Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ATPSERVE
•
ติดตาม
12 พ.ย. 2021 เวลา 07:52 • ธุรกิจ
4 เรื่องที่ #นักเขียน ควรรู้ไว้..ถ้าจะเขียนหนังสือเป็นของตัวเอง
1. ความคุ้มครองเกิดขึ้นทันที แต่ถ้าอยากยื่นจดแจ้งด้วยก็ทำได้
ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน นั่นหมายความว่าต่อให้คุณยังไม่ได้เผยแพร่งานเขียน แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ก็คุ้มครองแล้ว
แม้ผลงานจะได้รับการคุ้มครองทันทีโดยที่ไม่ต้องทำอะไรแต่ถ้าหากอยากจดแจ้งด้วยก็ทำได้ โดยสามารถนำผลงานของเราไปแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อแจ้งแล้วทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะออกหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ซึ่งใช้เป็นหลักฐานในการแสดงความเป็นเจ้าของในผลงานนั้นๆ ได้
2.ระยะเวลาคุ้มครองยาวตลอดชีวิต แต่ก็มีวันหมดอายุ
กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานตลอดชีพ และคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีหลังจากผู้สร้างสรรค์ตาย นั่นหมายความว่า หากคุณเขียนนิยายออกมาสักเรื่อง คุณจะเป็นเจ้าของหนังสือเรื่องนั้นไปตลอดชีวิต โดยไม่ต้องไปต่ออายุอะไรให้วุ่นวาย และหลังจากคุณตาย ทายาทของคุณก็จะได้ประโยชน์จาก ลิขสิทธิ์หนังสือ ของคุณต่อไปอีก 50 ปี
3. เป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์หนังสือ จะเอาไปดัดแปลงหรือให้คนอื่นใช้สิทธิ์ยังไงก็ได้
นักเขียนผู้สร้างสรรค์ผลงานจะมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในผลงานของตน หรือก็คือ คุณจะเอาไปคัดลอก ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณะยังไงก็ได้ จะพิมพ์หนังสือขายเองก็ได้ หรือจะอนุญาตให้คนอื่นใช้สิทธิ์ในงานของเรา อย่างเช่นการให้สำนักพิมพ์นำไปพิมพ์จำหน่ายก็ทำได้
4.การให้สิทธิ์สำนักพิมพ์ เรื่องสัญญาก็สำคัญ
ถ้าคุณจะให้สิทธิ์สำนักพิมพ์ในการจัดพิมพ์และจำหน่ายงานเขียนของคุณ สิ่งที่ต้องระวังก็คือการทำสัญญา เพราะเราจะได้ประโยชน์จากผลงานของเรามากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ทำกับสำนักพิมพ์
เรื่องที่รักเขียนควรรู้
ศึกษาเรื่องลิขสิทธิ์หนังสือ เบื้องต้นที่นักเขียนควรรู้ : คลิ๊กอ่านเล
ย
https://bit.ly/3CVMViA
ติดตามสาระ เรื่องราวด้านทรัพย์สินทางปัญญาดีๆ สนุกๆ ได้ที่
เว็บไซต์ :
www.atpserve.com
Line (@atpserve) :
https://lin.ee/nMYC7vm
#เครื่องหมายการค้า #ทรัพย์สินทางปัญญา #สิทธิบัตร
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย