16 พ.ย. 2021 เวลา 16:44 • การเมือง
"ไอติม พริษฐ์" ชี้ร่างแก้ไข รธน.ส่อแท้ง แต่สังคมต้องได้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาควรยุบเหลือสภาเดี่ยว "นักวิชาการ" แนะทบทวนบทบาทส.ว.เป็นเครื่องมือฝ่ายบริหารมาตลอด ยังจำเป็นหรือไม่
รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองว่า โอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านเป็นไปได้ยาก แต่ความสำเร็จของการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่ร่างจะผ่านหรือไม่ แต่ประเด็นอยู่ที่การขับเคลื่อนวาระทางสังคมที่จะไปต่อมากกว่า มีหลายประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างเช่น เรื่องสภาเดี่ยวสภาคู่ ถ้าเป็นเมื่อก่อนผู้ที่ไม่ได้ติดตามการเมืองอาจจะไม่ได้เข้าใจระบบรัฐสภา หรือจำเป็นต้องมีส.ว.หรือไม่หรือ รวมไปถึงประเด็นบทบาทของส.ว.ที่ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย กระทำตามบทบาทหน้าที่จริงหรือไม่
ระบบสภาสูง หรือการมีอยู่ของส.ว.เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก เพราะการมีสภาสูงหากดูระบบของแต่ละประเทศต้องดูก่อนว่า มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร บางประเทศมีส.ว.เพื่อคนกลุ่มน้อยหรือเป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ ถ้าหากประเทศไทยไหนที่ไม่ได้มีวัตถุประสงคืชัดเจน ส.ว.ก็ไม่จำเป็น หากดูระบบรัฐสภาทั่วโลกเป็นสภาเดี่ยวหลายประเทศ ก็มีแค่ ส.ส. ส่วนบริบาทของการเมืองไทย ปฎิเสธไม่ได้ว่า ส.ว.กลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร นายกฯรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งขึ้นมา มีแค่ปี 2543 ที่ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็เกิดปัญหาสภาผัวเมียตามมาอีก ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า ส.ว.ยังจำเป็นอยู่หรือไม่
แต่อีกประเด็นที่มีข้อวิพากษ์วิจารณ์เยอะ คือ คำถามที่ว่าถ้าเป็นสภาเดี่ยวจริงๆ อาจจะทำให้กลายเป็นสภาเผด็จการ เนื่องมาจากไม่มี ส.ว.เข้ามาถ่วงดุล ส.ส. ก็อาจจะเข้ามาครอบงำการเมือง อาจารย์ยุทธพร มองว่า ในแง่การตรวจสอบถ่วงดุล อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งต้องได้รับเจตจำนงค์ของประชาชน แต่ ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันนั้นไม่ใช่ การจะมีหรือไม่มีส.ว.ไม่ได้เป็นตัวสะท้อนความต้องการของประชาชนโดยตรง ซึ่งบทบาทจะต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 เรียกว่าฉบับรัฐธรรมนูญนิยม มีความเชื่อว่า ถ้ากลไกต่างทำงานดี กลไกการเมืองจะเข้มแข็งไปด้วย แต่จุดอ่อนคือการขาดความเข้มข้นในการตรวจสอบ ดังนั้นทางออกคือ ต้องสร้างระบบการติดตามที่ดีในระบบรัฐสภา และทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง มีความยึดโยงกันเป็นสถาบันมากกว่านี้ ตรงนี้จะต้องพิจารณาดีๆเพราะอาจจะหลงประเด็นกันได้
ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ กลุ่ม Re - solution ระบุว่า การยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญพูดตามตรงก็ต้องหวังให้กฎหมายผ่าน นึกถึงคนที่ลงแรงร่วมกับเราในแคมเปญนี้ ประชาชนกว่า 1 แสนคน ถ้าเรายอมรับความจริงมีโอกาสที่เราลงแข่งแล้วอาจจะแพ้ คิดว่าอย่างน้อยการยื่นแก้ไขร่างครั้งนี้จะเป็นการรณรงค์ทางความคิด 1 คน 10 คน 100 คนที่เคยคิดว่ารัฐธรรมนูญไม่มีปัญหาแต่พอฟังการอภิปรายแล้วจะเข้าใจว่าจำเป็นต้องแก้ไข เข้าใจเรื่องสภาเดี่ยว การปฎิรูปองค์กรอิสระเป็นการขยับเขยื่อนทางความคิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อระบบประชาธิไตยไทยในอนาคต
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสภาเดี่ยวที่หลายประเทศที่ปกครองด้วยระบบประชาติธิปไตยก็ใช้ระบบสภาเดี่ยวทั้งนั้น เช่น เดนมาร์ค นอร์เวย์ สวีเดน ทั่วโลกเป็นอะไรที่ปกติมาก ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องสภาเผด็จการ คำถามคือ สิ่งที่เป็นตอนนี้ไม่ใช่เผด็จการรัฐสภาหรือ คสช. ตั้งคนของตัวเองขึ้นมาตรงนี้คือตัวอย่างที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เป็นโจทย์ยากที่ต้องมาคุยกันต่อว่า ถ้าเป็นสภาเดี่ยวจริงจะสร้างกลไกในการตรวจสอบให้เข้มข้นได้อย่างไร
เบื้องต้นหากพรุ่งนี้ร่างไม่ผ่าน ยังไม่ได้วางแนวทางการเคลื่อนไหวอะไรไว้ แต่คงเดินหน้าต่อว่าเราจะแก้เป็นรายมาตราต่อได้หรืออาจจะต้องปลดล็อกเพื่อเปิดทางให้มีการแก้ทั้งฉบับจริงๆ
เปิดโต๊ะข่าว PPTV
โฆษณา