Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หลากความคิด
•
ติดตาม
20 พ.ย. 2021 เวลา 03:35 • ปรัชญา
กฐิน
ประเพณีการถวายกฐินแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเรานั้น มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
เมื่อก่อนครั้งพุทธกาลจริงๆ เป็นเพียงเรื่องของพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาร่วมกัน พากันแสวงหาผ้ามาเย็บทำจีวร แล้วทำพิธีมอบผ้านั้นแก่พระภิกษุรูปหนึ่ง โดยภิกษุที่จะได้รับมอบผ้านั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
จีวรเก่ามากแล้ว
เป็นผู้อาวุโส อายุมากหรือบวชนาน
เป็นผู้มีสติปัญญารู้ธรรมวินัย
ต่อมากฐินก็วิวัฒนาการกลายเป็นเรื่องชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาอาสาทอและเย็บจีวรแล้วนำไปถวายแก่พระสงฆ์
เนื่องจากผ้าที่ทอเป็นจีวรมีน้อยเพียงชุดเดียว พระสงฆ์จึงต้องพิจารณาเลือกพระผู้สมควรรับผ้ากฐินนั้น เมื่อกล่าวคำถวายฐินแล้ว จะเห็นพระทำพิธี "อุปโลกน์" และทำสังฆกรรมสวดญัตติเป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า กล่าวยกผ้าผืนนั้นแก่ภิกษุที่มีชื่อนั้น ต่อมาภิกษุนั้นครองหรือใช้ผ้านั้น เรียกว่า "กรานกฐิน"
ปัจจุบันนี้ กฐินมีการหาบริวาร คือสิ่งอื่นที่นอกจากผ้า ปัจจัย(เงิน) สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ แก่วัด เป็นการอุปถัมภ์บำรุงวัดวาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีของชุมชนเกิดความสุขสงบร่มเย็นแก่ประเทศชาติบ้านเมือง
ปีนี้ สถานการณ์โควิด 19 ยังแพร่ระบาดอยู่ แต่คลี่คลายลงบ้างแล้ว ทางวัดสะพานคำ จึงมีประเพณีการจัดกฐินแบบเรียบง่ายมุ่งเพียงส่งเสริมความสามัคคีในชุมชนเท่านั้น
วัดสะพานคำ ในเมืองสกลนคร ได้จัดงานประเพณีทอดกฐินประจำปี 2564 ในวันสิ้นสุดเขตกฐิน คือตรงกับวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
การถวายกฐิน ชาวพุทธไทยเราถือว่าเป็นการบำเพ็ญบุญที่ได้บุญมาก เพราะปีหนึ่งมีประเพณีทำบุญกฐินได้เพียงปีละครั้ง แตกต่างการทำบุญอื่นๆที่ทำได้ตลอดเวลา
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย