Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ้ายวินวัง เพื่อนนักปลูก
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2021 เวลา 11:22 • การเกษตร
โรคและศัตรูของ "บอนสี" ที่ควรรู้!
สวัสดีครับผม "อ้ายวินวัง" จาก "ฟาร์มไส้เดือน อ้ายวินวัง" นะครับ บทความนี้ผมตั้งใจเขียนขึ้นเพื่อคนที่ปลูกหรือชื่นชอบหรือ
ทำธุรกิจเกี่ยวกับ "บอนสี" โดยเฉพาะเลยครับ โดยในบทความนี้นั้นผมขอเน้นในเรื่องของ "โรคที่เกิดในบอนสี" ครับ โดยพื้นฐานนั้น
เรามักทราบกันอยู่แล้วว่า บอนสี เป็นไม้ที่ค่อนข้างปลูกง่ายและตายยากครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บอนสีเอง ก็ยังมีโรคที่มีโอกาสเกิดได้
หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือถูกรุกรานจากปัจจัยอื่นๆ เป็นต้น
ดังนั้นในบทความนี้ ผมจึงอยากเสนอ "โรคของบอนสี และ ศัตรูบอนสี" ว่ามีอะไรบ้างรวมถึงวิธีป้องกันและแก้ไขครับ โดยคิดว่าน่าจะ
เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆและผู้สนใจพอสมควรตามนี้เลยครับผม
..
โรคของบอนสี และ ศัตรูบอนสี
ต้นบอนสีเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง โรคในบอนสีที่พบส่วนใหญ่ จะเป็นโรคเกี่ยวกับเชื้อรา ใบเน่า โคนเน่า ขอบใบไหม้ ใบซีดเหลือง บอนสีใบไหม้ ศัตรูบอนสี
ไส้เดือนฝอย และแมลงที่พบได้แก่ เพลี้ยอ่อน และหนอนกินใบบอนสี ซึ่งจะมีสาเหตุ ลักษณะอาการ วิธีการป้องกันกำจัด ดูแลรักษายังไงมาดูกันต่อเลยครับ
(เครดิตรูป @
https://www.sanook.com/home/31529/
)
1. โรคราเม็ดผักกาด (Stem rot)
โรคราเม็ดผักกาดในบอนสี เกิดจากเชื้อ Sclerotium rolfsi Sacc.
ลักษณะอาการบอสี จะโดนเชื้อราเข้าทำลายบริเวณโคนต้น บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลไหม้ตามลำดับถ้ามีความชื้นสูงมากๆ จะพบเส้นใยสีขาวแผ่ปกคลุมโคนต้น
พร้อมกับมีเม็ดขนาดเล็กกลมๆสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีหลือง และสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักกาด เรียก Sclerotia เกิดจากกลุ่มของเส้นใยของเชื้อราอัดตัวกันแน่นแล้วสร้างผนังมาห่อหุ้มไว้
การแพร่ระบาด จะทำความเสียหายมากในฤดูฝน หรือช่วงที่มีความชื้นสูง โดยเชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและน้ำ นอกจากนี้ เม็ดSclerotia ของเชื้อราสามารถทนทานต่อการทำลายของสารเคมีและมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เชื้อสาเหตุอาศัยอยู่บริเวณพื้นผิวดิน หรือเครื่องปลูก หรือติดไปกับต้นพันธุ์ครับผม
..
การป้องกันกำจัดโรค
1. หมั่นตรวจดูต้นบอนสีสม่ำเสมอ ถ้าพบว่าเป็นโรค อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้เก็บรวบรวมแล้วเผาทำลาย มิฉะนั้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ
2. ราดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คาร์บอกซิล (Carboxin) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ อีทริไดอะโซล (Etridiazole) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. พบว่าถ้าใช้สารดูดซึมกลุ่มเบโนมิล (Benomyl) ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคราเม็ดผักกาดได้ง่าย เพราะฉะนั้น หากใช้สาร Bemomyl ต้องไม่ใช้เดี่ยวๆ อาจผสมกับสารชนิดอื่นร่วมด้วย เช่นแคบเทน (Captan) แมนโคแซบ (Mancozeb)
4. ต้นพันธุ์และวัสดุที่ใช้เป็นเครื่องปลูก ต้องสะอาดปราศจากโรค โดยเฉพาะเครื่องปลูกไม่ควรวางบนผิวดินในช่วงฤดูฝน เพราะจะทำให้เชื้อบริเวณผิวดินติดมากับเครื่องปลูกเหล่านั้นได้ครับ
(เครดิตรูป @
http://www.dynamicseeds.com/
)
2. โรคโคนเน่า (Fusarium foot rot)
โรคบอนสีโคนเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เท่าที่พบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum F. moniliforme
ลักษณะอาการบอนสี เชื้อราจะเข้าทำลายทางรากหรือทางตาหน่อตรงโคนต้น ทำให้เกิดอาการโคนเน่าอย่างช้าๆ ใบเหี่ยว ทรุดโทรม และตายในที่สุดครับผม
..
