Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ReliveTimes
•
ติดตาม
19 พ.ย. 2021 เวลา 13:34 • ประวัติศาสตร์
ทำไม! ชาวกรีกโบราณนิยมสร้างรูปปั้นเปลือย? และเป็นศูนย์กลางในประติมากรรมกรีก!?
เราอาจจะคุ้นเคยหรือเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว กับรูปปั้นเปลือยเปล่า ที่มีการเปิดเผยร่างกาย ที่มักจะจัดแสดงตามนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์หรือตามวิหารของกรีก
ท่ามกลางประติมากรรมเก่าแก่มากมายที่ถูกค้นพบในโลกปัจจุบัน
ยุคกรีกและโรมันโบราณประติมากรรมส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นรูปสลักที่แสดงถึง การเคารพต่อเทพเจ้าหรือไว้เพื่อเชิดชูเกียรติยศต่อพระมหากษัตริย์ของพวกเขา เช่นประติมากรรมแกะสลักเทพีวีนัสหรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า วีนัส เดอมิโล รูปปั้นแกะสลักร่างของเทพีสาวแห่งกรีก ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความสวยงาม
Lely's Venus (Aphodite) หมอบอยู่ที่อ่างอาบน้ำ
ศิลปะคลาสสิก กรีกโบราณมีความโดดเด่นท่ามกลางวัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ในด้านการพัฒนา การพรรณาถึงร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ แต่ในอุดมคติโดยทั่วไปแล้วรูปร่างผู้ชายเปลือยมักเป็นจุดสนใจ
ภาพเปลือยในศิลปะกรีกถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อแสดงวีรบุรุษจากตำนาน เทพเจ้า นักรบ หรือวีรบุรุษสงคราม
เมื่อก่อนนั้น สังคมในสมัยกรีกโบราณจำกัดภาพเปลือยของผู้หญิง ยกเว้นเมื่อถูกนำมาแสดงในระดับเล็กน้อย
ชาวกรีกจะยึดมั่นในเหตุผลและความสมบูรณ์ของมนุษย์ เพราะถือว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นความงามตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับ ภูเขา ต้นไม้ สายน้ำ ดังนั้นศิลปกรรมของกรีกจึงแสดงถึงความสมบูรณ์ของร่างกายมนุษย์อย่างชัดเจน
งานประติมากรรมภาพคนจะแสดงให้เห็นถึงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ปราศจากเครื่องนุ่มห่ม ส่วนมากเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่าง ๆ วัสดุที่นิยมใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดง และดินเผา ในสมัยต่อมานิยมสร้างจาก สำริด และหินอ่อนเพิ่มขึ้น ในสมัยแรก ๆ รูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิต
ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก ( 200 ปีก่อน พ.ศ. ) เริ่มมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์มากขึ้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เทพเจ้า รูปนักกีฬา รูปวีรบุรุษ รูปสัตว์ต่าง ๆ ในยุคหลัง รูปทรงจะมีความเป็น มนุษย์มากขึ้น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างาม มีการ ขัดถูผิวหินให้เรียบ ดูคล้ายผิวมนุษย์ มีลีลาที่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ ประติมากรรมกรีก จัดเป็นยุคคลาสสิก ในวงการศิลปะ
จะเห็นได้ว่า งานประติมากรรมของกรีก จะนิยมสร้างสรรค์แนวเหมือนจริง(Realistic) โดยเฉพาะสรีระของมนุษย์
ชาวกรีกถือว่าร่างกายมีความงดงามยิ่ง จึงนิยมปั้นและแกะสลักรูปคนเปลือยกายไว้มากมาย
งานประติมากรรมลอยตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เทพธิดาวีนัส (Venus) รูปเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) รูปนักกีฬาไมรอน(Myron) ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปเด็กหนุ่ม เป็นรูปเปลือยที่มีสัดส่วนของร่างกาย ตลอดจนการจัดวางท่วงท่าได้อย่างสวยงาม
ชาวกรีกเป็นชาติแรกที่สร้างทฤษฎีสัดส่วนทองคำ (golden section) ในการจัดวางความสวยงามหรือองค์ประกอบศิลปที่ลงตัว ใช้ในงานศิลปทุกแบบ ทั้งจิตรกรรมประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม
กฎสัดส่วนทองคำ(Gold Ration)
สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) มาจากการคำนวนทางคณิตศาสตร์เพื่อทำให้งานออกแบบมีสัดส่วนที่งามตามสูตรคำนวณ ที่ใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์มาอธิบายความงามงดงามของธรรมชาติ อัตราส่วนของสัดส่วนทองคำ คือสัดส่วน 1 : 1.618 มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้งานออกแบบดูสมบูรณ์แบบมากที่สุด
ภาพลักษณ์ของมนุษย์ในอุดคติได้รับการพัฒนาในศิลปะกรีก ซึ่งให้คุณค่ากับร่างกายของชายที่เพรียวบาง กระชับ ไร้อายุ มีซิกแพ็กที่งดงาม และมีใบหน้าที่อ่อนเยาว์
แม้ว่าสัดส่วนที่ต้องการจะแปรผันไปตามกาลเวลา แต่ภาพเปลือยของผู้ชายที่สมบูรณ์ มักจะยืนในท่าที่สมดุล
ชี้ให้เห็นว่าศิลปะอาจเลียนแบบชีวิตได้อย่างใกล้ชิด มีการแสดงบทบาทต่างๆของผู้ชาย ตั้งแต่ความกล้าหาญ และความพ่ายแพ้ อย่างเช่น นักรบและวีรบุรุษ ที่มักถูกแสดง ในแบบรูปเปลือย(ไม่เสมอไป)นั้น ให้เห็นถึงความกล้าหาญทางกายภาพที่เอาชนะศัตรู
ซึ่งเชื่อว่า ภาพเปลือยเปล่านี้ มีพลัง มีอุดมคติ และความสวยงามที่เป็นธรรมชาติ
แสดงให้เห็นว่ารูปปั้นเปลือยเปล่านี้ ถือเป็นศิลปะที่มีความโดดเด่น อันน่าทึ่ง ทั้งนี้รูปภาพเปลือยที่สร้างก็เพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อเทพเจ้า และยังแสดงให้เห็นว่า มีความรุ่งโรจน์ทางด้านศิลปะมากในยุคนั้น จนในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นถึงศิลปะที่งดงามนี้ จนกลายเป็นที่ศึกษาทางด้านศิลปะ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน
Reference :
●
http://artbyphu.blogspot.com/2017/05/blog-post.html?m=1
●
https://empirics.asia/why-are-so-many-greek-statues-naked/
●
https://th.wordssidekick.com/29761-why-ancient-greeks-are-always-nude
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย