Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้มีเรื่องเล่า
•
ติดตาม
14 พ.ย. 2021 เวลา 12:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
🏃♂️✨จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วเเสง เเล้วการรับรู้เวลาของเราจะเป็นยังไง⁉️ เห้ยยสุดยอดด อยากรู้ใช่มั้ยหล่ะ วันนี้เรามีคำตอบ(ในเชิงทฤษฎี)
1
ขอบคุณภาพจากhttps://tuemaster.com/blog/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87/
หลายๆคนอาจพอรู้มาบ้างแล้วว่า ยิ่งมีความเร็วมากขึ้น เวลาของนักเดินทางก็จะเดินช้าลง โดยแสงนั้นเป็นทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และอนุภาคที่เรียกว่า ‘โฟตอน’ (Photons) ซึ่งจากประสบการณ์ ณ ความเร็วของอนุภาคโฟตอน พวกมันจะไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของเวลา! ซึ่งนี่ขัดต่อแนวคิดที่ควรจะเป็นในการรับรู้เวลาของสมองเราอย่างถึงขีดสุด
และที่น่าตกใจไปไม่แพ้กันก็คือ ณ ความเร็วแสงอนุภาคโฟตอน ก็จะไม่รับรู้ถึงระยะทางด้วย! นี่ก็หมายความว่า จากมุมมองของเรา แม้จักรวาลจะถือกำเนิดขึ้นมาจากบิ๊กแบงร่วมกว่าหมื่นล้านปปีเเม้แสงจะเดินทางมาไกลมานับหมื่นล้านปีแสงแล้ว แต่จากมุมมองประสบการณ์ของอนุภาคโฟตอน ที่อยู่ใกล้กับจุดเริ่มต้นของบิ๊กแบง พวกมันกลับไม่รู้เลยว่าเวลานั้นคืออะไรหรือระยะทางคืออะไร เพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่มีตัวตนสำหรับพวกเขา
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการเดินทางไปสักที่หนึ่งในอวกาศ และเราต้องการเดินทางด้วยความเร็วที่สูงมากๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความเร็วของเราเข้าใกล้แสง จะทำให้นาฬิกาของเราจะเริ่มเดินช้าลงกว่าคนบนโลกมาก
ตัวอย่างที่2 ถ้าให้นักบินอวกาศวัยกลางคนคนหนึ่งเดินทางไปกับยานอวกาศ ที่มีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง ในขณะที่เราเดินทางไปนั้น เขามีลูกชายอยู่ 1 คน เขาไปหลายปี เมื่อเขากลับมาอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อเขาลงมาจากยานอวกาศ ลูกชายของเขาที่มารอรับเขาอยู่นั้นกลายเป็นคนแก่ ในขณะที่ตัวนักบินอวกาศเองก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก
แล้วมีอีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ หากเราท่องไปในอวกาศด้วยความเร่งคงที่ 1 g เราจะสามารถเดินทางข้ามอวกาศระหว่างดวงดาวไปไกลนับพันล้านปีแสงได้ภายในช่วงชีวิตของมนุษย์เพียง 1 คน! และแน่นอนว่าเมื่อครั้งที่เราเดินทางกลับมาถึงโลก อารยธรรมมนุษย์ก็ได้ล่วงเลยไปสู่อนาคตแล้วนับพันล้านปี
ซึ่งจากประสบการณ์เข้าใกล้กับความเร็วแสงนี้ เวลาที่เราใช้เดินทางก็จะน้อยลง รวมถึงระยะทางก็จะสั้นลงด้วย ซึ่งเราอาจจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ค่าของตัวเลขเข้าใกล้ 0 ไม่ว่าจะเป็นเวลาหรือระยะทาง
เเต่น่าเสียดายจังที่เรายังไม่สามารถสัมผัสประสบการณ์นั้นได้ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
👉https://www.sciways.co/does-light-experience-time/
👉https://guru.sanook.com/24514/
ความรู้
วิทยาศาสตร์
ฟิสิกส์
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย