21 พ.ย. 2021 เวลา 12:44 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 1
นิทานเซน หรือ Zen Tales เป็นเรื่องราวคำสอนของศาสนาพุทธนิกายเซน ชื่อตัวละครในเรื่องอาจแตกต่างกันบ้างตามคนที่แปลและเรียบเรียงมาครับ พอดีอ่านเจอเลยอยากแชร์ให้อ่าน ไม่มีอะไรมาก เพราะเป็นคืนวันอาทิตย์จะขึ้นวันจันทร์สัปดาห์ใหม่ จะได้เป็นข้อคิดทบทวนในสิ่งที่ผ่านมาและได้เริ่มต้นสิ่งดีๆต่อไป
เรื่อง “พระเซนกับคนแบกของ”
พระเซนรูปหนึ่งปฏิบัติภาวนาอยู่นานหลายปี มีจิตดีและเป็นคนสงบเงียบมาก แต่ก็ยังไม่เคยบรรลุถึงต้นธารความนิ่งหรือศานติที่สมบูรณ์
ท่านจึงขออนุญาตพระอาจารย์ว่า
“ผมขอออกไปปฏิบัติบนเทือกเขาได้ไหมครับ ผมถือบวชและฝึกฝนมานานหลายปี ไม่ต้องการอื่นใดนอกจากการเข้าใจธรรมชาติแท้ของตนเองและโลก”
พระอาจารย์อนุญาตให้ไปได้ และพระเซนรูปนั้นก็เดินทางออกจากวัด โดยมีบาตรและบริขารเพียงเล็กน้อยติดตัว
1
ครั้นออกจากหมู่บ้านก่อนขึ้นภูเขา ปรากฏว่ามีชายชราคนหนึ่งเดินสวนทางลงมา แบกห่อใหญ่ติดหลังมาด้วย ชายชราได้เอ่ยทักและสนทนากับพระเซน
1
พระเซนจึงเล่าเรื่องของตนว่า
“เราปฏิบัติมานานหลายปีแล้ว ตอนนี้สิ่งเดียวที่ต้องการคือการได้สัมผัสจุดศูนย์กลางนั้น คือการรู้สิ่งที่เป็นแก่นแท้แห่งชีวิต บอกเราเถิดผู้เฒ่า ท่านทราบอะไรเกี่ยวกับความรู้แจ้งนี้บ้างไหม”
1
ชายชราไม่กล่าว เพียงแต่ปลดของที่แบกมาปล่อยให้หล่นลงพื้น
พระเซนมองชายชราอย่างสับสนเล็กน้อย และกล่าวต่อไปว่า
“แล้วต่อไปล่ะ”
1
ชายชรายิ้ม แล้วก้มลงหยิบห่อของมาใส่หลังอีกครั้ง แล้วเดินต่อไป
1
พระเซนบรรลุธรรมและรำพึงว่า
“เราต้องรู้จักปล่อยวางสิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นภารกิจ ปล่อยวางความรู้สึกแห่งความเป็น “ตัวฉัน” และ “ของฉัน” เสียให้สิ้น”
2
“แต่การจะวางแอกหนักลงได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรับรู้ทุกอย่างที่แบกอยู่ กล่าวคือเราต้องเห็นความทุกข์โศกของตนเอง เห็นความยึดมั่นและความเจ็บปวด เห็นความที่เราทั้งหลายต่างก็อยู่ในวังวนนี้และยอมรับ”
1
“หากเราไม่เผชิญหน้าเห็นธรรมชาติของชีวิตอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เราก็ไม่อาจเปลื้องความทุกข์โศกไปได้ มีแต่จะผลักไสมัน แล้วก็หวนมายึดจับกลับไปกลับมาอยู่เท่านั้นเอง”..
เรื่องราวแปลจากหนังสือ Ordinary Magic (Editor: John Welwood)
สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
1. เราต้องตั้งสติและทบทวนถึงปัญหาหรือต้นเหตุของความทุกข์ของส่วนตัวเราก่อน เพราะความทุกข์แต่ละคนไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน เรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัว ตัวเราเองรู้ดีที่สุด
1
2. คำว่าปล่อยวางในที่นี่ ไม่ใช่ว่าให้เราละทิ้งหรือโยนทิ้งปัญหา แต่ให้เราได้รู้จักสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ เมื่อเรารับรู้แล้วการปล่อยวางต้นเหตุนั้นก็ช่วยให้เราสามารถคลายความทุกข์นั้นได้เพื่อที่จะหาทางแก้ก่อนที่จะก้าวเดินต่อไป ไม่เดินหน้าทั้งที่มีความทุกข์ เพราะมันจะเล่นงานเราหนักขึ้นเรื่อยๆ วนอยู่ไม่รู้จบ จนเราล้มเหลวไปต่อไม่ได้ เรียกว่า หยุดคิดก่อนเดินหน้า
1
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเทียบกับด้านธุรกิจ เมื่อบริษัทมีปัญหาขาดทุนสะสมต่อเนื่องทุกปี เจ้าของบริษัทที่หยุดคิดและเล็งเห็นถึงสาเหตุของปัญหาก่อนย่อมได้เปรียบและรีบแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างรวดเร็วก่อนที่จะล้มครืน
4
สาเหตุอาจอยู่ที่ต้นทุนแปรผันที่สูงขึ้น วิธีการก็ต้องหาทางลดโดยการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่แต่ยังให้สินค้าออกมาในเกณฑ์ที่ตลาดยอมรับหรือลูกค้าพอใจ หรืออาจต้องมีการทบทวนปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิตใหม่เพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย
1
สาเหตุอาจอยู่ที่ฝั่งรายได้ที่ลดลง ก็ต้องหาสาเหตุว่าเป็นที่อะไร คู่แข่งมีการปรับกลยุทธ์กินส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นหรือเปล่า เราก็ต้องทำการปรับตามด้วย หรือปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า Disruption เราจำเป็นไหมว่าต้องรีบเปลี่ยนโมเดลธุรกิจหรือปรับช่องทางจำหน่ายของเราใหม่
1
บริษัทที่แก้ได้เร็ว ย่อมเป็นผู้อยู่รอดหรือผู้นำในตลาด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา