12 พ.ย. 2021 เวลา 12:07 • สุขภาพ
โรคซึมเศร้าในทรรศนะแพทย์แผนจีน
แนวความคิดและแนวทางการรักษาโรคของศาสตร์การแพทย์แผนจีน มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดและทฤษฏีหลักๆคือ ทฤษฏีความสมดุลหยิน-หยาง,ทฤษฏีมองโรคเป็นองค์รวม,ทฤษฏีวินิจฉัยแยกแยะโรคตามกลุ่มอาการ
ทฤษฏีหยินหยาง(阴阳) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือการทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุลหรือใกล้เคียงกับสภาวะสมดุลที่สุดนั้นเอง เพราะเมื่อไหร่ที่สภาวะร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมา ก็คือการที่ภาวะหยินหยางในร่างกายเราขาดสมดุลนั้นเอง การรักษาโรคจึงกระทำโดยการปรับสมดุลร่างกายโดยการใช้ยา,การฝังเข็มหรือการใช้อาหารบำบัดในการปรับสมดุล
ทฤษฏีการมองโรคเป็นองค์รวม(整体观念)ก็คือ การมองร่างกายทั้งหมดเป็นองค์รวม ไม่แยกอวัยวะต่างๆออกเป็นส่วนๆ ในการรักษาหรือวินิจฉัยโรค เช่น คนไข้มีอาการผมร่วงเข้ามาทำการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์จีน แพทย์จะไม่เจาะจงการรักษาไปที่เส้นผมหรือที่หนังศรีษะเท่านั้น หากแต่จะมองหาสาเหตุและความเกี่ยวพันระหว่างผมกับ อวัยวะใดที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น กรณีนี้ แพทย์อาจวินิจฉัยว่าเกิดจากสารอินของไตพร่อง เนื่องจากเส้นผมกับอวัยวะมีความเกี่ยวข้องกัน การรักษาก็อาจทำโดยการปรับบำรุงอวัยวะไต เช่นนี้เป็นต้น
ทฤษฏีวินิจฉัยแยกแยะโรคตามกลุ่มอาการ(辨证论治) คือการวินิจฉัยแยกแยะโรคตามสาเหตุของโรคแล้วจึงกำหนดวิธีการรักษา หรือทำการรักษาคนไข้
ถ้าหากจะเปรียบเปรยกับการเลือกชื้อเสื้อผ้า การรักษาโดยใช้ยาของแพทย์จีนนั้นคงเหมือนกับเสื้อผ้าไม่สำเร็จรูป ที่ต้องวัดตัวผู้ใส่ ตัดให้พอดีตัวผู้ใส่ ส่วนการใช้ยาแผนปัจจุบันก็คงเปรียบเสมือนยาสำเร็จรูปที่ทั้งสดวกกินสดวกใช้ หากแต่บางครั้งมิได้เหมาะกับสภาวะร่ายกายของทุกคนเสมอไป
โรคซึมเศร้านับว่าเป็นโรคที่ได้ยินกันบ่อยมากขึ้นในระยะหลายปีนี้ และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นและในผู้สูงวัย สาเหตุโรคซึมเศร้าในทางการแพทย์แผนตะวันตกเกิดจาก สารเคมีในสมองผิดปกติ หรือระบบต่อมไร้ท่อในร่างกายทำงานผิดปกติ ส่วนในทรรศนะแพทย์แผนจีนโรคนี้มีสาเหตุมาจากอารมณ์,ลมปราณอุดกั้น(气郁)และลดปราณติดขัด(气滞) ในส่วนของอารมณ์นั้นในแพทย์จีนแบ่งอารมณ์ออกเป็น7ชนิด คือ อารมณ์โกรธ(怒) อารมณ์ดีใจ(喜) อารมณ์วิตกกังวล(忧) อารมณ์ครุ่นคิด(思) อารมณ์เศร้าโศก(悲) อารมณ์กลัว(恐) อารมณ์ตกใจ(惊) เมื่อใดก็ตามที่มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งมากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อ(ชี่)หรือลมปราณของอวัยวะในร่างกาย ก่อให้เกิดลมปราณอุดกั้น(气郁)และลมปราณติดขัด(气滞)ขึ้น และเกิดเป็นอาการซึมเศร้าขึ้น สำหรับการรักษาแพทย์จีนจะรักษาโดยวินิจฉัยจากสาเหตของโรคโดยการ ซักประวัติคนไข้ จับชีพจร ดูลิ้น เพื่อหาสาเหตุแล้วจึงทำการรักษาคนไข้ ตามลำดับ
#Dr.Sayada Dathaiwattana
บางทีการปลูกต้นไม้ก็ช่วยได้นะ
โฆษณา