัน
1
ภาพแนบ: พระเปปเปอร์
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ การอุบัติขึ้นของ “พระหุ่นยนต์”
เนื่องจากประชากรในญี่ปุ่นลดจำนวนลงมาก จนต้องมีหุ่นยนต์เข้ามาทำหน้าที่แทนในหลายๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหรือบริการในบ้าน
วงการพุทธศาสนาเองก็ขาดแคลนพระสงฆ์ จนบริษัทซอฟต์แบงค์และผู้ผลิตซอฟต์แวร์ นิสเซ เอโค ได้ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์พระ (พัฒนาจากหุ่นยนต์ปกติชื่อว่า “เปปเปอร์” แล้วเอามาบวชให้กลายเป็นพระสงฆ์)
การจ้างพระเปปเปอร์ไปสวดศพ เสียเงินแค่ 50,000 เยน (ราว 15,000 บาท) ต่องาน ขณะที่พระมนุษย์จะเสียเงินถึง 240,000 เยน (ราวๆ 70,000 บาท) ต่องาน ถ้าไม่ซีเรียสเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ก็ถือว่าลดค่าใช้จ่ายลงไปมาก แถมพระเปเปอร์ยังสามารถถ่ายทอดสดงานให้ญาติมิตรที่ไม่สามารถมาร่วมให้รับชมไปพร้อมๆ กันได้ด้วย
...ถึงการสวดของพระเปเปอร์จะยังเป็นเสียงหุ่นยนต์โมโนโทนซึ่งอาจจะฟังดูหลอนๆ และ แต่เมื่อแก่พรรษา (ถูกอัพเกรด) มากขึ้น คงได้เห็นมีความพระสมจริงขึ้น
ภาพแนบ: มินตรา
วงการพุทธเองก็รู้ข้อจำกัดนี้ดี ในปี 2019 วัดโคดาจิจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า สร้างหุ่นยนต์ “มินตรา” ขึ้น โดยมีต้นแบบใบหน้าท่าทางจากพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่ร่างกายเป็นโครงเหล็กอัลลูมิเนียมเปล่าๆ ดูไม่ระบุเพศชัดแจ้ง
ในระยะเริ่มต้นหุ่นมินตราสามารถสวดปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรชื่อดังในพุทธมหายานได้ยาวนาน 25 นาที
พระเทนโช โกโตะ เจ้าอาวาสวัดโคดาจิให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ท่านเห็นพระพุทธรูปมากมายทำได้เพียงนั่งหรือนอนเฉยๆ เลยต้องการสร้างรูปเคารพที่สามารถโต้ตอบกับศาสนิกชนได้ เพราะน่าจะทำให้คนรู้สึกใกล้ชิดกับศาสนามากขึ้น
นอกจากนี้ท่านยังบอกว่าพระสงฆ์นั้นสักวันก็ต้องมรณภาพไป แต่ถ้าหากเป็นหุ่นยนต์ จะสามารถอยู่ไปได้เรื่อยๆ และเก็บความรู้ไว้ได้ไม่มีวันจบ
“ศาสนาพุทธไม่ได้เชื่อในพระเจ้า แต่เชื่อในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า… ไม่สำคัญหรอกว่าจะนำเสนอผ่านเครื่องจักร, เศษเหล็ก หรือต้นไม้” พระเทนโชกล่าว
2
...ท่านผู้อ่านคิดว่า การนำพุทธศาสนาไปไว้ในสื่อร่วมสมัยเช่นนี้ ทำให้ศาสนาเสื่อมลงหรือเปล่าครับ?...
*** สรุป: พุทธญี่ปุ่นเสื่อมหรือปรับตัว? ***
ปัจจุบันมีกระแสสังคมที่พยายามผลักดันให้ผู้คนยอมรับความแตกต่างหลากหลาย และต้องการให้ผู้คนมีความเท่าเทียมกัน รวมทั้งการมุ่งให้ “ศาสนา” ใดๆ ก็ตามไม่ได้รับการเลือกปฏิบัติเป็นพิเศษ
1
กระแสนี้เกิดขึ้นและแผ่ขยายไปทั่วโลก ไม่ได้เกิดเฉพาะในญี่ปุ่น นับเป็นปรากฏการณ์หนึ่ง เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ผ่านมา...
เอาจริงแล้วคนญี่ปุ่นก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการปริวรรตเหล่านี้ไปทั้งหมด พวกเคร่งๆ จำนวนไม่น้อยได้ออกมาต่อว่า “พระทุศีล” เหล่านี้
ในมุมหนึ่งมองได้ว่าศาสนาพุทธญี่ปุ่นเสื่อมลง เพราะการทำอะไรนอกรีตนอกรอย ในที่สุดก็อาจทำให้ศาสนาผิดเพี้ยน ผู้คนเสียศรัทธา...
อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง ศาสนาพุทธก็สามารถเข้าถึงคนหมู่มากและหลากหลาย เรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่สามารถนำมาพูดได้ง่าย ผู้คนสัมผัสศาสนาเพื่อความสบายใจ
ในไทยตอนนี้เองก็มีการถกเถียงเรื่องที่ใกล้เคียงกันอยู่ ซึ่งมองได้ว่าเป็นความเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น
1
แล้วคุณล่ะคิดว่าอนาคตของศาสนาพุทธควรจะก้าวไปทางใดครับ?
ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวแปลกๆ จากรอบโลกสามารถสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
1
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
ขอเรียนทุกท่านอีกครั้งนะครับ ผมมีโครงการจะจัดทัวร์ “โลหิตอิสราเอล” ตอนสิ้นปีนี้ จึงมารวบรวมผู้สนใจก่อน โดยทัวร์นี้มุ่งหมายจะเข้าร่วมการฉลองคริสต์มาสที่เมืองเบธเลเฮมหรือเมืองเกิดพระเยซูเป็นสำคัญ โดยงานคริสต์มาสในเบธเลเฮมนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่คนทั้งโลกรอคอย ชาวคริสต์มักไปสักการะเพราะเชื่อว่าศักดิ์สิทธิมาก คนที่นับถือศาสนาอื่นก็ไปชื่นชมบรรยากาศ
ในทัวร์นี้ จะเน้นเที่ยวสถานที่ต่างๆ ในปาเลสไตน์ ซึ่งมีความน่าสนใจและทัวร์อื่นๆ ไม่ค่อยจัดกัน อาทิเช่น:
1. เมืองเฮบรอน ซึ่งเคยเป็นสถานที่อยู่ของอับราฮัมเป็นบรรพบุรุษตามตำนานของชาวยิว, ชาวอาหรับ และเป็นที่มาของชื่อศาสนาตระกูลอับราฮัมมิก (ยิว, คริสต์, อิสลาม) มีถ้ำสำคัญซึ่งเป็นหลุมศพของบุคคลสำคัญในศาสนาได้แก่ อับราฮัม อิสอัค และยาโคป เมืองนี้เป็นถิ่นฐานของชาวอาหรับ แต่มีชาวยิวมาพำนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีชาวยิวราว 800 คน ได้รับการคุ้มกันจากทหารอิสราเอลราว 2,000 นาย
2. เมืองนาบลุส ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมของปาเลสไตน์ ต้นกำเนิดสบู่นาบลุส สบู่นี้เป็นสบู่แบบแรกๆ ของโลกผลิตจากน้ำมันมะกอก (อุตสาหกรรมผลิตสบู่นี้มีอายุเก่าแก่โบราณ มีชื่อเสียงเคียงคู่กับสบู่อเลปโปของซีเรีย) นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนที่ชื่อว่า “ชาวสะมาริตัน” ผู้เชื่อว่าตัวเองเป็นชาวยิวที่แท้จริง มีวัตรพิเศษและปัจจุบันมีจำนวนประชากรเพียงราว 820
การไปเยือนครั้งนี้จะเน้นการสัมผัสชีวิตและความคิดคนท้องถิ่น เพื่อให้ได้เห็นมุมมองของทั้งฝั่งอาหรับ และฝั่งยิว จะพยายามเยือนชุมชนของกลุ่มชนพิเศษ เช่นชาวปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัย หรือชาวยิวฮาเรดิ (ยิวเคร่งศาสนาที่มีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมมาก อ่านเพิ่มเติมจากบทความ “ยิวที่ต่อต้านอิสราเอล” ของผมในกลุ่ม illumicorgi)
จะเป็นทัวร์ที่เน้นเจาะลึกทั้งเรื่องศาสนา และสงคราม โดยนอกจากเก็บสถานที่สำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่นมัสยิดอัลอักศอ, กำแพงร้องไห้, หรือพิพิธภัณฑ์อิสราเอล (ที่เก็บม้วนหนังสือเดดซี) เหมือนที่จะต้องมีในโปรแกรมมาตรฐานแล้ว ก็จะไปเยือนดินแดนเช่นที่ราบสูงโกลัน, พรมแดนฉนวนกาซา, หรือองค์กรไซออนนิสต์ ซึ่งเป็นจุดที่มีส่วนสำคัญต่อความขัดแย้งเป็นอย่างยิ่งมาก่อน
อย่างไรก็ตามเวลาในการจัดค่อนข้างกระชั้น ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลให้อิสราเอลเพิ่งจะกลับมาเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาและบริษัทท่องเที่ยวต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงปรับตัวหลังประสบวิกฤตซบเซามาเป็นเวลานาน ทำให้ต้องใช้เวลาติดต่อและวางแผนมากเป็นพิเศษ ผมเกรงว่าหากรอให้ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วมาแจ้งข่าวจะไม่ทันการ เนื่องจากยังมีขั้นตอนการทำวีซ่าท่องเที่ยว และวัคซีนพาสปอร์ตที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน
จึงอยากรบกวนท่านที่สนใจให้ลงชื่อไว้ก่อนโดยติดต่อมาที่ inbox ของเพจ m.me/pongsorn.phumiwat แจ้งว่า “สนใจทัวร์โลหิตอิสราเอล” ผมจะพาเข้าไลน์สำหรับอัพเดทข่าวสาร โดยทัวร์นี้จะมีระยะเวลาทั้งหมด 11 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 21 (ออกช่วงเย็น) กลับถึงไทยวันที่ 2 ม.ค. ราคาจะอยู่ราว 80,000 - 100,000 บาท โดยราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ผมจะพยายามหาตัวเลือกการทำราคาที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน
นอกจากนี้ขอให้ทุกท่านที่สนใจ มั่นใจว่าได้ฉีดวัคซีนเข็มที่สอง (วัคซีนได้หมดทุกยี่ห้อเว้นแต่สปุตนิก) มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันเดินทาง ให้จัดเตรียมวัคซีนพาสปอร์ตซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้สำหรับการยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยว (http://vacn.ddc.moph.go.th/) ซึ่งเอกสารชิ้นนี้จำเป็นต่อการเดินทางไปต่างประเทศ ต่อให้ทำแล้วไม่ได้ไปด้วยกัน ก็ยังคงใช้ได้ในการไปเที่ยวที่อื่นนั่นเอง
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ อยากกล่าวว่าทัวร์ครั้งนี้ก็เหมือนทัวร์อื่นๆ ที่ผมจัด คือเน้นสร้าง impact เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับตนเอง ซึ่งผมดูแล้วรอบนี้น่าจะมี impact ไม่แพ้รอบที่ไปเคอร์ดิสถานอิรักเลย
::: ::: :::
ประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา