19 พ.ย. 2021 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์
"ลอยกระทง" ไม่ได้เกิดในสมัยสุโขทัย แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมของหลายชนชาติ
14
เชื่อว่าหลายคนยังเข้าใจว่าประเพณีลอยกระทงเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย พร้อมๆกับตำนาน "นางนพมาศ" หรือ "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพราะเราถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กว่ามันเป็นเช่นนั้น
5
แต่ความจริงแล้วประเพณีลอยกระทงและนางนพมาศมาจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่3 ซึ่งถูกแต่งขึ้นมาเพื่อเป็นคู่มือสอนหญิงที่จะเข้ารับราชการ
3
พูดง่ายๆว่าลอยกระทงสุโขทัยและนางนพมาศเป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นมานั่นเอง แล้วประเพณีลอยกระทงจริงๆมีที่มาอย่างไรกันแน่
2
หากว่ากันด้วยหลักฐานทางโบราณคดี ประเพณีลอยกระทงน่าจะเริ่มในยุคอาณาจักรเขมรตามหลักฐานภาพสลักที่ปราสาทบายน
5
เป็นรูปนางในถือกระทงนั่งเรียงกันและลอยกระทงลงในแม่น้ำ ภาพนี้ถูกสลักขึ้นราวปี พ.ศ. 1750 หรือก่อนยุคสุโขทัยกว่า 100 ปี
ภาพจาก https://www.voicetv.co.th/read/535804
ชาวเขมรนั้นลอยกระทงเพื่อขอขมา "ผีน้ำ ผีดิน" ซึ่งคนในสมัยนั้นเชื่อว่ามีผีอยู่ในทุกสิ่ง และน้ำกับดินก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตและเพาะปลูก
2
ประเพณีลอยกระทงของเขมรได้กระจายไปทั่วดินแดนอุษาคเนย์ รวมถึงอาณาจักรอยุธยาที่รับวัฒนธรรมเขมรอยู่ก่อนแล้ว สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเมืองลุ่มน้ำ มีแม่น้ำไหลผ่าน แตกต่างจากสุโขทัยที่เป็นเมืองน้ำแล้ง ต้องขุดตระพังไว้เก็บน้ำ ซึ่งไม่เหมาะที่จะลอยกระทง
2
ภาพจาก https://scoop.mthai.com/specialdays/26.html
แต่การที่ไทยรับพุทธศาสนามาจากอินเดีย ทำให้ประเพณีลอยกระทงแบบเขมรที่ผูกโยงกับผีจึงแปรเปลี่ยนเป็นพระแม่คงคา เพื่อให้รู้สึกว่าเป็นประเพณีที่ศักสิทธิ์มากขึ้น
2
ส่วนการลอยกระทงในรูปแบบที่เห็นกันทุกวันนี้มาจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่3 ไม่ใช่ประเพณีเก่าแก่อะไร แต่ก็มีรากเหง้ามาตั้งแต่ยุคอาณาจักรเขมรตามที่กล่าวมา
2
รูปแบบของกระทงก็มีการปรับเปลี่ยนเรื่อยมาตั้งแต่การใช้ดอกบัวจนเปลี่ยนมาเป็นต้นกล้วยและใบตองแบบที่เราคุ้นตา
ในอาณาจักรอื่นๆเองก็มีประเพณีคล้ายกันนี้เช่นกัน อย่างจีนก็มีการลอยโคมที่มีลักษณะคล้ายกระทงของไทย แต่เป็นการลอยเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ
2
อินเดียเองก็มีเทศกาลที่คล้ายกันอย่าง "ทีปาวลี" เป็นเทศกาลแห่งแสงไฟอันเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะเหนือความมืดมิด ดังเช่นความดีที่อยู่เหนือความชั่ว ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับแม่น้ำคงคาแต่อย่างใด
1
ภาพจาก https://gqthailand.com/views/article/a-look-on-the-bright-side
อย่างไรก็ตามการมีประเพณีที่ทำให้เราได้หันกลับมาขอบคุณธรรมชาติก็ถือว่าเป็นเรื่องดี และช่วยกระตุ้นเตือนให้เรารักและดูแลสิ่งต่างๆรอบตัว
แต่หากประเพณีอย่างลอยกระทงที่ถกเถียงกันเรื่อยมาเกี่ยวกับปัญหาขยะและน้ำเน่าเสียจากกระทง อาจทำให้เราต้องกลับมาทบทวนกันอีกครั้งว่า เรากลายเป็นผู้ทำร้ายพระแม่คงคาซะเองหรือไม่
ภาพจาก https://travel.trueid.net/detail/3dpN8LnJPk3
โฆษณา