17 พ.ย. 2021 เวลา 01:34 • ปรัชญา
เราควรทำความเข้าใจในคำว่าจิต ที่เป็นตัวเราเป็นนามธรรมมาอาศัยกายมนุษย์ นั้นเป็นอย่างไร มันก็เรื่องที่ควรเรียนรู้จักตัวเราเอง นั้นมาอาศัยกายบิดามารดาอยู่ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีวิญญาณหกที่ไปสัมผัสเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้มีอารมณ์นึกคิดมีโลกโกรธหลง ทะเยอทะยานแล้วมันเกิดเป็นกรรม กรรมนั้นมันเป็นลักษณะอย่างไร เป็นวิบากต้องชดใช้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วก็ยังมีเรื่องอุปาทานเกิดขึ้นอีก ในคำว่าชีวิต ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม วิญญาณหกนั้นเป็นไฟนั้นจริงหรือไม่ เพราะอะไร เราก็เรียนรู้ขึ้นมา ให้รู้จักตัวเรา ในคำว่าจิต ทำไมเรื่องราวของจิต จึงมีเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด เกิดเป็นสัตว์นรก อสุรกาย เทพยดาอินทร์พรหม เป็นเพราะอะไร แล้วจิตเราจะเดินทางไปทางไหน เมื่อออกจากสังขารนี้
เราเรียนรู้เรื่องราวของจิต อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายนี้ ทำให้จิตเราใช้กายวาจาใจ ไปคล้องเวรกรรม เข้ามาหาตน ตนเองไปนำมาเอง เราเรียนรู้เรื่องราวของจิต เพื่อแก้ไขจิตของเราเอง ที่มีเพียงกายมนุษย์เท่านั้น ที่สามารถจะกระทำได้ แก้ไขช่วยเหลือจิตตัวเองได้ สังขารอื่นนั่นเป็นนามธรรม ไหวไปไหวมา ไม่สามารถจับมาอยู่ที่กายอย่างมนุษย์นี้ได้ ไปอยู่สังขารนามธรรม สังขารทุกข์ก็มีแต่ทุกข์อย่างเดียว สังขารที่มีสุขก็ลืมทุกข์เพราะมีแต่สุข หมดบุญหนุนนำ ก็ต้องมาเกิดเป็นมนุษย์สะสมแก้ไขกันใหม่ ทำขึ้นที่สูงๆอีก
จิตคืออะไร
ตัวเราเป็นจิตดวงหนึ่งที่มาอาศัยอยู่ในกายเป็นสังขารที่ก่อตัวขึ้นมาด้วยอากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อายตนะสิบสอง พร้อมด้วยจิตรวมกันเป็นสังขาร
อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมตัวกันด้วยอายตนะที่ก่อตัวรวบรวมกรรมประกอบขึ้นมาจากกรรมที่ทำไว้ จิตนั้นเป็นสังขตที่พัวพันกับธาตุสี่อายตนะและอารมณ์ จิตเราจึงหลงวนเวียนกับโลกที่เกิดขึ้นในตน ยึดถือในสิ่งที่เกิดในตนทั้งอุปทาน อารมณ์ วิบากที่เกิดในตนในลักษณะอัตตา เป็นกิเลสที่ร้อยรัดสรรพสัตว์ไว้ด้วยนิสัยสันดานสัญชาติญาณให้จมอยู่ในเวรกรรม โดยมิมีสติตื่นขึ้นมาดูกลั่นกรองหาเหตุหาผลให้รู้แจ้งสิ่งที่เกิดในตนเป็นลักษณะของอารมณ์ที่เป็นศัตรูเข้ามาทำร้ายจิตของตน อารมณ์เหล่านี้ไม่มีตัวตน
หากจิตเรามีสติรู้สึกตัวระลึกรู้จักสิ่งที่เกิดในตนนั้นไม่มีตัวตน หากจิตไปยึดถืออารมณ์ไว้ ความเป็นตัวตนของอารมณ์ก็มีอิทธิฤทธิ์ต่อจิตของตน ต้องเป็นทาสของอารมณ์ ผู้ที่มีสติระลึกรู้ก็รักษาจิตของตนก็ระมัดระวังจิตของตนให้ปราศจากอารมณ์เข้ามาคลุกเคล้าจิตของตน ให้จิตอิสระจากอารมณ์ด้วยสติไม่ประมาทอารมณ์ที่เกิดในตนเพื่อมิให้เกิดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
การปฏิบัติธรรม เพื่อให้รู้จักตัวเองหรือจิตของตัวเองจึงเป็นเรื่องยาก
จิตยังเป็นที่อยู่ที่อาศัยของตัวกระทำและบุญบารมี
ตัวกระทำ คือ ลักษณะของพฤติกรรม กิริยา ความคิดเห็นที่เราใช้ เคลื่อนไหวร่างกาย มีกิริยากายวาจาใจ ไปตามอารมณ์ ผู้ที่ศึกษาเรื่องอารมณ์ความคิดเห็น เค้าทำจิตศึกษา ไปจนเห็นอารมณ์นั่นเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ตัวกระทำที่เราใช้นั่น มันเป็นอย่างไร ที่จะเป็นปัจจัยตังของจิตที่ศึกษาขึ้นมาให้รู้จัก แล้วเราจะค่อยๆเข้าใจคำว่า ที่เรียกว่าอวิชชานั้นเป็นอย่างไร ไม่ใช่แค่พูดว่าอวิชชาๆที่คนเค้าพูดกันไปทั่ว
ถ้าหากสนใจอยากศึกษาเรื่องนี้จริง ควรทำอย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องของนามธรรมล้วนๆ จึงต้องอาศัยการฝึกหัดปฏิบัติขึ้นมา ลองอ่านเรื่อง จิตเหนืออารมณ์ https://www.blockdit.com/posts/5f3f591a44419911479308c0
อารมณ์ นั้นเกิดขึ้นมาก็ให้ทิฐิความคิดเห็น ชอบใจไม่ขอบใจ มีอารมณ์นานาชนิด หลายแบบ แต่เราก็ไม่เคยสังเกต ให้รู้จักเค้า เมื่อเกิดมีอารมณ์ อารมณ์นำพาจิตไปทำอะไรบ้าง ทำไมเค้าถึงเรียกว่าอารมณ์พาไปสร้างกรรม แล้วอารมณ์นั้นความคิดทิฐิมาจากตรงไหนบ้าง ออกมาจากตรงไหน วิญญาณทั้งหกที่ไปสัมผัสอะไรต่างๆนั้นทำให้เกิดอะไรบ้าง มีอะไรอยู่ในวิญญาณทั้งหกบ้างที่เราสะสมไว้ เราจะหยุดได้มั้ย จะหยุดอารมณ์ ต้องทำอย่างไรบ้าง หยุดอารมณ์ได้ ทำให้เกิดอะไรขึ้นมา จิตที่ไม่มีอารมณ์เข้ามาปรุงแต่งเป็นอย่างไร เป็นสุขหรือทุกข์
โฆษณา