13 พ.ย. 2021 เวลา 05:06 • ธุรกิจ
Ep1
#จัดการ Statement เป็น ภาษีเปลี่ยน
เปลี่ยนเป็น "จ่ายน้อยลง" ไม่โดน "ภาษีย้อนหลัง"
ถ้าเป็นคุณจะเอาไหม?
เหตุผลหนึ่งที่ต้องจัดการ!! เพราะ Statement
เป็นขุมทรัพย์ออนไลน์ ที่สรรพากรเห็นแล้ว
"ยิ้ม" หรือ "ยักษ์" ใส่!!
Statement ความหมายง่าย ๆ คือ รายงานสถานะ
การเงินเข้าออกทางบัญชีธนาคารของเจ้าของบัญชี
เป็นการสรุปเงินเข้าออกนั่นเอง
ในยุคนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการค้าขายทุกวันนี้
ส่วนใหญ่ขายผ่านช่องทาง "ออนไลน์" เพราะสะดวกรวดเร็ว
ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ
ซึ่งในการซื้อขายกันในแต่ละครั้ง ผู้ซื้อจะเลือกวิธีชำระเงิน
โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร สแกนคิวอาร์โค้ด หรือ
ผ่านแอพเป๋าตังค์ แล้วแต่ว่าใครจะสะดวกใช้ช่องทางไหน
สุดท้ายเส้นทางการเงินเข้าออกจะมาอยู่ในบัญชีธนาคาร
ของผู้ขายจะเป็น "รายได้" ส่วนฝั่งผู้ซื้อจะเป็น "รายจ่าย".
หากย้อนไปเมื่อปี 2562 กรมสรรพากรได้ออกกฎหมาย
มาบังคับใช้เรื่องหนึ่งชื่อว่า "ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ"
โดยออกมาเพื่อบังคับให้สถาบันการเงิน(ธนาคาร)
และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายการทางการเงิน
ในปีที่ล่วงมาแล้วให้แก่สรรพากร
#ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ คือ ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน
มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดในปีที่ล่วงมาแล้วดั่งต่อไปนี้
1. ฝากหรือรับโอนเงินเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่
400 ครั้ง และมียอดรวมของเงินฝากหรือรับโอน
รวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป (ต้องมี 2 อย่าง
นับจำนวนครั้งและจำนวนเงิน ต่อหนึ่งธนาคาร)
2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่
3,000 ครั้งขึ้นไป (นับจำนวนครั้งอย่างเดียวไม่นับจำนวนเงิน
ต่อหนึ่งธนาคาร)
ปัจจุบันกฎหมายเรื่องนี้มีผลบังคับใช้แล้วครับ!! ย้ำบังคับแล้ว
โดยให้สถาบันการเงิน(ธนาคาร)และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
มี "หน้าที่" นำส่งข้อมูลให้แก่สรรพากรปีละครั้ง โดยนำส่ง...
ครั้งแรก ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
ครั้งที่สอง ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564
ครั้งที่สาม ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565
ครั้งที่...ฯ
ไปเลื่อย ๆ จนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
ถ้าตราบใดยังไม่มีการแก้ไข ก็ต้องรายงานให้สรรพากรต่อไป
มาถึงตอนนี้ ในเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว
คุณ ลองถามใจตัวเองว่าที่ผ่านมา "โดนหรือเปล่า"
มีความเสี่ยงไหม ทำอะไรไว้หรือเปล่า?
#คุณยังไม่ต้องตอบผมตอนนี้!!
ผมขอใช้สิทธิ์ตอบให้คุณทั้งหลายรู้ว่า ที่ผ่านมา และตอนนี้
มีเพื่อน ๆ บางคนที่ค้าขายออนไลน์ ร้านค้าประชารัฐ และ
ร้านค้าคนละครึ่ง ต่างได้รับจดหมายปิดซองจากสรรพากรส่งตรงถึงแล้ว
คงไม่ต้องบอกนะครับ เนื้อในจดหมายบ่งบอกสื่อถึงเรื่องใด?
ดังนั้น เมื่อข้อมูลรายการทางการเงิน ได้ไปอยู่ในมือสรรพากรแล้วนั้น
ก็ไม่ต่างอะไรกับสต๊อกสินค้าของร้านค้า เพียงจะหยิบมาใช้ประโยชน์
เมื่อไร ตาม "สภาพ" ที่เหมาะสมเท่านั่นเอง
แต่ถ้าคุณคิดว่ายังไม่อยากให้สรรพากรหยิบคุณมาละก็
ผมมีทางออก มีวิธีการ ที่จะทำให้คุณหมดกังวลเรื่องภาษี
และเมื่อคุณได้จัดการกับมันแล้ว จะทำให้คุณ...
#จ่ายภาษีน้อยลง
#ไม่โดนภาษีย้อนหลัง
เพียงแค่คุณพิมพ์คำว่า "ติดตาม" และ "แชร์" บทความนี้
ผมจะมาเขียนบทความดี ๆ ให้คุณได้ติดตามต่อไป
#เพจ : รู้รอบตอบประเด็นภาษี
#อาจารย์ธนเดช บุญสันเทียะ
หน้าที่ผม ที่จะทำให้คุณ เสียภาษีน้อยลง
โฆษณา