21 พ.ย. 2021 เวลา 01:39 • ความคิดเห็น
เมื่อสังคมตั้งคำถาม "ทุ่มเทเพื่อความรัก แต่ละเมิดชีวิตคนอื่นได้อย่างนั้นหรือ?"
1
คลิปสัมภาษณ์เก่าตัวนี้วนมาแชร์ได้อย่างไรไม่ทราบ แต่ทำให้เรามองเห็นอะไรหลายๆอย่างที่เป็นพลวัติทางสังคม เลยทำเป็นประเด็นมาชวนคุยกันบนเพจ
1) ในอดีตสัมภาษณ์ปี 2558 ก่อนคุณชมพู่มีน้อง ก็ไม่ได้มีใคร focus ข้อความที่นำเสนอในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ทุกอย่างเป็นปกติดี เพียงแค่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของผู้ชายคนหนึ่งที่มีความพร้อมมากๆ พยายามทำทุกทางเพื่อจีบดาราสาวอยู่เป็นปี แต่ไม่มี feedback
1
2) เวลาผ่านไป สังคมเริ่มมีการตระหนักรู้มากขึ้นถึง 'สิทธิมนุษยชน' ที่เป็น Global awareness สากล จึงตั้งคำถามว่า 'การบริจาคเลือด' มันไม่ใช่เรื่องที่ต้องทำโดยสมัครใจหรอกหรือ? สิ่งที่ทำถูกต้องหรือไม่?
1
3) จากประเด็นเล็กๆนี้ ในคลิปสัมภาษณ์ ทุกอย่างถูกเล่าอย่างสบายๆ เป็นความบันเทิง และมองเป็นเรื่องปกติที่คุณชมพู่ไม่ได้ตระหนักรับรู้ถึงปัญหาอันไม่สมควรเกิดขึ้นในสังคม ว่าการไล่เจาะเลือดคนทั้งโรงงานเพื่อบริจาคให้คุณพ่อของตน ไม่ใช่สิ่งปกติที่มนุษย์ทำกัน
1
4) ขณะที่เราเล่าอยู่นี้ เมื่อวานคุณอาของเพื่อนเราขอบริจาคเลือด ให้เราช่วย PR ใน twitter ให้คนช่วยไปบริจาคเลือดกรุ๊ป O ที่โรงพยาบาลราชวิถี แต่ทุกอย่างกริบมาก การได้มาซึ่งเลือดในการผ่าตัดโรคไทรอยด์ของญาติเพื่อนต้องรอเลือดที่ขาดแคลน เราเล่าทำไม?
5
เราแค่จะบอกว่า ในสังคมของกลุ่มคนที่ elite หรือมีโอกาสมากพอจะหาทรัพยากรมาได้ "การหาเลือดมาบริจาค" ใช้วิธีที่ทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ ราวกับดีดนิ้ว ในขณะที่คนธรรมดา ต้องขวนขวาย รอคอย และหาโอกาสที่แม้กระทั่งเงินก็ซื้อไม่ได้เลย "คุณค่าของชีวิตคนมีความพร้อมทางฐานะ กับคนไม่มี มันต่างกัน"
3
5) ความรักและความทุ่มเทของคุณน็อตที่มีต่อคุณชมพู่ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การได้มาซึ่ง "เลือดกรุ๊ปที่คุณพ่อของคุณชมพู่ต้องการ" มันได้มาอย่างไม่ถูกต้องนัก และไม่ใช่เรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคม คือการสั่งไล่เจาะเลือดคนทั้งโรงงาน
3
6) ถ้าเรามองระบบนายทุน และการจ้างแรงงาน วิธีคิดแบบนี้ คล้ายกับมองมนุษย์ หรือลูกจ้างเป็นเพียงสัตว์เลี้ยง หรือทาสในโรงงานที่คิดว่าจะทำอะไรอย่างไร ใช้นโยบายใดก็ได้เพื่อสนองตอบต่อเรื่องส่วนตัวของตนเอง ไม่ได้เห็นคุณค่าของชีวิตพนักงาน หรือมองในฐานะเพื่อนมนุษย์ว่า "ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์" มิใช่เครื่องบำเรอความต้องการของนายทุน ซึ่งละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ของลูกจ้าง โดยไม่มีข้ออ้างใดที่สามารถลบล้างได้ว่าเป็นเรื่องถูกต้อง
4
7) วันหนึ่งเรื่องราวหนึ่งคนเคย enjoy เฉยๆ แต่พอมีพลวัตทางสังคมที่มองโลกเปลี่ยนไป เรื่องเดิมกลับถูกขุดคุ้ยมาชวนถกเถียง วันหนึ่งสังคม คิดอย่างหนึ่ง ฟังเรื่องใดๆก็อวยยศ happy (สังเกตได้จาก comment ใน youtube ของคลิป ไม่มีใครมีต่อมเอ๊ะ! ว่ามันไม่ถูกต้อง) มีแต่เสียงชื่นชมความน่ารักของคุณชมพู่-คุณน็อต นั่นก็เพราะการตระหนักรู้ปัญหาสังคมของคนไทยในยุค 2558 กับ 2564 วันนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง
9
8 ) คลิปในอดีตที่เคยสัมภาษณ์ทิ้งไว้กลับมามีชีวิตโลดแล่นในโลกออนไลน์อีกครั้งได้เสมอ การมี digital footprint ที่ถูกเล่าบางอย่างไว้ มันเหมือนระเบิดเวลาของคนดังทุกคนที่วันหนึ่งมันอาจจะย้อนกลับมาถูกพูดถึงอีกครั้ง โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าวันนั้นจะมาถึงเมื่อไหร่ แล้วไม่มีใครรู้เช่นกันว่าเรื่องเล่าในมุมคิดของคนพุทธศักราชนี้ จะชื่นชม และอวยยศ หรือกลับมาในรูปแบบใด ส่วนใหญ่ "อดีตกลับมาฆ่าตัวตนของคนมีชื่อเสียงในปัจจุบัน" อยู่บ่อยครั้ง
2
9) ถ้า way of solution เปลี่ยนเป็นแปะประกาศขอบริจาคในโรงงานว่าขอความช่วยเหลือ หรือใช้แนวทางอื่นๆที่สะท้อนถึงการขอบริจาคด้วยความสมัครใจของพนักงาน มันจะเป็นหนังคนละม้วน เล่าคนละแบบ และไม่เป็นประเด็นอย่างที่อยู่ในบทสัมภาษณ์ชุดนี้ได้เลย เพราะมันคือการร้องขอความช่วยเหลือ มิใช่การบังคับ หรือใช้อำนาจของนายจ้างเหนือลูกจ้างอย่างมิเป็นธรรมนัก
4
10) นี่ไม่ใช่การสร้างประเด็นเพื่อให้คนรุมด่า แต่เราคาดหวังจิตสำนึกที่อาจจะออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในห้วงสัมภาษณ์กับรายการ ณ วันนั้น ที่อาจจะคิดถึงผู้อื่นน้อยไปหน่อย และมีถ้อยคำหรือเรื่องราวที่ไม่ได้นึกถึงเพื่อนมนุษย์ โดยมิได้ตั้งใจ ก็คาดหวังว่าทั้งคู่จะลุกขึ้นมาแสดงความรับผิดชอบต่อคำพูดของตนในปี 2558 ต่อไป (เราคิดว่าทางคุณน็อตไม่ได้บังคับขู่เข็ญ หรือข่มขู่พนักงานหรอก เพียงแต่แนวทางของคำตอบที่ให้สัมภาษณ์มาอาจคลุมเครือ ทำให้รู้สึกได้ถึงการใช้อำนาจของนายจ้าง ซึ่งเชื่อว่าทั้งคู่คงน่าจะชี้แจงกับสังคมต่อไป)
11) ส่วนตัวเองคิดว่าปัญหาที่แท้จริงมาจากการสรรคำของคุณชมพู่ (word choice) ในห้วงสัมภาษณ์ ที่ฟังดูแล้ว sensitive คือ "นี่เขาก็ให้เจาะเลือดทั้งโรงงาน" ซึ่งพอฟังดูแล้วสังคมออนไลน์ทาง twitter ก็มีการตีความสาระต่อไป จากข้อความสัมภาษณ์ที่หมิ่นเหม่ ทำให้อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อน นำไปสู่การตั้งคำถามเรื่องสิทธิมนุษยชนตามที่ได้พูดถึงข้างต้น
1
12) เรื่องนี้เล่าทำไม? การที่คนที่มีความมั่งคั่งทางฐานะ สามารถมองข้ามความไม่ถูกต้องของเรื่องสิทธิมนุษยชนได้อย่างเพิกเฉย (ignorance) มันเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในสายตาของคนระดับบน การมีชีวิตอยู่ของคนระดับล่าง หลายครั้งมีไว้เพื่อใช้งาน เป็นทาสแรงงาน เป็นเครื่องจักร อันเป็นฟันเฟืองที่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจ ตอบสนองสังคมทุนนิยม ที่ใส่ใจความเป็นมนุษย์ต่ำ เพราะมองคนไม่ใช่คน มองคนไม่เท่ากัน ไม่เห็นคุณค่าของชีวิตผู้อื่นในฐานะของความเป็นมนุษย์ ที่ไร้เกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นคน ซึ่งถึงเวลาแล้วที่สังคมจะเปลี่ยนแปลง และมองลูกจ้างในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ที่ควรใส่ใจต่อการปฏิบัติกับเพื่อนมนุษย์ มากกว่าเป็นแค่ "เครื่องจักรมนุษย์" ที่ทำเงินให้ผู้ประกอบการเท่านั้น (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคุณน็อตและคุณชมพู่ แต่อยากสะท้อนบริบทปัญหาของสังคมระบบนายทุน)
3
'จงมองคนให้เท่ากับคนเสมอ'
หวังว่าเรื่องเล็กๆนี้จะถูกส่งออกไป ให้เรามีสำนึกของความเป็นคนในการปฏิบัติต่อกัน ด้วยความเป็นคนที่เท่ากันเสมอ
#ThinkTalkLoud
1
โฆษณา