21 พ.ย. 2021 เวลา 06:00
เมื่อช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตไม่ได้เกิดแค่กับเด็กวัยรุ่นกลุ่มเดียว วันนี้เราจะแนะนำให้รู้จักวิกฤตวัยกลางคนกัน
2
วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) คือ ภาวะทางสุขภาพจิตของวัยกลางคนอายุตั้งแต่ 35-50 ปี สามารถเกิดได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยส่วนมากอาจเริ่มจากการคิดทบทวนชีวิตตัวเอง รู้สึกท้อแท้กับสิ่งที่เป็นอยู่ เริ่มคิดว่าชีวิตตัวเองไม่เห็นมีอะไรที่ควรจะต้องมี และต้องการหาความสุขจากสิ่งที่ตัวเองรู้สึกขาด บวกกับความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายในหลาย ๆ ด้าน จนอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ หรือนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าในภายหลัง
2
วิกฤตวัยกลางคนเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ?
- ความเสื่อมถอยของร่างกาย
- ความกดดันจากสภาพสังคม
- สับสนจนไม่รู้ว่าชีวิตที่แท้จริงคืออะไร
- ความรู้สึกผิดหวังเมื่อต้องเสียคนที่รัก
สัญญาณชี้ว่าคุณตกอยู่ในสภาวะวิกฤตวัยกลางคน
- ตื่นตูมและเป็นกังวลอย่างมากกับปัญหาสุขภาพของตัวเอง
- เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองแนว ๆ ว่า อายุป่านนี้แล้วเรามีอะไรเป็นของตัวเองบ้าง ทุกวันนี้ฉันกำลังทำอะไรอยู่ แล้วเป้าหมายในชีวิตฉันล่ะคืออะไร หรืออาจจะครุ่นคิดว่า ตัวเองอยู่ในจุดที่ประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง แบบวน ๆ ซ้ำ ๆ
- เปรียบเทียบความสำเร็จของตัวเองกับความสำเร็จของเพื่อน รุ่นน้อง หรือคนที่เด็กกว่าอยู่บ่อยครั้ง
- เหน็ดเหนื่อยกับชีวิตขั้นสูงสุด เกิดความทดท้อใจบ่อยครั้ง รู้สึกว่าต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างแรง
- อยากเติมความซาบซ่าให้ชีวิต คิดอยากกลับไปเป็นหนุ่มเป็นสาวอีกครั้ง บางทีอาจลองนัดเดทคนอายุน้อยกว่าหลาย ๆ ปี
- รู้สึกว่าทุกอย่างที่มีในตอนนี้ไร้ความหมาย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถ ครอบครัว งาน หรือเงิน
การป้องกันตัวเองจากภาวะวิกฤตวัยกลางคน
- พยายามแยกแยะอารมณ์ชั่ววูบกับความต้องการของตัวเองจริง ๆ
อย่าปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบของตัวเองเป็นใหญ่ ณ ช่วงเวลาหนึ่งคุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองอยากลาออกจากงาน อยากหลบหนีความน่าเบื่อในครอบครัวไปเจออะไรใหม่ ๆ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่อารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่สติไม่ได้อยู่กับเราหรือเปล่า
- คิดบวกเข้าไว้
จงขอบคุณตัวเองที่ทำให้ชีวิตเดินมาถึงจุดนี้ ขอบคุณครอบครัวที่อยู่เคียงข้างกัน และขอบคุณทุก ๆ อย่างรอบตัวแม้จะเป็นเรื่องที่เล็กน้อยมาก เพราะนั่นคือจุดเริ่มต้นของความคิดในแง่บวกที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับภาวะวิกฤตวัยกลางคน
- เมื่อมีปัญหา ปรึกษาคนใกล้ตัว
พยายามอย่าคิดอะไรด้วยตัวเองคนเดียว มีปัญหาหรือรู้สึกแย่เมื่อไรให้แชร์ความหนักอกหนักใจนั้นกับคนรอบข้างโดยด่วน เชื่อเถอะว่าการระบายออกไปมันช่วยให้รู้สึกโล่งขึ้นเยอะ
- ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์
รู้สึกเบื่อจะแย่แล้วกับชีวิตก็ลองกลับไปเยี่ยมโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่ตัวเองเคยเรียนดูบ้าง นัดเจอเพื่อนเก่า ๆ ที่ไม่ได้เจอหน้ากันนาน หรืออยากได้ความท้าทายก็ลองลงทุนทำธุรกิจที่ตัวเองคิดว่าถนัดและน่าจะเหมาะดูสิ
1
- อย่าเหวี่ยงวีนใส่คนรอบข้าง
เข้าใจว่าหลาย ๆ ปัจจัยอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด แต่พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะกับคนในบ้านและคนที่คุณรักจะดีกว่า เพราะหากทำอะไรตามอารมณ์ตัวเองโดยไม่ยั้งคิด อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีอารมณ์ก็แจ่มใสไปด้วยได้ง่าย ๆ ฉะนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองให้ยังฟิตปั๋งเหมือนวัยหนุ่มสาวด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ
1
- พักผ่อนให้เพียงพอ
นอนไม่พออาจเป็นสาเหตุให้รู้สึกหงุดหงิดได้ง่ายขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นหากไม่อยากรู้สึกแย่ก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อีกทั้งการนอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายยังช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัยได้อีกด้วยนะ
1
ขอบคุณข้อมูลจาก https://bit.ly/3r0wOwW
วิดีโอน่าสนใจ เพื่อป้องกันตัวเองจากภาวะวิกฤตวัยกลางคน
โฆษณา