18 พ.ย. 2021 เวลา 09:11 • ศิลปะ & ออกแบบ
อาคารกระทรวงพาณิชย์เก่า
ปัจจุบันคือ ตึกทำการของ มิวเซียมสยาม
จากการมาเยี่ยมเยือนหลายรอบ ไม่เคยประหลาดใจ หรือฉุกคิดได้เท่าครั้งนี้ เพราะมาชมหลังจากฟังเทปบรรยายของ
วทัญญู เทพหัตถี - ตึกเก่ามิวเซียมสยามและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของตามานโญ
เห็นตั้งแต่ปี 2551 สมัยเรียน สวนกุหลาบ เดินจากท่าเตียนมาเรียนทุกเช้าเพราะพ่อส่งขึ้นเรือท่ากองทัพเรือ เห็นตอนขุดค้นโบราณคดี เปิดหลุมให้เด็กมาขุดก็มีตอนนั้นอยากมาขุดด้วย จนมีงาน noise ที่จัดทุกฤดูหนาว ชอบบรรยากาศร้านอาหาร ของใช้สร้างสรรค์ งานดนตรี มีชาวต่างชาติคนไทย กินดื่มเสรีในสวนสนามหญ้าตัดฟ้าสีครามและแสงไฟ
เคยเห็นคราฟท์เบียร์แรกๆก็ที่นี่ พอๆกับการได้กิน ซัมโมซาร์ ครัังแรกงาน พม่าระยะประชิด
อาคารนี้สร้างสมัยร.5 ยุคท้ายๆ มีเทคโนโลยีซ่อนอยู่มากกว่าตาเห็น เพราะ สถาปนิก ตามาญโญ่ และวิศวกรที่ทำงานเป็นทีม อิตาลี สร้างสรรค์สุดฝีมือ ใจความหลักคือช่วงรอยต่อยุคสมัยใหม่
คอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่งมีใช้ ภาษาทางสถาปัตยกรรม มีผศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง - สถาปัตยกรรมอาคารกระทรวงพาณิชย์
ให้นิยามว่าเป็นแบบ คลาสสิก จะเน้นที่พัลลาเดียนก็ไม่น่าใช่ หรือโคโลเนียนก็ไม่เห็นด้วย เพราะเหตุผลหลายประการ เมื่อใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังจึงบางไม่หนาแบบเก่า แต่ใช้การทำผนังก่อสองชั้นเพื่อหลอกสายตาให้รู้สึกสง่า หนักแน่น มีช่องว่างระหว่างผนังด้านนอกและในพอคนเดิน อากาศผ่าน ลดร้อนและชื้น การตกแต่งจึงใช้แบบคลาสสิก ที่ลดทอนและสร้างใหม่ เช่นบัวหัวเสาที่มีลายผ้า การบิดองศาบัวหัวเสา คันทวยรองรับกันสาดแผ่นคอนกรีตหล่อที่ยื่นยาวออกมาเนื่องจากภูมิภาคนี้มีฝนตกบ่อยและหนักต่างจากตะวันตก
ความชื้นที่กัดกินอาคารแก้ด้วยกันสาด ช่องว่างระหว่างกำแพง ช่องลมเล็กๆที่ผนัง หรือแม้แต่แผ่นคอนกรีตโค้งหล่อสำเร็จที่วางใต้พื้นไม้ระเบียงทางเดินโดยด้านบนมีคานเหล็กเส้นแนวขวาง(ไม่ใช่วางแบบตารางเหมือนปัจจุบัน) กันความชื้นจากดินขั้นมาทำลายพื้นไม้ภายใน รวมถึงขอบบัวด้านฐานนอกอาคารที่ซ้อนและบานออกไปให้ฝนหยดลงห่างจากตึก
คานรับน้ำหนัก ที่แสดงถึงความคิดล้ำยุค ฝังบันไดไปที่ผนัง ยกให้บันไดสูงโปร่งจากทางเข้า คล้ายลอยได้เพราะมีไม้ปิดโครงโลหะที่ถ่ายน้ำหนักลงผนัง หรือการใช้น้ำหนักคานด้านบนแขวนรับพื้นชั้นสองแล้วถ่ายลงผนังด้านข้าง ทั้งหมดมีฝ้ากั้นชั้นบนกับล่างแบบคอนกรีตหล่อสำเร็จ ที่ต้องแม่ยำและวางแผนมาดี เพื่อการทำระบบน้ำไฟจะปิดตายแยกชั้น
คนไทยเริ่มรับได้กับบันไดอยู่เหนือหัว หลังจากอาคารตะวันตกมีมากขึ้น แต่อาคารนี้ใช้ห้องน้ำวางด้านหน้าของอาคารแทนการแยกหรือซ่อน โดยไม่ให้รู้เมื่อมองมา เพราะแบ่งผังจากการใช้งานและความสำคัญ
การใช้ทัศนมายา ตั้งแต่เมื่อได้รับงาน ผืนดินแปลงนี้เดิมอดีตสมัยร.3 เป็นวังเจ้านายใกล้ชิดกับงานเครื่องมุกที่ช่วยให้เกิดความรุ่งเรืองในการค้าและสร้างวัด ต่อมาเป็นที่ของกระทรวงแยกธาตุ(เกี่ยวกับการค้า) และการคลัง แปลงที่สร้างอาคารนี้จึงแคบ โดนบีบมุมอับ ตามาญโญ่ ได้เปลี่ยนวิธีคิด ตั้งอาคารทำมุมเอียง ไม่ขนานกับถนนสนามไชยที่มาจากวัดโพธิ์และวัดราชบพิตร วางสนามหญ้าและถนนเป็นวงกลม
เกิดมิติการใช้งานใหม่ จะมองอาคารได้จากสองทิศทาง เป็นผังเปิดมุม คล้ายผังที่ติดกันตรง สน.พระราชวัง(ตามาญโญ่ก็ออกแบบก่อสร้างอาคารนี้) ที่มีสถาปนิกอีกคนวางผังไว้ อีกทั้งทำอาคารให้สง่าด้วยการหลอมด้านหน้าเป็นสองชััน ดทนที่ความจริงอาคารสูงสามชั้น ชั้นล่างใช้ปูนหล่อเลียนแบบก้อนอิฐก่อเป็นฐาน ด้านบนสองชั้นรวมเป็นชั้นเดียว มีเสาแปะด้านหน้าหลอกเพื่อนำสายตา แต่ด้านหลังเป็นอาคารสามชั้นแบบปกติมีกันสาดแต่ละชั้น ต้องมองด้านข้างอาคารถึงเห็นรอยต่อประหลาดและฉลาดนี้
แบ่งอาคารภายในด้วยสี และลำดับความสำคัญ ผังแบบสมมาตร มีมุขยื่นประดับด้านหน้า เป็นแนวคิด คลาสสิกนี้ แต่ใช้เทคโนโลยีและความคิดใหม่ คำนึกการใช้งานและความสวยงามที่ลงตัว ช่องแสงรูปไข่ด้านบน หน้าต่างบานออกเอียง หรือการซ่อมบำรุงชั้นบนสุดที่เปิดหลังคาให้แสงส่องผ่าน การผสานความงามและการก่อสร้างที่แม่นยำ ทำสำเร็จมาประกอบ และพัฒนาจนสร้างพระราชวังมฤคทายวันด้วยระบบโครงสร้างหล่อสำเร็จส่งขึ้นรถไฟไปประกอบด้วยเวลาอันสั้นได้
ดีจังที่ได้ฟังและมองมุมใหม่ เพราะทำให้ใส่ใจในสิ่งเดิมๆมากขึ้น
ต่อจากนี้อาจมีตึกจิ๋ว ชุด Beside of Tamagno มาให้ชมกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา