10 พ.ย. 2021 เวลา 10:59 • ปรัชญา
ผมขอเล่าเชิงเปรียบเทียบกับประสบการณ์จริงตามนี้ครับ
1) ผมเคยชมคลิปหนึ่งบน Youtube ที่เกี่ยวข้องกับ DIKW pyramid โดยฐานล่างสุดคือ data นั่นคือข้อมูลดิบ เมื่อเรานำ data มาหาความหมายหรือ meaning โดยใช้ปริบทหรือ context เราก็จะได้ information ซึ่งก็คือข้อมูลที่เริ่มมีทิศทาง ต่อมาเมื่อเรามีประสบการณ์ หรือ experience เราก็จะมีความรู้ หรือ knowledge และเมื่อเรานำเอาความรู้ไปใช้โดยการลงมือทำหรือ action ในที่สุดเราจะได้ปัญญาหรือ wisdom
2) ยกตัวอย่างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผม คือก่อนออกรถผมจะตั้งตัวจับระยะทางในรถให้เป็นศูนย์เพื่อตรวจดูว่าผมขับรถออกจากบ้านแต่ละครั้งเป็นระยะทางเท่าไหร่ซึ่งเป็นความชอบ
ส่วนตัว
มีอยู่ช่วงหนึ่ง เวลาผมเหยียบเบรคจะได้ยินเสียงดัง และผมก็นำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจดูและเปลี่ยนอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง แต่หลังจากใช้รถต่อไปได้ไม่นาน เสียงขณะเบรคก็กลับมาอีก
จนกระทั่งผมเริ่มสังเกตเห็นว่า เสียงมักดังในช่วงที่ผมขับรถกลับบ้านมากกว่าช่วงที่ผมขับรถออกจากบ้าน ต่อมาทุกครั้งที่มีเสียงจากการเบรคดังขึ้น ผมจะมองไปที่ มิเตอร์ที่จับระยะทางขับ จนได้ตัวเลขคร่าวๆอยู่ที่ 10 กิโลเมตร
หลังจากนั้นผมสรุปเองในใจว่า เบรคดังเนื่องจากความร้อนสะสมและจะเริ่มดังเมื่อขับในสภาพถนนในเมืองที่ต้องเหยียบเบรคบ่อยๆในระยะทางประมาณ 10 km !
ในที่สุดผมนำรถเข้าศูนย์อีกครั้ง โดยแจ้งกับทางช่างว่า ผมต้องนำรถออกไปวิ่งนอกศูนย์และขอให้ช่างนั่งไปกับผมด้วยโดยเป็นการขับในเมือง และเมื่อได้ระยะทางเก้ากิโลเมตรกว่าๆ ผมขอให้ช่างตั้งใจฟังเสียงเบรคให้ดีๆ จนขับไปได้ครบสิบกิโลเมตร เมื่อผมเหยียบเบรคเสียงก็เริ่มดังจริงๆ! หลังจากช่างฟังเสียงและตรวจสอบ เขาพบว่าจานเบรคไม่เรียบต้องเจียร์จานเบรค และหลังจากนั้นเสียงที่เกิดจากการเหยียบเบรคก็หมดไปครับ
นี่เป็นการประยุกต์ใช้ DIKW pyramid จากประสบการณ์จริงของผมครับ
โฆษณา