21 พ.ย. 2021 เวลา 06:10 • ความคิดเห็น
การเข้ามาของ AI
คือความล่มสลายของ Deep learning
นี่คือความน่ากังวลต่อมนุษยชาติในอนาคต
รูปจากภาพยนตร์ Terminator Genisys 🙏
คำโบราณที่ว่า “รู้อะไรให้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้ในโลกปัจจุบัน
ผู้เขี่ยวชาญค่อย ๆ เปลี่ยนความรับรู้ต่อผู้คนชี้ว่า หากจะอยากอยู่รอดให้ได้ ต้องมีความรู้แบบตัว T ก็คือ รู้ลึกและรู้กว้าง แต่ต่อมาก็ดูเหมือนจะไม่พอ และได้หันไปให้ค่านิยมกับความรู้ให้กว้างมาก ๆ เข้าไว้โดยมีคำจำกัดความว่า “Generalist”
☝️Generalist นั้นบางคนเรียกมันว่า เก่งแบบเป็ด คือทำได้ทุกอย่างแต่ไม่กระจ่างซักอย่างเดียว แต่คนที่ให้คำจำกัดความนี้ชี้แจงว่า Generalist คือกระจ่างทุกอย่างต่างหาก เก่งมันเสียให้ครบทุกด้าน ซึ่งในแง่ความเป็นจริง บุคคลในโลกเราที่ผ่านมา ผู้ที่ได้ชื่อว่าเก่งรอบด้านและรู้ลึกทุกด้านคือ ลีโอดาโน ดาวินชี่เท่านั้น
มนุษย์ธรรมดาทั่วไป ทำได้แต่รอบรู้แบบเผิน ๆ ในทุกด้านต่างหาก เพราะการจะรู้ลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาศัยระยะเวลาในการศึกษาเรียนรู้และประสบการณ์ที่ยาวนาน บางทีเกินครึ่งของชีวิต
🔹การเข้ามาของ AI ในปัจจุบัน จุดประสงค์ก็เพื่อเข้ามาแทนที่มนุษย์ในงานง่าย ๆ งาน Routine ต่าง ๆ ที่เสียเวลา เพื่อที่จะให้มนุษย์นำเวลาที่เหลือไปใช้ทำเรื่องอื่นที่ยุ่งยากกว่า ในศตวรรษปัจจุบันที่เราสะสมความรู้ไว้มากพอแล้ว การเข้ามาของ AI ดูเหมือนจะตอบโจทย์จริง ๆ
แต่ถ้ามองให้ไกลไปกว่านั้น มนุษย์รุ่นใหม่ที่จะผลัดเข้ามาในระบบ จะยืนเคว้งคว้างหาจุดยืนของตัวเองไม่พบว่า ควรจะกระโดดไปทางไหน เพราะองค์ความรู้ที่ควรจะได้สะสม AI ได้ทำหน้าที่แทนไปหมดแล้ว จะขึ้นไปเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดก็ทำได้ยากเพราะความสามารถไม่ถึง
☝️หากยังมองไม่เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างอาชีพที่ต้องอาศัย Deep learning และการสะสมความรู้จากศูนย์ขึ้นไปถึงสิบ อย่างอาชีพแพทย์
🔹มีการพูดคุยกันว่า หากนำ AI เข้ามาช่วยเหล่าแพทย์ด้วยการใช้ Big Data ที่มี วิเคราะห์เคสง่าย ๆ เจ็บป่วยทั่วไป ก็จะทำให้งานที่ล้นมือแพทย์อยู่ในปัจจุบันเบาสบายขึ้น และให้แพทย์ไปทำงานวิเคราะห์เพื่อรักษาเคสที่ซับซ้อนแทน
🔹ในบริบทปัจจุบันหน้านี่นี้ของ AI ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดี แต่ลองนึกกันต่อไปว่า แพทย์รุ่นใหม่ที่จบมา จะถูก Skip งานง่าย ๆ ไปหมด เพราะมี AI ที่มีข้อมูลมากกว่า วิเคราะห์ได้แม่นยำกว่า Error น้อยกว่า แย่งงานไปทำหมดแล้ว
🔹ซึ่งความสำคัญของการเป็นแพทย์ ก็คือการได้เจอเคสที่หลากหลายเริ่มจากง่าย ๆ สะสมพัฒนาจนมีประสบการณ์กับเคสที่ซับซ้อนมากขึ้น เราจึงได้ยินเสมอมาว่า ค่าตัวของอาจารย์แพทย์มีแต่จะสูงขึ้นตามอายุ เพราะยิ่งอายุงานมาก นั่นหมายถึงประสบการณ์ที่ได้เจอก็มากตาม ยิ่งประสบการณ์มากความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และรักษาก็จะมีมากตามขึ้นไปด้วย
🔹แพทย์จบใหม่จึงไม่สามารถจะจบออกมาแล้วกระโดดเป็นอาจารย์แพทย์ได้ ต้องอาศัยการเจอเคสเล็กเคสน้อยไต่ระดับไปเรื่อย ๆ ก่อน แต่หาก AI มาแย่งงานไปพื้นฐานเบื้องต้นไปหมดแล้วเสียอย่างนี้ นี่คือความน่ากังวลว่าต่อไปในอนาคตเราอาจจะไม่เหลืออาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรู้ลึกเฉพาะทางแล้วก็เป็นได้ เพราะแพทย์รุ่นใหม่ถูกตัดตอนกระบวนการ Deep learning ไปเสียตั้งแต่ต้น
1
☝️นั่นคือสิ่งที่ผู้เขียนตื่นเต้นและรอคอยที่จะได้เห็นโลกอนาคตในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า มนุษยชาติจะดำรงอยู่โดยปราศจาก Deep learning ได้อย่างไร และโลกเราจะสูญเสียองค์ความรู้ที่สืบทอดกันมาจากมนุษย์สู่มนุษย์อะไรไปบ้าง เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากจริง ๆ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา