20 พ.ย. 2021 เวลา 12:40 • ไลฟ์สไตล์
Ep.1 ปิดหนี้บ้านก่อนเกษียณ...ยังไงดี?
สิ่งที่ควรทำนอกจากการวางแผนการเกษียณ ก็คือวางแผนการจัดการหนี้สิน
หากการวางแผนเรื่องเงินหลังเกษียณเป็นสิ่งจำเป็น การจัดการหนี้สินก่อนเกษียณก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน หากคุณอยากจะมีชีวิตแบบเกษียณสำราญ ไม่ต้องดิ้นรนแบกหนี้ที่ยังไม่รู้ว่าจะหาเงินมาจ่ายหลังจากที่ตนเองไม่มีรายได้แล้วนั้นอย่างไร สิ่งที่ควรทำในวันนี้นอกจากการวางแผนการเกษียณ ก็คือวางแผนการจัดการหนี้สิน
ในมุมมองของผู้เขียน การกู้บ้านก็ถือเป็นหนี้สิน หากไม่ได้มีการปล่อยขายทำกำไร หรือผู้ซื้อไม่ได้กู้ซื้อเพื่อเพิ่มรายได้โดยการปล่อยเช่า และในบทความนี้เราจะให้แนวทางในการจัดการหนี้สินจากการเช่าซื้อระยะยาวอย่างบ้านที่เราอยู่อาศัยในปัจจุบันให้หมดก่อนเกษียณกัน
เรามาดูการคำนวนเพื่อวางแผนด้วยตนเอง ซึ่งตัวอย่างจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนโดยใช้วิธีแบบ DCA( dollar cost average : การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยเท่าๆกันในทุกๆงวด) โดยเครื่องมือที่จะมาช่วยเราหาผลตอบแทนทบต้นและคำนวนยอดหนี้คงเหลือของสินเชื่อบ้านจาก Application ใน Smartphone ที่ชื่อว่า Ez Calculators
Ez Calculators สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ios และ android
ในส่วนแรกเราจะมาดูภาระหนี้บ้านที่มีและจะขอยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพ ปัจจุบันนาย ก. อายุ 30 ปี ได้กู้ซื้อบ้านใหม่ มูลค่า 2.99 ลบ. โปรโมชั่นธนาคารสีส้ม ผ่อนสูงสุด 40ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี และบริษัทที่นายก.ได้ทำงานเป็นพนักงานอยู่มีอายุเกษียณพนักงานอยู่ที่ 55 ปี ดังนั้น นาย ก. จะเหลือระยะเวลาในการจัดการหนี้สิน 25 ปีนั่นเอง แต่จะทำอย่างไรดีล่ะหากสินเชื่อบ้านที่กู้ไว้ 40 ปีซึ่งมีกำหนดผ่อนหมดเกินอายุ 55 ปี ถ้าผ่อนตามระบบธนาคารปกติไม่ได้มีการชำระเพิ่มเติมเข้ามาใดๆนาย ก. จะหมดหนี้ตอนอายุ 70 ปี
เพราะฉะนั้นโจทย์ก็คือ ทำอย่างไรให้หมดหนี้ภายใน 25 ปีก่อนอายุเกษียณสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่าง นาย ก.?
เริ่มแรกให้เราเข้าแอปฯ Ez Calculators และกดเลือก icon ดังภาพด้านล่าง
ซึ่งหากเราไม่ได้มีการชำระค่างวดสินเชื่อบ้านเพิ่มเติมในแต่ละงวดหรือไม่ได้มีการโปะเงินก้อนใดๆเข้ามา รายละเอียดยอดหนี้สินของเราก็จะเป็นดังภาพด้านล่าง
คำนวนในแอป Ez Calculators ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่าง ไม่ได้อ้างอิงภาระหนี้จริงอาจมีคลาดเคลื่อนบ้างแต่โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย
1. ช่อง Loan Amount ให้เราใส่ยอดหนี้ของนาย ก. คือ 2,990,000.- บาท
2. ช่อง Interest Rate คืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปีของสินเชื่อบ้าน ของนาย ก. คือ 3% โดยประมาณ( กรณีที่มีการ Refinance ทุก 3 ปี)
3. ช่อง Loan Term คือระยะเวลาผ่อนชำระของนาย ก. คือ 40 ปี
จากนั้นให้เรา คลิกปุ่ม Amortization ตามภาพด้านบน
และจากภาพด้านล่างนี้ ในปีที่ 25 ประมาณ 300 เดือนจากการแสดงในหน้าแอปฯ ยอดหนี้ของนาย ก. จะคงเหลือตามภาพประมาณ 1.54 ล้านบาท
เท่ากับว่าผ่านไป 25 ปี นาย ก. อายุ 55 ปี แต่ยังคงมีหนี้บ้านค้างอยู่ประมาณ 1.54 ล้านบาท
คำนวนในแอป Ez Calculators ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่าง ไม่ได้อ้างอิงภาระหนี้จริงอาจมีคลาดเคลื่อนบ้างแต่โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย
ขั้นตอนต่อมาเราจะมาดูวิธีการหาผลตอบแทนจากการลงทุนผ่านกองทุนรวม 25 ปีโดยคิดด้วยอัตราผลตอบแทน 5% และ 10% เพื่อให้เห็นความแตกต่าง โดยเครื่องมือที่จะมาช่วยเราหาผลตอบแทนทบต้น ก็คือ แอปเดิม Ez Calculators
โดยให้เข้าไปที่แอปฯ จากนั้นกด icon ดังภาพด้านล่าง
จากนั้นให้คลิกปุ่ม Advanced มุมขวาบน ตามภาพด้านล่าง
เราจะใส่ข้อมูลแค่ในกรอบสีแดงตามภาพด้านล่าง
เราจะใส่ข้อมูลตามภาพด้านล่าง
ช่องแรก Principal Amount ให้เราใส่ยอดเริ่มต้นที่จะลงทุนในกองทุนรวมตามตัวอย่างผู้เขียนจะใส่ยอดเดือนละ 2000 บาท
ช่อง Deposit คือยอดที่เราจะลงทุนทุกเดือนๆละเท่าๆกัน ตามตัวอย่างผู้เขียนก็จะใส่ยอด 2000 เหมือนเดิม
ช่องถัดมาจะเป็นช่อง Holding Period คือระยะเวลาถือครองกองทุน และ ช่อง Deposit Period คือระยะเวลาที่เราจะลงทุน ตามตัวอย่างจะใส่ 300 เดือน ทั้ง 2 ช่องเลย ก็คือ 25 ปี ตามระยะเวลาที่นาย ก. จะเกษียณจากการเป็นพนักงาน
ต่อมาในช่อง Interest Rate ตามตัวอย่างเราจะใส่ ให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างผลตอบแทน 5% และ 10%
ช่องสุดท้ายที่จะใส่คือช่อง Annual Inflation คืออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเราจะใส่ 3%
จากนั้นกด Calculate เราก็จะได้ผลตอบแทนในช่อง Maturity Value ดังภาพด้านล่าง
ผลตอบแทน 5%
ผลตอบแทน 10%
จากภาพด้านบนเราจะเห็นได้ว่า หากเรามีการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนๆละ 2000 บาท อัตราผลตอบแทน 5% นาย ก. จะมีเงินในปีที่ 25 โดยประมาณ 1.18 ลบ.โดยประมาณ ซึ่งยังคงไม่เพียงพอกับภาระหนี้ที่เหลือของนาย ก.ตอนอายุ 55 ปี คือยอด 1.54 ลบ.
แต่หากเราเลือกกองทุนที่เป็นกองทุนที่มีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้น โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยโดยประมาณ 10% ต่อปี เมื่อครบ 25 ปี ยอดจะขยับเป็น 2.5 ลบ. ซึ่งเพียงพอในการปิดหนี้บ้าน และนาย ก. ยังมีเงินก้อนเหลืออีกราวๆ 1 ลบ.
แต่ถ้านาย ก. อยากจะลองนำเงิน 2000 บาทต่อเดือนจ่ายค่าบ้านเพิ่มในแต่ละเดือนละ ภาระหนี้บ้านของนาย ก. ตอนอายุ 55 ปี จะเป็นอย่างไร... มาลองคำนวนเล่นกัน ซึงเราจะใช้แอปฯเดิม แต่ตรงช่อง Extra Payment Per Month เราจะใส่ยอดเพิ่มให้นาย ก. 2000 บาท จากนั้นกดปุ่ม Amortization
เราจะเห็นได้ว่า ปีที่ 25 หรือเดือนที่ 300 ตามภาพด้านล่างหากนาย ก.จ่ายค่าผ่อนบ้านเพิ่มต่อเดือนๆละ 2000 บาท เมื่ออายุ 55 ปี นาย ก. จะยังมีหนี้บ้านคงค้างอยู่ ประมาณ 650,000.-
เพราะฉะนั้นเพื่อนๆลองนำการวางแผนนี้ไป apply ใช้ดูนะไม่มีผิดถูกแล้วแต่ความสบายใจ แต่ถ้าหากบทความนี้มีประโยชน์โปรดกดติดตามให้กำลังใจผู้เขียนเพื่อจะได้เขียนบทความที่มีสาระใน ep. ต่อไปติดตามกันด้วยนะ
โฆษณา