14 พ.ย. 2021 เวลา 04:32 • การศึกษา
ความสำเร็จมันเป็นผลลัพธ์จากการลงมือทำ
.
การที่คนเราจะบอกว่าอะไรสำเร็จหรือไม่สำเร็จต้องมีองค์ประกอบของการ​ action เสมอ​
.
เช่น​  นายเต่า นักกีฬาชกมวยได้รับรางวัลชนะเลิศกีฬาโอลิมปิก​ ความสำเร็จและเกียรติยศของนายเต่านี้​ มีที่มาจากการฝึกซ้อมอย่างมีวินัยสูงกว่าคนทั่วไป​ และเป็นเวลาต่อเนื่อง​ ยาวนานเพียงพอที่จะทำให้นายเต่ามีสมรรถนะร่างกายเหมาะสมเพียงพอที่จะได้รับคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ​
.
ลองคิดเล่นๆ​ ว่า​ ถ้านายเต่าไม่ได้รักกีฬาชกมวยขนาดถึงต้องยอมแลกหลายอย่างในชีวิตเพื่อการชกมวย​ เช่น​ ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนฝึกซ้อมหนักกว่าคนอื่น​ ยอมตื่นเช้ามาวิ่งทั้งที่คนอื่นสามารถนอนตื่นสายได้อย่างสบายๆ​
.
เช่นเดียวกัน​ ใช้วิธีการ​ analogy เทียบกับตัวเองได้ว่า ถ้าเราต้องการเป็นนักกีฬาชกมวยที่มีความสำเร็จขั้นสูงอย่างเช่นนายเต่า​เราก็ต้องฝึกฝนตัวเองอย่างหนัก​ ด้วยความสม่ำเสมอ​ต่อเนื่อง​ ยาวนานเพียงพอเช่นกัน
.
คำถามคือ​ เมื่อเราตัดสินใจว่าจะสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว​ สิ่งนั้นอาจเรียกว่า​ ชีวิตมีเป้าหมาย​ ผู้เขียนชอบคำนี้มากๆ​ เพราะทำให้คนพูดดูเป็นคนมีเสน่ห์ขึ้นมาอีก​ 30​ เปอร์เซ็นต์​
.
เอาล่ะเมื่อเลือกเป้าหมายส่วนตัวได้แล้วนะ​ เช่น​ ถ้าเป็นนักเรียนก็คงอยากได้เกรด​ A ถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัยคงอยากได้เกียรตินิยม​ ถ้าเป็นพนักงานคงอยากได้ตำแหน่งพนักงานดีเด่นประจำบริษัทหรือได้เป็นผู้จัดการภายในเวลาอันสั้น​ ถ้าเป็นพ่อแม่ก็คงอยากให้ลูกมีความสุขความสำเร็จ​ ถ้าเป็นครูอาจารย์คงอยากให้ลูกศิษย์มีวิชาความรู้ใช้เป็นทักษะแก้ปัญหาให้ตัวเองและคนอื่น​จนกระทั่งรับใช้สังคม!
.
แต่ปัญหาส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่คือ​ มีเป้าหมายแล้วไม่สามารถจดจ่อกับมันได้อย่างยาวนาน​ หรือมีความลำบากและรู้สึกต้องฝืนใจตัวเองทุกครั้งที่ลงมือทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้​  ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในนั่นเช่นกันจึงเข้าใจประสบการณ์เช่นนี้ดี
.
อย่างไรก็ตามแม้คนที่สามารถฝืนตัวเองให้ทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ​ สม่ำเสมอ​ ต่อเนื่อง​ ยาวนาน​ จนเกิดผลลัพธ์จะเป็นคนที่น่าชื่นชมนับถืออย่างยิ่งที่สามารถเอาชนะใจตัวเองได้อย่างดี​ มันแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นคนจริง​ และมีการควบคุมตัวเองได้ดี​ื​ แต่ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่สามารถเอาชนะใจตัวเองได้เป็นคนที่แย่หรอกนะ​ มันไม่มีอะไรแย่ทั้งสิ้น​ มันมีแต่รู้หรือไม่รู้​ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ไง  เลยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
.
ข้อดีของคนมีวินัย​ คือ​ ทำอะไรสำเร็จ​ แม้ไม่อยากทำ​ แม้ต้องฝืนใจ​ แต่ได้ผลลัพธ์แน่นอนเพราะเขามีพลังใจที่จะควบคุมตัวเองให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง​ สม่ำเสมอ​ สำเร็จ​ แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน​ คือ​ เครียด​ จริงจัง​ เป๊ะ​ ถ้าฝึกวินัยด้วยการฝืนใจตนเองให้ทำจนสำเร็จ​ จะสร้างนิสัย​นิยมความสมบูรณ์แบบอย่างไม่รู้ตัว​ จนกลายเป็นคนเถรตรง​ เหมือนไม้บรรทัดที่คอยวัดคนอื่น​ ถ้าเขาไปเจอคนที่แสดงอาการขี้เกียจหรือคนหย่อนวินัยนะ​ อยู่กันไม่ได้แน่นอน​ ซึ่งก่อให้เกิดความกดดันและความเครียดให้คนรอบข้างไปด้วยแทนที่จะได้ประสิทธิภาพสูงกลับมีแต่ความทุกข์ใจเพราะเจอพายุกดดัน​
.
ข้อดีของคนไม่มีวินัย​ คือ​ ทำอะไรก็เน้นความสบาย​ ความสุข​ ความพึงพอใจของตัวเองไว้ก่อน​ ไม่เครียด​ หน้าไม่แก่​ จิตใจแจ่มใส​ ชีวิตเบิกบาน​ ข้อเสีย​คือ​ ไม่สามารถรักษาความต่อเนื่อง​ สม่ำเสมอ​ จนเกิดผลลัพธ์เหมือนคนมีวินัยได้​ เพราะเป็นคนไม่บังคับตัวเองและไม่บังคับคนอื่น​ ไม่คาดหวังอะไรกับใคร​ แตกต่างคนละขั้วกับคนมีวินัยเลย
.
คนที่มีวินัย​ เหมือนจะดีในแง่การลงมือทำและได้รับผลลัพธ์แต่สิ่งที่ต้องแลกคือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง​ ปัญหาที่เขาเจอบ่อยๆ​ คือ​ ไม่ค่อยพอใจคนอื่น​ ส่วนคนไม่มีวินัยจะหาทางทำงานที่อาศัยเครื่องมือทุ่นแรง​ นั่นคือ​ ความช่วยเหลือจากคนอื่น​ เครื่องจักร​ นวัตกรรม​และใช้ประโยชน์จากระบบ​ และต้องเอาเวลาไปพักผ่อนหรือทำสิ่งที่ไม่เคยทำ​ เพราะทนไม่ได้กับความเครียดจากการฝืนใจให้ทำสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน
.
คนมีวินัยเข้าใจว่าสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ดีอยู่แล้วแก้ยาก​ ถ้าไม่แก้ไขก็ให้เครียดต่อไป​  ส่วนคนไม่มีวินัยแก้ไขด้วยคำถามว่า​ ทำไปทำไม​ จุดมุ่งหมายของสิ่งนี้คืออะไร​ เมื่อ​why มากพอจะเป็นแรงผลักดันให้คนขาดวินัยยึดอยู่กับเป้าหมายได้อย่างมีความสุข​ พบความสำเร็จ​ จิตใจเบิกบาน​
.
ถ้าผู้อ่านเป็นคนมีวินัยสูงก็คงไม่ใช่ปัญหา​ แต่ถ้าเป็นคนขาดวินัยล่ะ​ ให้เริ่มถามตัวเองว่าทำสิ่งนั้น​ ไปเพื่ออะไร​ (Why) มันมีข้อดี​ คือ​ คุณสามารถเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ทำ​ เพราะไม่มีเหตุผลที่จะทำ
.
บทสรุป​ ของนายเต่านักกีฬาทีมชาติ​ เขามีเป้าหมายชัดเจนที่จะเป็นนักกีฬามวยระดับชาติ​ และเขารู้เหตุผลว่าตัวเองทำไปเพื่ออะไร​ และทำไมต้องทำ​ จึงทำให้เขามีแรงผลักดันจากภายใน​ ให้ฝึกซ้อมอย่างหนัก​ โดยไม่ย่อท้อจากความกดดันจากภายนอก​ จนได้รับชัยชนะในที่สุด​ ด้วยจิตใจที่เบิกบาน
Cr.​ แรงบันดาลใจจากหนังสือ​ Start with why
โฆษณา