20 พ.ย. 2021 เวลา 18:46 • ข่าว
"วัดร้าง" ทั่วไทยเพิ่ม​ 1,485 แห่ง​ วิกฤตวงการสงฆ์​เสื่อมศรัทธา?
1
เมื่อวันที่​ 18​ พ.ย.ที่ผ่านมา​ เว็บไซต์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ​ (พศ.)​ เปิดเผยข้อมูลทะเบียนศาสนสมบัติกลางและวัดร้างทั่วประเทศ ปี​ 2564​ รวมทั้งสิ้น​ 1,485 แห่ง
น่าคิดมากว่าสาเหตุที่วัดร้างมาจากพระน้อยลง​ หรือขาดแคลนคนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์​ ทั้งๆที่ไทยคือเมืองพุทธ​ ประเทศที่ให้ความสำคัญกำหนดศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ
ย้อนกลับไปดูสถิติวัดร้างปี​ 2552 มีข่าวว่า​ที่ จ.เชียงใหม่​ ชาวบ้านไปทำบุญวันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา​ แล้วปรากฏว่าไม่พบพระหรือเณรจำพรรษา
มีการสำรวจพบอีกว่าในปีนั้น 32 วัดไม่มีพระ-เณร
336 วัดมีพระเพียง 1 รูป
226 วัด มีพระ-เณรแค่ 2 รูป
โดยเฉพาะระหว่างวันที่ 7-8 ก.ค.2552 ที่ชาวบ้านพากันไปทำบุญช่วงเข้าวันพรรษา​ ทราบภายหลังว่าไม่มีพระอยู่มานานหลายเดือนแล้ว
ปี​ 2553 พศ.​ เผยว่ามีวัดร้างทั่วประเทศประมาณ​ 5,800 แห่ง
เดือน​ ก.ย.​2558​ ถัดมาอีก​ 5​ ปี​ สถิติวัดร้างปีนั้นทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 193 แห่ง
ปี​ 2562​ จำนวนวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ที่​41,310 แห่ง โดย​ จ.เชียงใหม่มี 1,258 วัด เป็นสำนักสงฆ์กว่า 470 แห่ง
เฉพาะในเขตตัวเมือง​ จ.เชียงใหม่มีวัดร้างมากถึง​ 495 แห่ง
จากปี​ 2558​ มีวัดร้าง193แห่ง​ ล่าสุดปีนี้​ มีวัดร้างทั่วประเทศ​ 1,485 แห่ง​ แค่เพียง​ 6ปีผ่านไปเท่านั้นจำนวนพุ่งขึ้นมาก​ และหากเอาจำนวนวัดร้างเมื่อปี​ 2553​ มานับรวม​ ก็น่าจะมีวัดร้างมากกว่า​ 7,000 แห่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม​ ปีที่ผ่านมา​ 2563 มีกรณีวัดร้างที่ถูกยกขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา​ โดยเข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 20 พ.ค.
ขั้นตอนในการยกวัดร้างกรณีนี้ขึ้นเป็นวัดมีพระจำพรรษา​ เริ่มต้นที่เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ได้มีลิขิต ลงวันที่ 20​ พ.ย.2561 แจ้งว่า ได้ส่งรายงานการขอยก วัดสินศรี (ร้าง) ตั้งอยู่ที่ บ้านนาส้มมอ หมู่ที่ 3 ต.ท่าหลวง อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา
โดยพระอุดมปรีชาญาณ เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ผู้แทนเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ นายรังสิยศ งามฤทธิ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ และนายบรรหาร เมตไตรพันธุ์ นายช่างโยธาชำนาญงาน ได้ไปตรวจสอบแล้ว มีความเห็นสรุป ดังนี้
 
วัดสินศรี (ร้าง) ที่ดินของวัดมีจำนวน 11 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 51970
 
อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ กุฏิสงฆ์ 4 หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาอเนกประสงค์ โรงครัว โรงเก็บของ หอกลอง ฌาปนสถาน และห้องน้ำ 2 หลัง 7​ ห้อง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา 5 รูป
 
มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ 1,400 คน
การขอยก วัดสินศรี (ร้าง) ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทาน-วิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. 2559 ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 โดยผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองและเจ้าคณะพระสังฆาธิการเจ้าสังกัดตามลำดับจนถึงเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และสมเด็จพระพุฒาจารย์ ผู้พิจารณากลั่นกรองการขอยกวัดร้างฯ ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว พร้อมกับมีบัญชาให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา
จะเห็นได้ว่า​ มีขั้นตอนที่ต้องเสนอประมาณ​ 2​ ปี​ ผ่านหลายตำแหน่งทั้งเจ้าคณะและเจ้าประคุณสมเด็จมากมาย​ อีกทั้งต้องออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
ร้างแล้วยกขึ้นมาเหมือนเดิมยากมาก​ ส่วนเวลาจะร้างนั้นบางกรณีเจ้าอาวาสสึกไปมีเมีย​ เมื่อวัดไร้สมภาร​บรรดาพระลูกวัดก็ต้องย้ายออกไปโดยปริยายเพื่อให้มีสังกัด
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม​ ฉบับเมษายน 2558​ ระบุความหมายของ​"วัดร้าง” คือพุทธสถานที่หมดหน้าที่ใช้งานอย่างเป็นทางการไปแล้ว มีตั้งแต่การขาดพระสงฆ์จำพรรษาประจำวัด การถูกยุบรวมกับวัดอื่น ๆ ไปจนถึงถูกทำลายโดยภัยหายนะ สงคราม จนกระทั่งกลายเป็นเศษซากโบราณสถาน บางแห่งเหลือไว้เพียงชื่อและตำแหน่งที่จดจำต่อ ๆ กันมา
การจะสร้างวัดสักแห่งจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ​ ยิ่งต้องมีโยมอุปัฏฐากคอยเป็นกิจธุระด้วยแล้ว​ ทำให้วัด​ที่ไม่ใหญ่ไม่ดังอยู่ลำบาก
 
ชาวบ้านเดี๋ยวนี้แห่ไปทำบุญกับวัดที่ให้โชคลาภ​ จะสร้างอะไรสักอย่างเงินทองระหว่างวัดพระอารามหลวงกับวัดบ้านนอกก็ต่างกัน​… นี่หรือเมืองพุทธ
พระบางรูปอยู่วัดว่างๆไม่ได้ศึกษาพระธรรม​ ไม่นั่งสมาธิ​ ไม่บิณฑบาตร​ ไม่สนใจออกธุดงค์​
ที่เป็นข่าวตั้งวงมั่วสุมก็มีให้เห็นบ่อยๆ​
พระสงฆ์เองก็ต้องตามโลกให้ทัน​ แต่พอจะใช้วิธีบรรยายธรรมให้คนรุ่นใหม่ฟังก็โดนตำหนิ
คือสาเหตุเล็กๆน้อยๆที่สั่งสมกันมามากมาย​ ทำให้สถิติวัดร้างเพิ่มขึ้นหลายเหตุผล​
วงการศาสนาก็ต้องสังคายนากันทั้งระบบเช่นกันถ้ายังต้องอยู่ให้รอดบนโลกใบนี้​ เหมือนคนทั้งโลกที่ต้องอยู่กับโควิดให้รอด
ทุกอย่างล้วนต้องเปลี่ยนแปลง
++
เครดิตภาพ​ : Tanyakan​Yanaso
"วัดร้าง" ทั่วไทยเพิ่ม​ 1,485 แห่ง​ วิกฤตวงการสงฆ์​เสื่อมศรัทธา?
เมื่อวันที่​ 18​ พ.ย.ที่ผ่านมา​ เว็บไซต์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ​ (พศ.)​ เปิดเผยข้อมูลทะเบียนศาสนสมบัติกลางและวัดร้างทั่วประเทศ ปี​ 2564​ รวมทั้งสิ้น​ 1,485 แห่ง
น่าคิดมากว่าสาเหตุที่วัดร้างมาจากพระน้อยลง​ หรือขาดแคลนคนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์​ ทั้งๆที่ไทยคือเมืองพุทธ​ ประเทศที่ให้ความสำคัญกำหนดศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ
ย้อนกลับไปดูสถิติวัดร้างปี​ 2552 มีข่าวว่า​ที่ จ.เชียงใหม่​ ชาวบ้านไปทำบุญวันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา​ แล้วปรากฏว่าไม่พบพระหรือเณรจำพรรษา
มีการสำรวจพบอีกว่าในปีนั้น 32 วัดไม่มีพระ-เณร
336 วัดมีพระเพียง 1 รูป
226 วัด มีพระ-เณรแค่ 2 รูป
โดยเฉพาะระหว่างวันที่ 7-8 ก.ค.2552 ที่ชาวบ้านพากันไปทำบุญช่วงเข้าวันพรรษา​ ทราบภายหลังว่าไม่มีพระอยู่มานานหลายเดือนแล้ว
ปี​ 2553 พศ.​ เผยว่ามีวัดร้างทั่วประเทศประมาณ​ 5,800 แห่ง
เดือน​ ก.ย.​2558​ ถัดมาอีก​ 5​ ปี​ สถิติวัดร้างปีนั้นทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 193  แห่ง
ปี​ 2562​ จำนวนวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ที่​41,310 แห่ง โดย​ จ.เชียงใหม่มี 1,258 วัด เป็นสำนักสงฆ์กว่า 470 แห่ง
เฉพาะในเขตตัวเมือง​ จ.เชียงใหม่มีวัดร้างมากถึง​ 495 แห่ง
จากปี​ 2558​ มีวัดร้าง193แห่ง​ ล่าสุดปีนี้​ มีวัดร้างทั่วประเทศ​ 1,485 แห่ง​ แค่เพียง​ 6ปีผ่านไปเท่านั้นจำนวนพุ่งขึ้นมาก​ และหากเอาจำนวนวัดร้างเมื่อปี​ 2553​ มานับรวม​ ก็น่าจะมีวัดร้างมากกว่า​ 7,000 แห่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม​ ปีที่ผ่านมา​ 2563 มีกรณีวัดร้างที่ถูกยกขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา​ โดยเข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 20 พ.ค.
ขั้นตอนในการยกวัดร้างกรณีนี้ขึ้นเป็นวัดมีพระจำพรรษา​ เริ่มต้นที่เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ได้มีลิขิต ลงวันที่ 20​ พ.ย.2561 แจ้งว่า ได้ส่งรายงานการขอยก วัดสินศรี (ร้าง) ตั้งอยู่ที่ บ้านนาส้มมอ หมู่ที่ 3 ต.ท่าหลวง อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี                 ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา
โดยพระอุดมปรีชาญาณ เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ผู้แทนเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ นายรังสิยศ งามฤทธิ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ และนายบรรหาร เมตไตรพันธุ์ นายช่างโยธาชำนาญงาน  ได้ไปตรวจสอบแล้ว มีความเห็นสรุป ดังนี้
วัดสินศรี (ร้าง) ที่ดินของวัดมีจำนวน 11 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 51970
อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ กุฏิสงฆ์ 4 หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาอเนกประสงค์ โรงครัว โรงเก็บของ หอกลอง ฌาปนสถาน และห้องน้ำ 2 หลัง 7​ ห้อง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา 5 รูป
มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ 1,400 คน
การขอยก วัดสินศรี (ร้าง) ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทาน-วิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. 2559 ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 โดยผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองและเจ้าคณะพระสังฆาธิการเจ้าสังกัดตามลำดับจนถึงเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และสมเด็จพระพุฒาจารย์ ผู้พิจารณากลั่นกรองการขอยกวัดร้างฯ ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว พร้อมกับมีบัญชาให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา
จะเห็นได้ว่า​ มีขั้นตอนที่ต้องเสนอประมาณ​ 2​ ปี​ ผ่านหลายตำแหน่งทั้งเจ้าคณะและเจ้าประคุณสมเด็จมากมาย​ อีกทั้งต้องออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
ร้างแล้วยกขึ้นมาเหมือนเดิมยากมาก​ ส่วนเวลาจะร้างนั้นบางกรณีเจ้าอาวาสสึกไปมีเมีย​ เมื่อวัดไร้สมภาร​บรรดาพระลูกวัดก็ต้องย้ายออกไปโดยปริยายเพื่อให้มีสังกัด
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม​ ฉบับเมษายน 2558​ ระบุความหมายของ​"วัดร้าง” คือพุทธสถานที่หมดหน้าที่ใช้งานอย่างเป็นทางการไปแล้ว มีตั้งแต่การขาดพระสงฆ์จำพรรษาประจำวัด การถูกยุบรวมกับวัดอื่น ๆ ไปจนถึงถูกทำลายโดยภัยหายนะ สงคราม จนกระทั่งกลายเป็นเศษซากโบราณสถาน บางแห่งเหลือไว้เพียงชื่อและตำแหน่งที่จดจำต่อ ๆ กันมา
การจะสร้างวัดสักแห่งจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ​ ยิ่งต้องมีโยมอุปัฏฐากคอยเป็นกิจธุระด้วยแล้ว​ ทำให้วัด​ที่ไม่ใหญ่ไม่ดังอยู่ลำบาก
ชาวบ้านเดี๋ยวนี้แห่ไปทำบุญกับวัดที่ให้โชคลาภ​ จะสร้างอะไรสักอย่างเงินทองระหว่างวัดพระอารามหลวงกับวัดบ้านนอกก็ต่างกัน​… นี่หรือเมืองพุทธ
พระบางรูปอยู่วัดว่างๆไม่ได้ศึกษาพระธรรม​ ไม่นั่งสมาธิ​ ไม่บิณฑบาตร​ ไม่สนใจออกธุดงค์​
ที่เป็นข่าวตั้งวงมั่วสุมก็มีให้เห็นบ่อยๆ​
พระสงฆ์เองก็ต้องตามโลกให้ทัน​ แต่พอจะใช้วิธีบรรยายธรรมให้คนรุ่นใหม่ฟังก็โดนตำหนิ
คือสาเหตุเล็กๆน้อยๆที่สั่งสมกันมามากมาย​ ทำให้สถิติวัดร้างเพิ่มขึ้นหลายเหตุผล​
วงการศาสนาก็ต้องสังคายนากันทั้งระบบเช่นกันถ้ายังต้องอยู่ให้รอดบนโลกใบนี้​ เหมือนคนทั้งโลกที่ต้องอยู่กับโควิดให้รอด
ทุกอย่างล้วนต้องเปลี่ยนแปลง
++
เครดิตภาพ​ : Tanyakan​Yanaso
โฆษณา