Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Open education system
•
ติดตาม
12 พ.ย. 2021 เวลา 23:26 • การศึกษา
ระดับของจิต (The Levels of Consciousness)
ฟรอยด์เปรียบจิตมนุษย์เหมือนภูเขาน้ำแข็ง (Ice Berge) ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร
ระดับจิตของคนเราทั่วไป
1.จิตสำนึก (Conscious mind)เป็นส่วนที่โผล่พ้นน้ำมีอาณาบริเวณน้อยที่สุด เป็นจิตที่รู้ตัวทุกขณะจิตว่ากำลังทำอะไร รับรู้อะไรอยู่ในขณะนั้น เป็นภาวะที่มีสติเต็มที่
2. จิตกึ่งสำนึก (Pre-Conscious mind)เป็นส่วนที่เก็บสะสมประสบการณ์บางอย่างไว้ แต่มีลักษณะลางเลือน ถ้ามีสิ่งมากระตุ้นที่เหมาะสมบุคคลก็สามารถระลึกหรือจดจำได้ (สามารถดึงขึ้นมาสู่สภาวะจิตสำนึกได้) เช่น เดินสวนทางกับคนๆหนึ่ง จ าได้ว่าเคยเรียนด้วยกันสมัยประถม แต่นึกชื่อไม่ออก ต้องใช้เวลานึกบ้างจึงจะคิดออก
3. จิตไร้สำนึก (Unconscious mind)เป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุด มีอาณาบริเวณมากที่สุดลึกลับที่สุด เป็นส่วนที่บุคคลเก็บกดสิ่งต่างๆ หรือประสบการณ์ที่ท าให้เจ็บปวดไว้ในจิตส่วนนี้ จิตไร้สำนึก จึงอัดแน่นไปด้วยพลังความต้องการต่างๆ จะผลักดันให้ทำพฤติกรรม ซึ่งอาจจะสะท้อนออกมาในรูปของความฝัน การพูดพลั้งปาก การเผลอไผล ไม่รู้ตัว เป็นต้น
Personality Structure
โครงสร้างบุคลิกภาพ (Personality Structure)
ฟรอยด์ อธิบายว่า โครงสร้างบุคลิกภาพประกอบด้วยพลัง 3ประการ
1.อิด (Id) เป็นพลังงานที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด หรือ สัญชาตญาณ เป็นพลังเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง Id จะไร้ศีลธรรม โดยไม่ค านึงถึงเหตุผลความเป็นจริงหรือความถูกต้อง ฉะนั้นการทำงานของ Id จึงยึดหลักแสวงหาความสุข ความพึงพอใจ (Pleasure principle)
2. อีโก้ (Ego)เป็นพลังงานที่พัฒนามาจากการเรียนรู้โลกตามความเป็นจริงตั้งแต่วัยเด็ก โดยบุคคลเรียนรู้ว่า เราจะต้องรู้กาลเทศะ รู้จักอดกลั้นต่อความต้องการของตนเอง ฉะนั้น Ego จึงเป็นโครงสร้างบุคลิกภาพส่วนที่เป็นเหตุผล ยึดหลักความเป็นจริง (Reality principle) ต้องคอยจัดการกับแรงขับของ Id และการเรียกร้องของ Superego
3. ซุเปอร์อีโก้ (Superego)เป็นพลังที่เกิดจากการเรียนรู้เช่นเดียวกับ Ego แต่แตกต่างกันคือ เป็นส่วนที่เกี่ยวกับคุณธรรมความดีงาม ความรู้จักผิดชอบชั่วดี แต่ก็มีด้านลบ คือ อาจจะเข้มงวดและเรียกร้องมากไป
โครงสร้างบุคลิกภาพทั้ง 3จะทำงานร่วมกัน โครงสร้างใดมีอิทธิพลมาก บุคคลก็จะมีบุคลิกภาพโน้มเอียงไปทิศทางนั้น
ดังนั้น บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ บุคคลที่มี Ego ที่เข้มแข็ง สามารถประนีประนอมหา ทางออกที่เหมาะสม ระหว่างแรงกระตุ้นจาก Id และโน้มน้าว Superego ให้เข้าสู่หลักแห่งความจริง
พัฒนาการทางบุคลิกภาพมี 5ขั้น
1.ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะปาก (Oral Stage)ตั้งแต่แรกเกิดถึงประมาณ 2ขวบ เช่น การดูด การกัด
2. ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะทวารหนัก (Anal Stage)ช่วง 2 –3 ขวบ เป็นช่วงที่ความสุขและความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนักส่งผลให้เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะมีนิสัยจู้จี้ เจ้าระเบียบ รักสะอาด ขี้เหนียว หรือไม่ก็ตรงข้ามไปเลย คือ สกปรก สุรุ่ยสุร่าย
3. ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะเพศ (Phallic Stage)ช่วง 3 –5 ขวบ เป็นช่วงที่ความสุขและความพึงพอใจอยู่ที่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศ เช่น เล่นอวัยวะเพศของตนเอง
4. ขั้นแสวงหาความสุขจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว (Latency Stage)ช่วง 5 –12 ปี เรียกว่าระยะหยุดพักเป็นระยะที่เด็กเก็บกดความพึงพอใจทางเพศไว้ และไม่มีบริเวณใดในร่างกายเป็นบริเวณแห่งความสุขความพอใจ เช่น การเรียน การกีฬา
5. ขั้นแสวงหาความสุขจากแรงกระตุ้นทางเพศ (Genital Stage)ช่วงอายุ 12 –20 ปี เป็นระยะที่เด็กเข้าสู่วัยรุ่น เด็กจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลอื่นๆ มีความพอใจคบหารักใคร่ผูกพันกับเพื่อนต่างเพศ
กลไกการป้องกันทางจิต (Defense Mechanism)
1.การเก็บกด (Repression) เป็นการกดประสบการณ์และความไม่พอใจต่างๆ ในระดับจิตไร้ส านึก การเก็บกดเป็นกลไกทางจิตที่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วแก้ยากมาก เช่น ผู้ใหญ่ที่ยังมีความกลัวแบบเด็กๆ เช่น กลัวผี กลัวสัตว์ต่างๆ
2. การถดถอย (Regression) เป็นการแสดงพฤติกรรมที่อยู่ในระดับต่ำกว่าวุฒิภาวะที่เป็นอยู่ เมื่อต้องพบสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความคับข้องใจ เช่น ไปเดินห้างกับแฟนมองเห็นตุ๊กตา อยากได้มากแต่แฟนไม่ยอมซื้อให้ จึงลงไปนั่งชักดิ้นชักงอกลางห้าง
3. การทำพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction Formation) เป็นการมีท่าทีหรือพฤติกรรมแสดงออกที่ตรงกันข้ามกับความรู้สึกเพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริงของตน ท่าทีที่แสดงออกมามักเกินความจริง เช่น เกลียดหัวหน้างานแต่แสดงท่าทีว่ารัก
4. การเปลี่ยนทิศทางหรือเป้าหมาย (Displacement) หรือการหาแพะรับบาป เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลไม่พอใจบางสิ่งบางอย่าง อยากตอบโต้แต่ถ้าทำไปเช่นนั้น จะเกิดผลเสียต่อตนเองและสังคมไม่ยอมรับ จึงเปลี่ยนทิศทางหรือเป้าหมายที่จะกระทำเสียใหม่ เช่น ถูกพ่อดุโกรธพ่อมากแต่ทำอะไรพ่อไม่ได้ จึงไปเตะสุนัขแทนเพื่อระบายอารมณ์
5. การหาเหตุผลมาอ้าง (Rationalization) เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆของตน เพื่อท าให้ตนรู้สึกเชื่อมั่น
6. การชดเชย (Compensation) โดยการหาความสามารถด้านอื่นมาชดเชยความบกพร่องหรือจุดอ่อนของตนเอง เช่น เรียนไม่เก่งจึงไปเอาดีทางการเล่นกีฬา
7. การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection) เช่น นักเรียนสอบตกก็โทษว่าอาจารย์สอนไม่ดี ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ตั้งใจเรียน
8. การฝันกลางวันหรือเพ้อฝัน (Day dream or Fantacy) เป็นการสร้างวิมานในอากาศ ซึ่งมักเป็นเรื่องที่ในชีวิตจริงเป็นไปไม่ได้ เช่น ความเป็นจริงเป็นคนอ้วนมาก ก็ฝันเอาว่าตัวเองหุ่นดี
-ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ล จุง จิตแพทย์และนักจิตวิทยาชาวสวิส จุงเป็นเพื่อนร่วมสมัยและเคยร่วมงานกับฟรอยด์มาก่อน
จุงได้จำแนกประเภทบุคลิกภาพของคน ลักษณะการดำเนินชีวิต ออกเป็น 2ประเภท
1.บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (Introvert)จะมีลักษณะไม่ชอบเข้าสังคม ชอบทำงานคนเดียว เก็บความรู้สึกเก่ง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวยาก ไม่ชอบความตื่นเต้น เจ้าระเบียบ ชอบท าอะไรตามระเบียบกฎเกณฑ์แบบแผนของสังคม เชื่อมั่นตนเองสูงมาก ทำอะไรมักขึ้นกับการตัดสินใจของตนเองเป็นใหญ่
2. บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extrovert)จะมีลักษณะชอบเข้าสังคม มีความสุขที่ได้เข้าสังคม มีเพื่อนมาก ชอบการทำงานเป็นทีม กล้าแสดงออก ปรับตัวได้ง่าย ชอบการเปลี่ยนแปลง มองโลกในแง่ดี ชอบกิจกรรมท้าทาย เป็นคนเปิดเผยความรู้สึก
-ต่อมาจุงได้เพิ่ม บุคลิกภาพแบบกลางๆ (Ambivert) ซึ่งมีลักษณะไม่เก็บตัวหรือเปิดเผยจนเกินไป
บันทึก
7
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย