12 พ.ย. 2021 เวลา 00:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไม ถึงเกิดภาวะ “Supply Shortage” ขึ้น?
ช่วงที่ผ่านมานี้ หลายๆ คนคงอาจจะได้ยินเรื่องภาวะขาดแคลนในวงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การขาดแคลนชิป (Chip Shortage) การขาดแคลนชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมรถยนต์ ไปจนถึงการขาดแคลนพลังงาน น้ำมัน และอาหาร
ทำไม ถึงเกิดภาวะ "Supply Shortage" ขึ้น?
สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Supply Shortage หรือการขาดแคลนซัพพลาย ถ้าพูดกันตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว การที่ซัพพลายของสินค้านั้นขาดแคลน ก็มีที่มาจากการที่อุปสงค์ในสินค้านั้นมีมากกว่าอุปทานของสินค้าที่มีอยู่นั่นเอง
1
แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Supply shortage นั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
  • 1.
    การที่เกิดภัยธรรมชาติจนทำให้สินค้านั้นขาดแคลน
  • 2.
    การออกกฎหมายควบคุมจากรัฐจนทำให้สินค้านั้นกลายเป็นของหายาก
  • 3.
    ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ
จะเห็นว่าทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่เกิดมาจากฝั่งอุปทานเสียเป็นส่วนใหญ่
1
แต่ยังมีอีกกรณีหนึ่ง ที่มีสาเหตุมาจากการที่อุปทานขาดแคลน ไปพร้อมๆ กับการที่อุปสงค์ในสินค้าพุ่งสูงขึ้นในเวลาเดียวกัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ วิกฤติแห่งความขาดแคลนที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 ในปัจจุบัน
1
เมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับมา ภาคอุตสาหกรรมการผลิตค่อยๆ กลับมาผลิตอีกครั้ง แต่ไม่ทันและไม่เพียงพอต่อความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า
ปัญหาความขาดแคลนนั้นจึงนำมาสู่ปัญหาที่สร้างความกังวลใจต่อมาคือ เงินเฟ้อ จากการที่ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น เพราะราคาสินค้าต่างๆ จำเป็นจะต้องปรับตัว เพื่อให้อุปสงค์และอุปทานเท่ากัน และทำให้ตลาดกลับเข้าสู่ดุลยภาพ
2
ทั้งนี้ กว่าที่ตลาดจะเข้าสู่ดุลยภาพอีกครั้งก็อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร ซึ่งส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลน และราคาสินค้าที่สูงขึ้น จะกระทบกับผู้ผลิตและผู้บริโภคไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นในช่วงเวลานี้ รัฐบาลจึงเป็นตัวละครสำคัญ ที่จะเข้ามาช่วยแทรกแซง และบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น จนกว่าจะถึงวันที่เศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพอีกครั้ง…
อ่านบทความเกี่ยวกับ บทเรียนภาวะ “Supply Shortage”
“ทุพภิกขภัยมันฝรั่ง” วิกฤตขาดแคลนอาหารที่แย่ที่สุดในยุโรปแห่งศตวรรษที่ 19
“แอลกอฮอล์ขาดแคลน” ในสหรัฐฯ : ฝันร้ายของนักดื่มจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
วิกฤติการขาดแคลนน้ำมัน ปี 1973: บทเรียนของความขาดแคลนที่เกิดจากความไม่ลงรอยระหว่างประเทศ
วิกฤติโควิด-19 : วิกฤติแห่งความขาดแคลน
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนกานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา