18 พ.ย. 2021 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
โดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ ราคาและน้ำหนักเท่าไรจึงจะต้องลงทะเบียนและขออนุญาตทำการบินในประเทศไทย
ที่มา กองบัญชาการกองทัพบก
การถ่ายภาพมุมสูงในปัจจุบัน ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอย่างเช่นในอดีตแล้ว รวมถึงการถ่ายภาพบนผิวน้ำที่อยู่ห่างออกไปจากฝั่ง หรือแม้แต่การถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายวนรอบตัว ก็ไม่ต้องลุ้นกับการเวียนศีรษะของตากล้อง หรือลงทุนในอุปกรณ์ราคาแพงๆอีกต่อไปแล้ว
เพราะในปัจจุบันเรามีโดรนที่ติดตั้งกล้องคุณภาพสูง สามารถถ่ายภาพได้ละเอียดขนาดที่นำไปฉายในโรงภาพยนตร์ได้สบายๆ และภาพก็ไม่สั่นไหวเหมือนในอดีตด้วย และเราก็สามารถเห็นภาพในมุมบน หรือมองมาจากทะเลเข้าหาฝั่งในแบบที่สวยงามน่าชมได้
ที่มา YouTube Channel  birdbt
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการใช้โดรนต้องขออนุญาตกับ กสทช. และการขออนุญาตทำการบินกับกรมการบินพลเรือนหรือไม่
คนส่วนใหญ่มักจะไปเพ่งเล็งในเรื่องของน้ำหนักของโดรน ที่กฎสากลกำหนดไว้ว่าโดรนขนาดน้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม ไม่ต้องขออนุญาติ แต่กฎนี้ไม่สามารถใช้ในประเทศไทยได้ หากใครเผลอทำการบินโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจจะโดนจับเพราะใช้โดรนโดยไม่ได้รับอนุญาตได้
ในต่างประเทศใช้กฎสากลร่วมกันว่า โดรนหรือวัตถุที่บินได้ซึ่งจะมีกล้องหรือไม่มีกล้องก็ตาม หากน้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม ถือว่าเป็นของเล่น สามารถนำไปบินในที่สาธารณะได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนและขออนุญาต
Credit: www.walmart.ca
แต่ไม่ได้หมายถึงว่าสามารถทำได้อย่างอิสระเสรี นำโดรนไปบินที่ไหนก็ได้บินอย่างไรก็ได้ ซึ่งกฎของสากลจะวางไว้หลวมๆ แต่มีเนื้อหาต่อท้ายว่า “ถ้าใครที่มีผลกระทบหรือถูกละเมิดจากการบินก็สามารถฟ้องร้องได้”
กฎของประเทศไทยในการใช้โดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและราคา ไม่ว่าจะเป็นขนาดเดียวกันกับยุงสายลับที่หนักไม่กี่กรัม หรือโดรนขนาดที่สามารถขนส่งสินค้าได้ ไม่ว่าจะซื้อมาในราคาหลักร้อยหรือหลักหลายแสนก็ตาม ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหากว่าโดรนหรือวัตถุที่บินได้ ไม่ได้ติดตั้งกล้องถ่ายภาพไว้
แต่หากโดรนหรือวัตถุที่บินได้มีการติดตั้งกล้อง จะต้องทำการขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และทำใบอนุญาตขอบินกับกรมการบินพลเรือน สรุปว่าจะราคาน้ำหนักเท่าไรก็ตามหากติดตั้งกล้อง จะต้องทำการขออนุญาตมนทุกกรณี
1
Credit: https://www.roboticstomorrow.com/
น่าสงสัยเหมือนกันว่าหากยุงสายลับถ้าเข้ามาในประเทศไทย จะต้องขึ้นทะเบียนและขออนุญาตกับเขาหรือไม่ แต่ดูแล้วเข้าข่ายที่ต้องขออนุญาต ว่าแต่จะไปเก็บค่าขออนุญาตที่ใครมากกว่า เพราะเขาเข้ามาแบบสายลับ
1
การที่มีกล้องติดตั้งอยู่จะส่งผลให้มีโอกาสไปละเมิดผู้อื่นได้สูง หากไม่มีกล้องก็เพียงใช้บินเล่นเท่านั้น หากจะทำความเสียหายก็อาจจะไปเฉี่ยวชนหรือหล่นใส่ใครเข้าก็เท่านั้น
ในการทำใบอนุญาตบินก็ต้องมีการทำการประกันภัยไว้ด้วยสำหรับจ่ายชดเชยความเสียหาย การลงทะเบียนโดรนก็เหมือนกับการทำทะเบียนรถ ซึ่งจะทำให้สามารถติดตามหาเจ้าของได้ในกรณีที่เกิดความเสียหาย หรือสามารถติดตามทวงคืนได้หากถูกขโมยไป ส่วนการขอใบอนุญาตบินก็เหมือนเช่นเดียวกันกับในอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือจักรยานยนต์
ที่มา https://uav.caat.or.th/faq.php
ประการสำคัญคือ หากยังไม่ได้ทำการขึ้นทะเบียนกับ กสทช หรือยังไม่ได้ทำประกันภัยโดรน เราก็จะไม่สามารถนำโดรนไปลงทะเบียนกับกรมการบินพลเรือนได้ นั่นก็แสดงว่าบินขึ้นเมื่อไรก็จะถูกดำเนินคดีได้ในทันที
ถึงแม้ว่าจะเราจะขออนุญาตครบถ้วนแล้วก็ยังไม่สามารถนำไปใช้บินได้ เพราะต้องดูว่าสถานที่แห่งนั้นเป็นที่สาธารณะหรือที่ส่วนบุคคล หากเป็นที่สาธารณะก็ต้องทำการขออนุญาตเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้น เช่น เจ้าหน้าที่เขต ตำบล อำเภอ อบจ. อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ กรณีที่ส่วนบุคคลก็จะต้องขออนุญาตเจ้าของพื้นที่นั้นก่อน
เท่ากับว่าหากเราต้องการใช้โดรนที่ติดตั้งกล้อง เราจะต้องทำการลงทะเบียน ทำใบอนุญาตบินและขออนุญาตบิน กฎเหล่านี้ทำมาเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น สรุปว่ากฎหมายกำหนดไว้ว่าหากติดตั้งกล้องต้องขออนุญาตและลงทะเบียนในทุกกรณี แต่ถ้าไม่อยากลงทะเบียนก็เอากล้องออก ว่าแต่ใครจะอยากใช้โดรนที่ไม่กล้องกันหล่ะครับ
กฎเกณฑ์นี้จะทำตลาดโดรนราคาถูกหรือคุณภาพไม่สูงนักขายไม่ได้ เพราะการขออนุญาติใช้ค่าใช้จ่ายต่างกันไม่มาก แต่ดูแล้วน่าจะเป็นหลักพันเหมือนกัน หากซื้อโดรนราคา 2000 บาทมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาทในการขึ้นทะเบียน ไหนจะต้องขออนุญาตการใช้พื้นที่อีก ต่อไปเราคงไม่เห็นโดรนขนาดเล็กๆราคาถูกอีกต่อไปแล้ว
ที่มา:
 
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา