21 พ.ย. 2021 เวลา 04:33 • ไลฟ์สไตล์
บวชเพื่ออะไร ! ตามพระบัญญัต ของพระศาสดา...พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. (ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนบวช).
ถ้าใครใครถามเธอว่าบวชมาเพื่ออะไร...ให้เธอตอบไปว่าบวชมาเพื่อ(รอบรู้ซึ่งทุกข์). ก็อะไรคือทุกข์
...ทุกข์คือ ตา,หู จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ.
ถ้าใครใครถามว่าเธอคือใคร...จงตอบเขาไป ว่าเราคือ (สมณะ ศากยะ ปุตติยะ) คือ โอรสอันเกิดโดยธรรม,เกิดจากพระโอษฐ์(ปาก)ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
เมื้อ เธอบวชเข้ามาในธรรมวินัยนี้แล้ว เธอจะตั้งใจศึกษาหรือไม่ตั้งใจศึกษา...แต่ให้เธอจง ตั้ง จิตเพื่อที่จะศึกษา และศึกษาแต่ในคำของ ตถาคต (ตถาคตภาษิตตา) ศึกษาเล่าเรียนแต่ในคำของพระตถาคตเท่านั้น.
สุตตันตะเหล่าใด เป็นคำกล่าวของสาวก ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่จะเป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษรสละสลวยมีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องนอกแนวเมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจะไม่ฟังด้วยดีไม่เงี่ยหูฟังไม่ตั้งจิตเพื่อที่จะรู้ทั่วถึงและไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึกมีความหมายซึ้งเป็นชั้นโลกุตตระ ว่าด้วยเฉพาะเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จักเงียบหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อที่จะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พระพุทธเจ้าบัญญัตว่า..ถ้าภิกษุได้จีวรมาใหม่พึงถือเอาวัตถุทำให้เสียสี3อย่าง..อย่างใดอย่างหนึ่ง..คือของเขียวครามก็ได้,ตมก็ได้,ของดำคล้ำก็ได้,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี3อย่าง..อย่างใดอย่างหนึ่ง...ใช้จีวรใหม่..เป็น(ปาจิตตรี)....ภิกษุจะถูกปรับอาบัตปราจิตตรี.ถ้าไม่ทำลายสีจีวรที่พึ่งได้มาใหม่..จีวรที่ได้มาจะต้องเอาไปย้อมด้วยน้ำฝาด,น้ำที่ได้จาก,เปลือกไม้,แก่นไม้,ลูกไม้,ใบไม้,....พระองค์ไม่ได้บัญญัตสีที่ถูกต้อง..แต่บัญญัตกรรมวิธีทำ...บัญญัตสีต้องห้าม...เมื้อย้อมออกมาแล้ว..เป็นสีดำ,เขียว,แดง,เหลืองล้วน,แสดล้วน,ชมพูล้วน,พวกนี้ห้ามใช้.(นอกนั้นใช้ได้หมด).
ไม่ทรงอนุญาติให้เเสดงธรรมขณะยืนอยู่...แก่บุคคลผู้นั้งอยู่ไม่ได้ป่วยไข้และสวมรองเท้า,สวมหมวก,มีศราตราอาวุต (ไม่ให้พรตอนใส่บาตร) แต่ทรงอนุญาติให้อนุโมทนาได้ในที่ขบฉัน.
"กิจที่สมณะควรทำในรอบหนึ่งวัน"
๛.เมื่อฉันภัตตาหารหลังจากบิณฑบาตเสร็จแล้ว ให้เธอเดินจงกลมสลับนั่งสมาธิไปจนถึงกระทั่งสิ้นยามแรกของราตรี (18.00).
๛.ยามสองให้นอน (22.00).
๛.ยามสามให้ตื่น (02.00). ตื่นมาแล้วให้เธอเดินจงกลมสลับนั่งสมาธิ ไปจนถึงเวลาเช้าแล้วจึงออกไป ภิกขาจาร (บิณฑบาต).
ศีลภิกษุ3328ข้อ สิกขาบททั้งหมดนี้รวมไว้ทั้ง3ระบบคือ
1.ก่อน ปาฏิโมกข์ (จุลศีล)
2.ใน ปาฏิโมกข์ (มัจฉิมศีล)
3. หลัง ปาฏิโมกข์ (มหาศีล)
๛. ปาฏิโมกข์นี้ภิกษุต้องนำมาสวดทุกกึ่งเดือน เป็นการทบทวนสิกขาบทในปาติโมกข์. ซึ่งอยู่ต่ำกว่า3รูปไม่ต้องสวด ถ้าอยู่เกิน3รูปขึ้นไปจึกสวด และมีทั้งภิกษุ,ภิกษุณี ร่วมสวดทบทวนสิกขาบท(150ข้อ)ได้.
การบวชไม่จำกัดวันเวลา จะนอกพรรษาหรือในพรรษาก็สามารถบวชได้ ไม่มีฤกษยาม มงคลใดๆ นอกจาก กาย,วาจา,ใจ พร้อมที่จะออกบวช.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงไปสู่ป่า สู่โคนไม้ สู่เรือนว่าง แล้วคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้อยู่เฉพาะหน้า ลมหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าลมหายใจออกสั้นลมหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าลมหายใจเข้ายาวลมหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าลมหายใจออกยาว (อานาปานสติ)
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงหมั่นปรารภความเพียรเองเถิด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บวชออกจากเรือน...ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
นาคีตะ ! ยศอย่าต้องมาเกี่ยวข้องด้วยเราเลย....เราอย่าต้องไปเกี่ยวข้องด้วยยศเลย.
"ฆารวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี"
ภิกษุทั้งหลาย !. ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลกเป็นสารถีที่ฝึกคน ที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์เป็นผู้เบิกบาน แล้วจำแนกธรรม ออกสั่งสอนสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย !. ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดามาร พรมซึ่งหมู่สัตว์ กลับทั้ง สมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศ ให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหัสถ์ หรือบุตรคฤหัสถ์ หรือคนที่เกิดในตระกูลอื่น ใดในภายหลัง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมเกิดศรัทธาในตถาคต กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่าฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลีส่วนบรรพชาเป็นโอกาสว่าง มันไม่ เป็นไปได้โดยง่าย ที่เขาผู้อยู่ครองเรือน เช่นนี้ จะประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว ถ้ากะไร เราเพิ่งปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือนไปบวช เป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด.
"การบวชที่ไร้ประโยชน์"
ภิกษุทั้งหลาย !. อาชีพต่ำที่สุดในบรรดาอาชีพทั้งหลาย คืออาชีพขอทาน
ภิกษุทั้งหลาย !. คำสาบแช่งอย่างยิ่งในโลกนี้ คือคำสาบแช่งว่า แกถือกระเบื้องในมือขอทานเถอะ ดังนี้.
 
ภิกษุทั้งหลาย !. กุลบุตรที่เข้าถึงอาชีพนี้ เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งประโยชน์ เพราะอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์ ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัน ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช ไม่ใช่เป็นคนหนีหนี้ ไม่ใช่เป็นคนหนีภัย ไม่ใช่เป็นคนไร้อาชีพ จึงบวช,
.......... อีกอย่างหนึ่ง กลุบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูกหยั่งเอาแล้ว โดยชาติ,ชรา,มรณะ,โสกะปริเทวะ,ทุกขะโทรมนัสอุปายาสะทั้งหลาย เป็นผู้อันความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏแก่เรา ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย !. แต่ว่ากุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ กลับเป็นผู้มากไปด้วยอภิชชา มีราคะแก่กล้าในกามคุณทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริมีใจไปในทางปทุสร้าย มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม้มีสัมปชัญยะ มีจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว มีจิตหมุนไปผิดแล้ว มีอินทรีย์อันตนไม่สำรวมแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย !. เปรียบเหมือนดุ้นฟืนที่เผาจากเชิงตระกอนที่เผาศพ มีไฟติดอยู่ทั้งสอง ตรงกลางก็เปื้อนอุตจาระ ย่อมใช้ประโยชน์ในบ้านเรือนก็ไม่ได้ ย่อมใช่ประโยชน์เป็นไม้ในป่าก็ไม่ได้ ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย !. เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาเช่นนั้น เป็นผู้เสื่อมจากโภคะในคฤหัสด้วย ไม่ทำประโยชน์แห่งสมณะให้บริบูรณ์ด้วย.
_________________"ผู้ชี้ขุมทรัพย์"__________________
อานนท์.! เราไม่พยายามทำกับพวกเธอ อย่างทะนุถนอม เหมือนพวกช่างหม้อ ทำกับหม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
อานนท์.! เราจะ ขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด
อานนท์.! เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีกไม่มีหยุด ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้ คนเราควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ ควรคบบัณฑิต ที่เป็นเช่นนั้น เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อม มีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.
ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้ เรา ประพฤติมิใช่เพื่อ หลอกลวงคน ให้นับถือ มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร มิใช่เพื่ออนิสงค์ เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใด ให้ล้มลงไป และมิใช่เพื่อให้มหาชน เข้าใจว่าเราได้เป็น ผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ก็หาไม่ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! แท้ที่จริงพรหมจรรย์นี้เราประพฤติ เพื่อสำรวมเพื่อละเพื่อคลายกำหนัดเพื่อดับสนิทซึ่งทุกแล.
๛.ผู้จะออกบวชควรศึกษาให้เข้าใจก่อนบวช ตามที่พระศาสดาบัญญัติไว้นี้ ไม่ใช่บวชเพื่อพ่อเพื่อแม่ ไม่ใช่บวชเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แต่บวชเพื่อมุ่งออกจากสังสารวัฏ เพราะถูก ภัยคือความทุกข์คุกคามหยั่งลงเอาเข้าแล้ว และไม่ใช่บวชเพื่อกิจนิมนต์บวชเพื่อเรียน นักธรรม ตรีโทเอก หรือเปรียญ 1-9 เผื่อได้เป็นมหา,เป็นเจ้าประคุณ,เป็นสมเด็จ แต่อย่างใด. และเมื่อพ่อแม่ จัดงานให้ลูกชายบวช ตนเองก็คิดหวังว่าจะได้ขึ้นสวรรค์เกาะชายผ้าเหลืองในการบวชของลูกชายนั้น เป็นความคิดเห็นที่ผิด (มิจฉาทิฐิ). ^_^
โฆษณา