การป้องกันกำจัดโรค
1. นำส่วนที่เป็นโรคพร้อมเครื่องปลูกบริเวณที่เป็นโรคไปเผาทิ้งเพื่อทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรค
2. ใช้ปูนขาวโรยบริเวณหลุมดินที่เป็นโรค
3. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มควันโทซีน(Quintozene) หรือ ควินโทซีน + อีทริไดอะโซล (Quintozene + Etridiazole) อัตรา30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรครับ
(เครดิตรูป @
https://www.kasetkawna.com/article/148/
)
3. โรคบอนสีใบไหม้ (Leaf blight), ใบจุด (Leaf spot)
ลักษณะอาการบอนสีใบไหม้ ขอบใบไหม้ มักเกิดจากสภาพปลูกมีความชื้นต่ำ มีแดดส่องมาก ประกอบกับได้รับน้ำไม่พอ ทำให้ใบหยาบกร้าน เกิดเป็นรอยไหม้ขึ้นครับ
..
การป้องกันกำจัด โรคบอนสีใบไหม้ แก้ยังไง
1. อย่าปลูกบอนในที่มีแสงแดดจัด
2. พรางแสงให้พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของบอนสีในแต่ละระยะ
3. ปรับโรงเรือนให้มีสภาพเหมาะสม อากาศระบายได้สะดวก
4. หมั่นรักษาความชื้นในดินและอากาศให้สม่ำเสมอ
(เครดิตรูป @
https://www.siamplants.com/2021/10/caladium-diseases.html
)
4. แมลงและศัตรูบอนสี
..
1. เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อนจะมีลำตัวอ่อนสีแดงคล้ำเกาะกินใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ จะดูดน้ำเลี้ยงเรื่อยๆ ไปถึงโคนก้านบอน จะทำให้หัวบอนเน่า ใบอ่อนที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยง เมื่อคลี่ออกเต็มที่จะมีรอยย่น ขรุขระ เป็นรอยแผล
..
การป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน ถ้ามีการระบาดมากควรฉีดยาประเภทดูดซึมที่มีขายโดยทั่วไป เช่น เซวิน (Sevin, S-85) เป็นระยะๆ จนหมดหรือใช้ยาฉุนแช่น้ำ 1 คืน
แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำยามาผสมกับผงซักฟอกเล็กน้อย ฉีดพ่นบริเวณโคนต้นติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์ครับ
(เครดิตรูป @
http://blog.arda.or.th/
)
2. หอยทาก
หอยทาก จะคอยกัดกินต้น ใบ จนกุดหายไป การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจบริเวณโคนต้นถ้าพบตัวควรหยิบออกและนำไปทำลายทันที
(เครดิตรูป @
https://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_66018
)
3. หนอนกินใบบอนสี หรือ หนอนแก้ว
หนอนกินใบบอนสี หรือ หนอนแก้ว เป็นหนอนผีเสื้อ ตัวเขียวใส แม่ผีเสื้อจะวางไข่ใต้ใบบอนสี ในช่วงฤดูฝน และเมื่อฟักออกมาเป็นตัวอ่อน หนอนแก้ว จะกัดกินใบบอนสีไปเรื่อยๆ จนตัวใหญ่ขึ้นเกือบเท่านิ้วชี้
ถ้ากินใบบอนแดงลำตัวจะมีสีแดง ถ้ากินใบบอนเขียวลำตัวจะมีสีเขียว พอเป็นหนอนตัวใหญ่ อาจจะกินคืนละ 1-2 ใบ บางครั้งหนอนสามารถกัดกินใบบอนขนาดใหญ่ได้ถึง 4-5 ใบ ในช่วงเวลา 30 นาที เหลือแต่ก้านใบได้
การป้องกันกำจัด การกำจัดที่ได้ผลจะกระทำโดยวิธีการเก็บทำลายทิ้งครับ
(เครดิตรูป @
https://pantip.com/topic/40165977
)
และทั้งหมดนี้ก็คือ โรคและศัตรูของ "บอนสี" ที่ควรรู้! ครับผม หวังว่าจะครอบคลุมในทุกขั้นตอนการเลี้ยงจนถึงปัญหาที่เตอและเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆได้ไม่น้อยนะครับ
และนอกจากเราทราบโรคและศัตรูที่เป็นอันตรายต่อต้นบอนสีแล้วเราก็อย่าลืมดูแลเคลของเราด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอนะครับโดย "ปุ๋ย" ที่เราให้ก็เป็นส่วนสำคัญครับ เพราะเป็นอาหารหนึ่งเดียวที่ต้นไม้เราจะได้เลย หากมีไม่มากพอหรือปนเปื้อนก็อาจทำให้น้องต้นไม้ขาดสารอาหารอ่อนแอ รวมถึงเป็นโรคได้
ส่วนตัวผมเองนั้นขอแนะนำ "ปุ๋ยมูลไส้เดือน สูตรบอนสี" ครับ เพราะเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนที่พัฒนาสูตรมาโดยเฉพาะ กับไม้ใบสวยงามที่มีสีสันหลากหลาย เช่น บอนสี หรือพืชในตระกูล Caladium เลย โดยนอกจากจะมีสารอาหารมากกว่าปุ๋ยทั่วไปและมีไนโตรเจนช่วยบำรุงใบสูงแล้ว ยังมีฮอร์โมนช่วยในการเจริญเติบโตของพืช มีโมเลกุลเล็กดูดซึมได้ง่าย และที่สำคัญ ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่ชุมชนด้วยนะครับ หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับผม
ขอขอบคุณแหล่งที่มาอ้างอิงจาก @
https://www.siamplants.com/2021/10/caladium-diseases.html
..
>>> หากเพื่อนๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ก็สามารถแชร์ให้ผู้สนใจได้เลยนะครับ ผมยินดีมากๆ เพื่อนๆสามารถฝากคำถามเพิ่มเติมได้เมนท์นี่ได้นะครับ
ยินดีตอบทุกคำถามด้วยความรู้ทั้งหมดที่ผมมีนะ หรือหากอยากแลกเปลี่ยนกันก็ยินดีเช่นกันนะครับผม
..
>>>หากชอบบทความให้ความรู้ทางการเกษตรและการปลูกต้นไม้ในสไตล์เพื่อนคุยกันแบบนี้หรือยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรืออยากติดตามชีวิตคนทำฟาร์มไส้เดือนในเมือง
สามารถติดตามได้ต่อในเพจเฟสบุ๊ค @ ฟาร์มไส้เดือน อ้ายวินวัง
@
https://www.facebook.com/WinwangWormFarm
นะครับ
..
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่านมากๆครับที่อ่านมาจนจบและขอให้มีความสุขกับการปลูกต้นไม้จ้า! <3
สามารถติดตาม "อ้ายวินวัง" ในช่องทางอื่นๆได้ดังนี้
- รวมบทความรู้เรื่องการเกษตรและปลูกต้นไม้แบบเข้าใจง่ายๆ!
@
https://www.blockdit.com/pages/6038f2e38590a80bf6445008?fbclid=IwAR1sTvracD5iw52UQxtDZdHDvkG_ly0x1A2aF580HEwjewsIQW6qm3jondY
- รวมคลิปความรู้เรื่องการเกษตรและปลูกต้นไม้แบบเข้าใจง่ายๆ!
@
https://www.youtube.com/channel/UCUHrkc2UWIq41lc3brN09UA
..
#บอนสี #ปลูกบอนสี #เลี้ยงบอนสี #โรคบอนสี #ศัตรูบอนสี #แมลงกินบอนสี
#ปุ๋ยบอนสี #มูลไส้เดือน #ปุ๋ยมูลไส้เดือน #ไส้เดือนAF #ฟาร์มไส้เดือนกรุงเทพ #ฟาร์มไส้เดือนบางแค #ฟาร์มไส้เดือนอ้ายวินวัง #คนรักต้นไม้ #ปุ๋ยอินทรีย์
#ปุ๋ยบำรุงต้นไม้ #ฟื้นฟูต้นไม้ #บำรุงพืช #ไส้เดือนตกปลา #ไส้เดือนอาหารปลา #ความรู้การเกษตร #วิถีธรรมชาติ
facebook.com
ฟาร์มไส้เดือน อ้ายวินวัง
ฟาร์มไส้เดือน อ้ายวินวัง, Bangkok, Thailand. 130 likes. ให้ความรู้การเกษตรในรูปแบบเข้าใจง่าย จำหน่ายปุ๋ยมูลไส้เดือนออร์แกนิค ไส้เดือนพันธ์AF
เรียนรู้เพิ่มเติม
ต้นไม้
ต้นไม้มงคล
ต้นไม้ในบ้าน
1 บันทึก
1
2
1
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย