12 พ.ย. 2021 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา กลยุทธ์ฝ่าวิกฤติ ของไทยซัมซุงฯ ฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่สุด ของ Samsung
Thai Samsung Electronics x ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องล้างจาน และเตาอบ ของแบรนด์ Samsung ที่คนทั่วโลกใช้ กว่า 50% ถูกผลิตและส่งออกจากโรงงานในประเทศไทย
โรงงานที่ว่านี้ คือโรงงานของบริษัท “ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์” ซึ่งตั้งอยู่ที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยปัจจุบันมีจำนวนพนักงานกว่า 4,000 ชีวิต
ที่น่าสนใจก็คือ แม้วิกฤติโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมา จะสร้างความลำบากให้อุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก
แต่โรงงานของไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ก็สามารถเอาชนะช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นมาได้ โดยไม่ต้องเลิกจ้างพนักงาน และไม่ต้องปิดหรือหยุดการผลิตเลยแม้แต่ครั้งเดียว..
ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ มีวิธีเอาชนะวิกฤติที่ผ่านมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของโรงงานแห่งนี้ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2531
เมื่อทางซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้เจ้าของแบรนด์ Samsung ได้ตัดสินใจเลือกประเทศไทย เป็นฐานการผลิตนอกเกาหลีใต้ เป็นประเทศแรก
ซึ่งจากวันนั้น จนวันนี้ ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ก็กลายเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจในประเทศไทยมาแล้ว มากกว่า 30 ปี
โดยทาง ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ของเกาหลีใต้ มาจับมือกับ เครือสหพัฒน์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจในไทย แล้วตั้งโรงงานผลิตที่ศรีราชา เพื่อผลิตและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Samsung
โรงงานแห่งนี้ ปัจจุบันถือเป็นฐานการผลิตสินค้าในกลุ่ม Digital Appliance ที่ใหญ่สุดให้กับ ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์
ถามว่าใหญ่ขนาดไหน ? อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็อย่างที่ลงทุนแมนได้เกริ่นไป
คือเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ Samsung ที่คนทั่วโลกใช้ อย่างเช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องล้างจาน และเตาอบ ถูกผลิตจากโรงงานแห่งนี้ มากกว่า 50%
1
โดยผลประกอบการของ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ในปี พ.ศ. 2563
มีรายได้รวม 100,305 ล้านบาท
2
ด้วยความที่เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ จำนวนพนักงานของบริษัท ก็มีมากตามไปด้วย
โดยปัจจุบัน ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ มีพนักงานรวมทั้งหมดประมาณ 4,000 คน
2
ซึ่งเรื่องที่น่าสนใจก็คือ
ตั้งแต่ช่วงวิกฤติหนักจนถึงช่วงที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นอย่างในตอนนี้
ทางโรงงาน ยังไม่มีการเลิกจ้างพนักงาน ปิดโรงงานหรือหยุดการผลิตเลย..
2
ที่เป็นเช่นนี้ได้นั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะความต้องการซื้อหรือ Demand ของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังแข็งแรงอยู่แม้ในช่วงวิกฤติ ซึ่งสังเกตได้จากรายได้ในส่วนธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าของบริษัทแม่ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา
1
ขณะเดียวกัน ฝั่งการผลิตหรือ Supply โดยเฉพาะความสำคัญในเรื่อง “คน”
ก็เป็นสิ่งที่ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน
ซึ่งคนในที่นี้ ไม่ใช่แค่พนักงานของโรงงานหรือบริษัทเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึงพาร์ตเนอร์และคู่ค้าของบริษัท ที่รวมแล้วกว่า 120 บริษัทในไทย เป็นจำนวนเกือบ 50,000 คน
2
คำถามต่อมาก็คือ ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ดูแลคนอย่างไร ให้ผ่านวิกฤติในช่วงที่ผ่านมาได้ ?
1. มีมาตรการเชิงรุกที่ชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้พนักงานรู้สึกปลอดภัย
1
เพราะเรื่อง Safety, Health และ Environment ของพนักงานคือความสำคัญสูงสุด
โรงงานไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จึงเริ่มดำเนินการเชิงรุกทำ Scenario Planning เพื่อวางแผนป้องกันและรับมือกับโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาด ยกตัวอย่างเช่น
1
- ระดมตรวจ ATK เชิงรุกโดยตลอด และพนักงานทั้ง 4,000 คน ก็ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วกว่า 99% ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 (ส่วนที่ยังไม่ได้ฉีด คือพนักงานที่ตั้งครรภ์ หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการรับวัคซีน)
1
- พนักงานที่มีแนวโน้มความเสี่ยง ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อในรัศมี 8 เมตร จะถูกส่งเข้ากระบวนการกักตัวทันที ซึ่งทุกคนยังได้รับค่าแรงเต็มจำนวน และทางโรงงานก็สนับสนุนชุดเวชภัณฑ์และยาป้องกันตลอดระยะเวลากักตัว
1
- ควบคุมพื้นที่ภายในสายการผลิต (Factory Isolation) อย่างเคร่งครัด สร้างฉากกั้นพื้นที่เป็นสัดส่วนเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงเพิ่มจุดล้างมือทั้งในและนอกอาคาร จัดการโรงอาหาร ฯลฯ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ล้วนมาจากไอเดียของพนักงานคนไทยที่มีส่วนร่วมกันริเริ่ม
1
- รูปแบบการลาที่เรียกว่า “Official Leave” สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงและต้องการกักตัวโดยเฉพาะ โดยไม่กระทบต่อการประเมินผลงานและการคำนวณค่าจ้าง/เงินเดือน ลดความกังวลของพนักงาน ลดปัญหาการปกปิดไทม์ไลน์ที่อาจเป็นความเสี่ยงให้กับเพื่อนร่วมงานในอนาคต
2
- จัดตั้งทีมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อรับ-แจ้งข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการที่รวดเร็ว พร้อมให้ข้อมูลและวิธีป้องกันตนเองผ่านช่องทางสื่อสารภายในองค์กรและ Line Official รวมถึงแจกจ่ายแจกอุปกรณ์ป้องกันให้พนักงาน เช่น หน้ากาก KF94 สัปดาห์ละ 7 ชิ้น ครอบคลุมวันที่ไม่ได้มาทำงานด้วย
4
2. วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง เน้นการต่อยอดองค์ความรู้ และพัฒนาระบบจัดการ
ค่านิยมองค์กรของไทยซัมซุงฯ คือไม่เคยหยุดพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) พร้อมส่งเสริมศักยภาพและเปิดกว้างโอกาสให้พนักงาน (People) มาโดยตลอด
1
เรื่องนี้ทำให้โรงงานไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ที่ถึงแม้จะเป็นบริษัทสาขา (Subsidiary) ของซัมซุงที่ประเทศเกาหลีใต้ แต่ก็ยังมีอิสระในการคิดค้นและต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการทำงานในไทยได้เอง ยกตัวอย่างเช่น
- เปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับ เสนอหรือลองทำสิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา
เช่น พนักงานที่คุ้นเคยกับเครื่องจักรและกระบวนการผลิต ถ้ามองเห็นไอเดียหรือวิธีการใหม่ ที่ช่วยลดขั้นตอนแล้วเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ก็สามารถเสนอได้ทันที
1
- ให้ความสำคัญกับนโยบายพัฒนาทักษะในการทำงาน โดยในแต่ละปี โรงงานไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ทุ่มงบถึงเกือบ 10 ล้านบาท ในด้านนี้โดยเฉพาะ
2
มีการอบรมทักษะทั้งในด้าน Soft Skills อาทิ ความเป็นผู้นำ (Leadership) สำหรับหัวหน้างาน และ Engineering Skills สำหรับวิศวกรและช่างเทคนิค รวมถึง Operator Skills สำหรับพนักงานปฏิบัติการและตรวจสอบ
โดยจะมีการสอบประเมินทักษะของวิศวกรทุก 6 เดือน ซึ่งผู้ที่ผ่านการประเมินจะได้รับเงินพิเศษค่าทักษะอีกด้วย
1
- พนักงานทุกคนได้ผ่านการเทรนให้มีทักษะแบบ Multi Skill ซึ่งทำให้โรงงานสามารถวางแผนกระจายคน หมุนเวียนพนักงานบางส่วนไปทดแทนพนักงานที่อยู่ระหว่างการกักตัวได้ จึงลดผลกระทบกับกระบวนการผลิตและสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างเป็นระบบ
1
3. ดูแลเอาใจใส่ ทั้ง Supply Chain
1
ช่วงที่ผ่านมา บางคู่ค้าหรือบางพาร์ตเนอร์ของไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ที่มีอยู่กว่า 120 บริษัท ก็เจอปัญหาเรื่องพนักงานติดเชื้อ จนกระทบกับทั้ง Supply Chain รวมถึงไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ด้วย
ทางไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ก็ได้ช่วยดูแลและแก้ปัญหานี้ให้คู่ค้าและพาร์ตเนอร์ ตัวอย่างเช่น
 
- หากพาร์ตเนอร์ขาดคน ทางไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ก็จะจัดหาบุคลากรในด้านนั้นไปช่วยเสริมชั่วคราว หรือเข้าไปให้คำแนะนำ เช่น การทำ Factory Isolation หรือการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ
- ในกรณีที่พาร์ตเนอร์ต้องหยุดการผลิต ซัมซุงจะเป็นผู้ช่วยในการจัดหาแหล่งผลิตสำรอง รวมถึงนำมาดำเนินการต่อเอง โดยการบริหารกำลังการผลิต ที่ใช้บุคลากรและอุปกรณ์ภายในโรงงานเอง แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม
2
- มีการจัดตั้ง War Room ถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติจาก ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ไปสู่พาร์ตเนอร์และคู่ค้า รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากและเจลแอลกอฮอล์ให้พนักงานของพาร์ตเนอร์กว่า 10,000 ชิ้น
2
นอกจากนั้น ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ก็ได้มีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการ Bubble and Seal ให้กับหลายโรงงานในจังหวัดชลบุรีอีกด้วย
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ สอดคล้องกับค่านิยมที่เรียกว่า “Co-Prosperity” ขององค์กร หรือก็คือ การที่ทุกฝ่ายจะต้องจับมือเดินหน้าไปด้วยกัน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติแบบนี้
1
ซึ่งการมีค่านิยมที่ว่านี้ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ได้รับการยกย่องถึงความเป็นเลิศระดับ Platinum (ระดับสูงสุด) พร้อมคว้ารางวัล “Factory of Choice” เพียงหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
2
โดยรางวัลที่ว่านี้ มอบให้โดย Responsible Business Alliance หรือ RBA ซึ่งถือเป็นรางวัลที่การันตีความเป็นเลิศในการดูแลคน ทั้งในองค์กร และเครือข่ายพาร์ตเนอร์
จะเห็นได้ว่า ซัมซุงไม่ได้ดูแลเพียงพนักงานกว่า 4,000 คนของตัวเองเท่านั้น แต่ยังดูแลเอาใจใส่พนักงานอีกเกือบ 50,000 คนจากบริษัทคู่ค้ากว่า 120 แห่ง สร้างงานและรายได้หมุนเวียนสู่ 54,000 ครอบครัวอย่างมหาศาล
1
นอกจากนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไทยซัมซุงฯ ก็ยังให้การสนับสนุนและพัฒนาชุมชนทั้งในเชิงโครงสร้างและการให้ความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนมาโดยตลอด
1
ยกตัวอย่างเช่น
- ให้การสนับสนุนในเรื่องการจัดหาหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์จำเป็นสำหรับโรงพยาบาลสนามในละแวกใกล้เคียงในช่วงที่ผ่านมา
- สนับสนุนด้านการศึกษา เช่น มีทุนการศึกษาให้กับบุตรหลานของพนักงาน, ช่วยทำห้องสมุด ห้องพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ ให้โรงเรียนในละแวกใกล้ ๆ โรงงาน, จัดงานการกุศลเพื่อสนับสนุนโรงเรียน สถานศึกษา
 
และทั้งหมดนี้ ก็คือบทสรุป วิธีเอาชนะวิกฤติของไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ และค่านิยมขององค์กร
ซึ่งเราคงสังเกตได้ว่า สิ่งที่ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือเรื่องคน
เพราะทางบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจในประเทศไทยด้วยความใส่ใจ พร้อมดูแลและส่งเสริมศักยภาพคน
1
References
- สัมภาษณ์พิเศษ คุณจักรกฤษณ์ ศรีเงินยวง รองประธาน บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (โรงงานศรีราชา) โดย ลงทุนแมน
- ข้อมูลผลประกอบการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- SAMSUNG ELECTRONICS Co., Ltd. 2020 Business Report
1
โฆษณา