21 พ.ย. 2021 เวลา 09:14 • ประวัติศาสตร์
“วันนักถ่ายภาพไทย”
ภาพถ่าย...เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเก็บความทรงจำ ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา
ในเมืองไทย การถ่ายภาพ📸📸ครั้งแรกมีขึ้นในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยช่างที่ถ่ายรูปคนแรกในสมัยนั้นคือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศสชื่อ บาทหลวงปาเลอกัว อยู่วัดคอนเซ็ปชัญ (สามเสน)
ส่วนคนไทยที่เป็นช่างถ่ายภาพคนแรก คือ นายโหมด อมาตยกุล หรือ พระยากระสาปน์กิจโกศล
แสตมป์เฉลิมพระชนมพรรษา ในหลวง รัชกาลที่ 9 5 ธันวาคม 2551
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีหลักฐานพระบรมรูปหลงเหลือไว้จำนวนมาก เนื่องจากในสมัยนี้ รัชกาลที่ 4 ทรงนำรูปถ่ายที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการทูต และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การถ่ายภาพในเมืองไทยได้พัฒนาเป็นอย่างมาก รัชกาลที่ 5 ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในวิทยาการสมัยใหม่ทุกด้าน รวมถึงวิชาการถ่ายรูปก็เช่นกัน
จากความสนพระราชหฤทัยในการถ่ายภาพเป็นอันมาก รัชกาลที่ 5 จึงทรงจัดให้มีการอวดรูปภาพหรือโชว์รูปและการประชันรูปขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2448
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติเห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย และกำหนดให้วันที่ 21 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันนักถ่ายภาพไทย
ความสำคัญอีกประการของวันที่ 21 พฤศจิกายน หากย้อนกลับไปเมื่อ ปี 2539 มีการประชุม World Television Forum ครั้งแรก เนื่องจากปัญหาของสื่อโทรทัศน์มีผลกระทบมากขึ้นทุกวัน เช่น การคุกคามถึงสันติภาพ ความปลอดภัยและยังเป็นสิ่งที่ล่อแหลมสำหรับผู้บริโภคสื่ออีกด้วย
UN จึงได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการให้วันที่ 21 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันโทรทัศน์โลก (World Television Day)” เพื่อเป็นการแสดงเชิงสัญลักษ์สำหรับการสื่อสารและเผยแพร่ไปทั่วโลก
แสตมป์ ทีวีดิจิตอล 2556
📺📺 ค.ศ. 1924 จอห์น ลอกกี้ เบรียด (John Logie Baird) ชาวสก๊อตแลนด์ ได้คิดค้นและประดิษฐ์กระบวนการทำให้เกิดภาพโทรทัศน์ภาพแรกขึ้นผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โทรทัศน์เครื่องกลไฟฟ้า (Electro- mechanical television) เป็นโทรทัศน์ขาวดำเครื่องแรกของโลก
1
ขอบคุณที่ติดตามครับ 🌦🌦🌦
โฆษณา