18 พ.ย. 2021 เวลา 02:28 • ประวัติศาสตร์
ได้โปรดอย่าได้ลืมเขา..อำพล ตั้งนพกุล
หรือ อากง sms ชายชราผู้เสียชีวิตในคุก
จากการจองจำคดี112และพรบคอมฯ รับโทษ20ปี
การนำมาตรา 112 มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
การไม่ให้สิทธิ์ในการประกันตัวจำเลย
และการให้จำคุก 20 ปี โดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน
อากง sms หรือ นายอำพล ตั้งนพกุล ชายชราวัย 61 ปี (อายุในขณะที่ถูกดำเนินคดี) เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์และพระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพรบ.คอมฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (2) และ (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องสรุปว่า “ระหว่างวันที่ 9-22 พฤษภาคม 2553 จำเลยใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวพิมพ์ข้อความอันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่นพระเกียรติยศ ใส่ความให้ร้ายเบื้องสูง” และส่งข้อความดังกล่าวไปยังนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ(นายกในขณะนั้น)
ศาลตัดสินลงโทษจำเลยเป็นเวลา 5 ปี จำนวน 4 กระทง
รวมจำคุกทั้งสิ้น 20 ปี
ฝ่ายนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข (ผู้กล่าวหาในคดีนี้) ระบุถึงกรณีอากงว่า
“ยังไงผมก็เลือกที่จะยืนอยู่ข้างความถูกต้อง
แม้จะต้องเจ็บปวดกับสิ่งที่เลือก”
หลังจากได้รับโทษ 5 เดือนเศษ อากงได้รับอิสรภาพนอกคุก แต่เป็นอิสระภาพหลังความตาย ขณะนั้นอายุ 64 ปี
❔อากงคือใคร?
นายอำพล ตั้งนพกุล อายุ 64 ปี เคยประกอบอาชีพขับรถส่งของ ในขณะที่ถูกดำเนินคดี ไม่ได้ประกอบอาชีพใด เนื่องจากอายุมากและพูดไม่ถนัดหลักการ เคยผ่าตัดมะเร็งใต้ลิ้นตั้งแต่ปี 2550 และอยู่กับภรรยาในห้องเช่าราคา 1,200 บาท ย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ
มีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลาน 3-4 คน และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆอีกเล็กน้อย
❕ถกเถียงและข้อสังเกต
กรณีอากงเป็นผู้กระทำผิดด้วยรายละเอียดอย่างไร?
—จำเลยให้การปฏิเสธตั้งแต่ถูกจับกุม โดยกล่าวว่า
“ไม่รู้จักวิธีการส่งข้อความ sms ไม่เคยส่งsmsเลย เพราะส่งไม่เป็น มีโทรศัพท์ไว้สำหรับโทรออกอย่างเดียว และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ก็ไม่ใช่ของตน”
โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าผู้ส่งข้อความหักซิมทิ้งไปแล้ว จึงสืบเบาะแสจากหมายเลขประจำเครื่อง (IMEI)
ข้อสังเกต
(1)ช่วงเวลาที่อากงสิ้นอิสรภาพครั้งแรกเป็นช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โดยเหตุการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจาก เหตุการณ์สลายการชุมนุนคนเสื้อแดงไม่ถึงสามเดือน
ช่วงนั้นการกล่าวหาว่าฝ่ายตรงข้ามไม่รักเจ้า ยังคงเป็นประเด็นอยู่
เป็นข้อสรุปว่า มาตรา 112 คือการนำสถาบันมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ทำให้อากง ซึ่งไม่ใช่คนเสื้อแดง ไม่ใช่คนล้มเจ้า ต้องโทษคดีมาตรา112ด้วย
หลังถูกจับกุม นายอำพลถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 63 วัน
จึงได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553
ต่อมาเมื่อ 18 มกราคม 2554 นายอำพลถูกควบคุมตัวอีกครั้ง เมื่ออัยการมีคำสั่งฟ้องคดี
มีการขอประกันตัว แต่ได้รับคำปฏิเสธ
โดยศาลให้เหตุผลว่า
“ข้อเท็จจริงตามข้อหา การกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง และเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี”
ตรงจุดนี้มีข้อสังเกตว่า เหตุใดศาลจึงเชื่อว่า อากงทำผิด ทั้งที่ไม่มีการสืบพยาน หรือเป็นเพราะผู้ที่ต้องคดี ม.112 ที่ไม่ใช่คนมีชื่อเสียง ต้องถูกสันนิษฐานต้องเป็นคนผิด
คำพิพากษาจำคุก 20 ปี เมื่อ 23 พฤศจิกายน ปี 2554
ข้อกังขา
1.ข้อเท็จจริงของอีมี่ (IMEI)
เลขประจำเครื่องมือถือ หรือ อีมี่ ที่โจทก์นำมาเป็นหลักฐานในศาลว่า อากงส่งเอสเอ็มเอสไม่ตรงกับอีมีของมือถืออากง
เอมี่ก็สามารถดัดแปลงแก้ไขได้ในร้านมือถือทั่วไป สมมุติว่าเลขอีมี่ตรงกันจริง ก็ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นมือถือเครื่องเดียวกัน
ส่วนหนึ่งของคำพิพากษา
“แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าวไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำมีให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน” พิพากษาโดย นายชนาธิป เหมือนพระวงศ์
ข้อกังขา
2. ในเมื่อไม่สามารถสืบพยานได้อย่างชัดเจน เพราะเหตุใดจึงตัดสินได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำความผิด และล่วงรู้เจตนาภายในของจำเลยได้อย่างไร
หลังจากได้รับโทษ 5 เดือนเศษ อากงได้รับอิสรภาพนอกคุก แต่เป็นอิสระภาพหลังความตาย
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.10 น. ด้วยโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย
ที่มา:
บูรพา เล็กล้วนงาม, วิเคราะห์คดีอากง ความผิดปกติของมาตรา 112 และสังคมไทย, DNN TV
ย้อนคดีอากง, Voice TV
iLaw, คำพิพากษาคดีอากง sms / Judgement of Uncle SMS case
#ภาคีนักเรียนKKC
โฆษณา