11 พ.ย. 2021 เวลา 06:43 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นคั้นกันน้ำ (เสริมด้วยกระสอบทราย) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย
1.น้ำท่า (river water) คือ น้ำที่อยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง ที่เกิดจากน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่รับน้ำ บางส่วนจะสูญเสียไป ส่วนที่เหลือก็จะไหลไปยังที่ลุ่มลงสู่แม่น้ำลำคลอง สำหรับในสถานการณ์วิกฤติ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จะเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำ ผ่านหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
1
2.น้ำทะเลหนุน (astronomical tide) เกิดจากการขึ้นลงของน้ำในแต่ละวัน โดยในแต่ละปีจะมีการคาดการณ์ล่วงหน้าโดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เช่น ระดับน้ำ ประจำวันที่ 8 พ.ย.2564 น้ำขึ้นเต็มที่ครั้งที่ 1 เวลา 0955 สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.16 เมตรและน้ำขึ้นเต็มที่ครั้งที่ 2 เวลา 1856 สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.95 เมตร
1
3.คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge) คือภัยพิบัติร้ายแรงอย่างหนึ่ง อันเนื่องมาจากพายุหมุนเขตร้อน เป็นปรากฏการณ์ที่คลื่นขนาดใหญ่ซัดชายฝั่ง อันเนื่องมาจากความแรงของลมที่เกิดขึ้นจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง ประกอบกับ ณ บริเวณนั้น ความกดอากาศที่ปกคลุมมีความกดอากาศต่ำ หากหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางพายุ ทำให้ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นกว่าบริเวณโดยรอบ และกลายเป็นโดมน้ำขนาดใหญ่ ซัดชายฝั่งอย่างรวดเร็ว และรุนแรง จนสร้างความเสียหายต่อชีวิต อาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้สิ่งก่อสร้างริมฝั่งทะเลเสียหาย พังทลาย ผู้คนและสัตว์เลี้ยงถูกพัดลงทะเล เรือประมงทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กอาจล่มได้ ป่าชายเลนและหาดทรายถูกทำลาย
โดยปกติมีความรุนแรงมากในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตรจากศูนย์กลางพายุ คลื่นพายุซัดฝั่งส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนที่มีความแรงในระดับพายุโซนร้อนขึ้นไป*
นอกจากนี้ ถ้ามีฝนตกในบริเวณกรุงเทพมหานครด้วย น้ำฝนดังกล่าวก็จะถูกระบายผ่านคู คลอง และทางระบายน้ำ ทำให้มีปริมาณน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก
สำหรับการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นคั้นกันน้ำ ควรที่ชะลอหรือลดปริมาณการปล่อยน้ำท่าจากเขื่อนและประตูน้ำต่าง ๆ ล่วงหน้า เพื่อมิให้น้ำท่าดังกล่าวเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครในช่วงที่น้ำทะเลกำลังหนุน (7-14 พ.ย.2564)
*ข้อมูลจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
โฆษณา